ทำเนียบรัฐบาล--2 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2542-
2544 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอและให้ความเห็นชอบในการใช้เป็นข้อมูล
เบื้องต้นประกอบการพิจารณาวางแผนงบประมาณประจำปี 2542 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลาง (2542 - 2544) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น
ข้อมูลเบื้องต้นในการประชุมวางแผนงบประมาณ และเป็นข้อมูลอ้างอิงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจระยะปานกลางในการดำเนิน
งานของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ ข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวจะได้มีการทบทวนและปรับปรุงให้
สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นประจำทุกไตรมาส
2. เหตุผลและความจำเป็น
2.1 การวางแผนงบประมาณปี 2542 ตามปฏิทินงบประมาณประจำปี กระทรวงการคลัง สำนัก
งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย จะประชุม
ร่วมกันพิจารณากำหนดประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย วงเงินกู้ และแนวนโยบายในการจัดสรรงบประ-
มาณรายจ่ายประจำปี ในช่วงเดือนมกราคม 2541 ซึ่งในการประชุมดังกล่าวจะมีการพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2542
เพื่อวางกรอบงบประมาณให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ
2.2 การวางแผนและวิเคราะห์โครงการลงทุนของหน่วยราชการ หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ
มีความต้องการใช้ข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางเพื่อประกอบการวางแผนงานหรือปรับแผนงานให้เหมาะ
สมกับแนวโน้มเศรษฐกิจระยะปานกลางหลังภาวะวิกฤต รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน ซึ่งหากยังไม่มี
ข้อมูลอ้างอิงที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจแล้ว อาจจะมีผลต่อการจัดทำแผน
งาน และการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนในอนาคตที่ไม่สอดคล้องกัน
3. สาระสำคัญ
3.1 การประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2540 - 2541 ตามหนังสือแสดงเจตจำนงต่อ IMF ฉบับที่ 3
แสดงว่าเศรษฐกิจไทยอ่อนตัวกว่าที่ประเมินไว้เดิม เนื่องจากอุปสงค์และผลผลิตในประเทศลดลงมาก โดยเฉพาะการ
ลงทุนภาคเอกชนรวมทั้งแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ดีขึ้นช้ากว่าที่คาด ดังนั้นเศรษฐกิจไทยในปี 2541 มีแนวโน้มจะหดตัว
ร้อยละ 3.0 - 3.5
เปรียบเทียบเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคของหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 1, 2 และ 3
2540 2541
LOI-1 LOI-2 LOI-3 LOI-1 LOI-2 LOI-3
อัตราการเติบโต (%) 2.5 0.6 -0.4 3.5 0.1 -3 ถึง -3.5
เงินเฟ้อ (%) 7.0 6.0 5.6 8.0 10.0 11.6
การคลังรัฐบาลกลาง (%GDP) -1.1 -0.9 -1.0 1.0 1.0 -1.6
- รายรับ 17.3 17.6 18.1 17.8 16.6 16.1
- รายจ่าย 18.4 18.5 19.1 16.8 15.6 17.7
ฐานะการคลังรวม (%GDP) -1.6 -1.5 -1.5 1.0 1.0 -2.0
อัตราเพิ่มส่งออก (%USD) 2.8 3.2 3.5 8.6 7.9 6.2
อัตรเพิ่มนำเข้า (%USD) -6.1 -9.3 -13.1 1.6 0.2 -7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (Bil.USD) -9.0 -6.4 -3.3 -5.3 -2.5 4.4
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP -5.0 -3.9 -2.2 -3.0 -1.8 3.9
ทุนสำรองฯ (Bil.USD) 23.0 23.0 26.9 24.5 24.8 23 - 25
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/USD) 28.83 0.9 31.4 32.5 41.0 45.0
3.2 แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2542 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้จากปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
คือ
1) เศรษฐกิจที่หดตัวร้อยละ 3.0 - 3.5 ในปี 2541 คาดว่าจะเริ่มจากการหดตัวอย่างรุนแรง
ประมาณร้อยละ 6.0 - 6.5 ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี ก่อนที่ภาวะการณ์จะเริ่มคลี่คลายเป็นปกติมากขึ้นในไตรมาส
สุดท้ายของปี ซึ่งจะมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 2
2) หนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 3 มีการกำหนดการแก้ไขปัญหาด้านสถาบันการเงินหลายประ-
การให้ลุล่วงในปี 2541 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศ และช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้ดีขึ้น รวม
ทั้งส่งผลถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในปี 2542 มาตรการแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่สำคัญ เช่น
- การจำหน่ายหรือโอนสินทรัพย์ทุกประเภทของบริษัทเงินทุน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการให้แล้ว
เสร็จภายใน 31 ธันวาคม 2541
- การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินทุกแห่งในปี 2541 ให้สอดคล้องกับการจัดชั้นสินเชื่อ และ
การกันสำรองที่เข้มงวดขึ้น (โดยมีกำหนดลงนามในบันทึกความเข้าใจสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยและบริษัทเงินทุนภายใน
15 สิงหาคม2541 และ 15 กันยายน 2541 ตามลำดับ)
- การแก้ไขกฎหมายล้มละลายและกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันให้แล้วเสร็จภายใน
31มีนาคม 2541 และ 31 ตุลาคม 2541 ตามลำดับ
3.3 ประสบการณ์การฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ของประเทศเม็กซิโก ในประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ จนเกิด
การหดตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเมื่อแก้ไขปัญหาลุล่วงและภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยแล้วก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจ
กลับฟื้นตัวและสามารถขยายตัวได้ในอัตราสูงจากกำลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ เช่นประเทศเม็กซิโกซึ่งประสบวิกฤตการณ์
ทางการเงิน2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในช่วงปี 2526 - 2527 และครั้งที่ 2 ในช่วงปี 2538 - 2539 ซึ่งมีตัวเลขเปรียบ-
เทียบ ดังนี้
ช่วงที่ 1 ช่วงที่ 2
2524 2525 2526 2527 2537 2538 2539* 2540* 2541*
เม็กซิโก
ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (พันล้านดอลลาร์) - - - - - - - - -
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (%) 8.8 -0.7 -4.3 3.6 4.4 -6.2 5.1 6.7 5.4
อัตราเพิ่มการบริโภค (%) 7.4 -2.5 -5.4 3.3 4.6 -9.5 2.3 5.0 4.4
อัตราเพิ่มการลงทุน (%) 16.2 -16.8 -28.3 6.4 8.4 -2.9 17.7 19.2 15.4
อัตราเพิ่มการส่งออก (%, USD) 11.6 21.8 13.6 5.7 17.4 33 18.7 16.0 12.5
อัตราเพิ่มการนำเข้า (%, USD) 17.7 -37.9 -33.8 17.8 20.5 -12.8 27.8 23.0 16.2
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -6.1 -2.9 4.8 2.5 -7.1 -0.5 -0.6 -1.6 -2.7
อัตราเงินเฟ้อ (%) 27.9 58.7 102.3 65.3 7.0 35.0 34.4
อัตราแลกเปลี่ยน (เปโซ : ดอลลาร์) - 0.052 0.155 0.192 3.389 6.421 7.601 7.930 8.237
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (%) 30.8 45.7 59.5 49.7 14.6 48.2 32.9 21.0 16.8
ไทย
ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (พันล้านดอลลาร์) 34.9 36.6 40.1 41.8 144.5 168.2 181.4 150.0 112.8
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (%) 6.3 5.3 5.6 5.8 8.9 8.8 5.5 -0.4 -3.0 ถึง -3.5
อัตราเพิ่มการบริโภค (%) 4.1 2.1 7.2 5.0 8.0 7.1 6.7 0.1 -5.0
อัตราเพิ่มการลงทุน (%) 6.5 -0.5 14.6 5.9 11.6 11.2 6.0 -16.0 -21.0
อัตราเพิ่มการส่งออก (%, USD) 7.01 -0.7 -7.7 16.4 22.2 24.6 -1.3 3.5 6.2
อัตราเพิ่มการนำเข้า (%, USD) 2.8 -15.1 21.2 0.7 18.4 31.6 1.5 -13.1 -7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -7.4 -2.7 -7.2 -5.0 -5.6 -8.0 -7.9 -2.2 3.9
อัตราเงินเฟ้อ (%) 12.7 5.2 3.8 0.9 5.1 5.8 5.9 5.6 11.6
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท : ดอลลาร์) 21.80 22.98 22.98 23.61 25.12 24.91 25.35 31.4 45.0
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (%) 17.25 14.95 12.15 13.71 7.21 10.96 9.23 15.69 NA.
หมายเหตุ ข้อมูลของประเทศเม็กซิโกจาก OECD Economic Outlook,* ประมาณการ
3.4 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ได้แก่
1) ภาวะเศรษฐกิจของประเทศอื่นในภูมิภาค ยังมีความผันผวนและบางประเทศอาจใช้เวลานาน
กว่าจะฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศเม็กซิโกที่อาศัยความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่ง
มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างกันมากเป็นกำลังผลักดันในการฟื้นตัว
2) การส่งออก การประเมินความสามารถในการส่งออกตามหนังสือเจตจำนงฉบับที่ 1 ถึง 3
ได้มีการปรับลดอัตราขยายตัวในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐลงโดยตลอด โดยล่าสุดได้กำหนดเป้าหมายไว้ร้อยละ 6.2 ใน
ปี 2541 ในขณะที่ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และค่าเงินของประเทศคู่แข่งขันแม้กระทั่ง
ประเทศเวียดนามก็ลดลงเช่นกัน
3) การว่างงาน ตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำประมาณการกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการ
ว่างงานได้ประมาณว่าจะมีการว่างงาน 1.84 ล้านคนในปี 2541 หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 5.6 ของกำลัง
แรงงานนั้น เป็นตัวเลขการประเมินบนพื้นฐานของเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.0 ดังนั้น จึงคาดได้ว่าการว่างงานจะสูง
กว่านี้มาก แรงงานที่ว่างงานยังต้องใช้เวลาปรับตัวนานกว่าที่คาดไว้เดิมในการหางานทำ และสามารถเพิ่มกำลังการ
บริโภคขึ้นได้
3.5 เศรษฐกิจไทยในปี 2542 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่
สำคัญจากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1 และร้อยละ 6 ตามลำดับ
เงินเฟ้อคาดว่าจะอ่อนตัวลง โดยมีอัตราเพิ่มเพียงร้อยละ 6 และการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าตามการขยายตัว ของ
เศรษฐกิจจะส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงเป็นร้อยละ 2.8 ของผลผลิตรวม
3.6 แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะปานกลางถึงปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจน
ถึงร้อยละ 3.7 ในปี 2544 ซึ่งเป็นพื้นฐานของการขยายตัวในระยะปานกลางประมาณร้อยละ 4 - 5 ต่อปี
3.7 เงื่อนไขด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมเพื่อให้บรรลุแนวโน้มเศรษฐกิจระยะปานกลาง
ดังกล่าวคือ
1) เสริมสร้างประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นของระบบการเงิน โดยการพัฒนาสถาบันการเงินใน
ประเทศเข้าสู่มาตรฐานสากล ปรับปรุงกฏหมาย กฎระเบียบ และพัฒนาระบบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน รวมถึง
การพัฒนาตลาดทุนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
2) เข้มงวดวินัยทางการคลัง เพื่อช่วยลดช่องว่างการออม - การลงทุน โดยที่ภาครัฐมีนโยบาย
งบประมาณสมดุลทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจโดยรวม
3) เร่งรัดระดมเงินออม เร่งรัดมาตรการระดมเงินออมแบบผูกพันให้กว้างขวางจนสามารถสนับ
สนุนการออมภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 6.5 ของผลผลิตรวมในปี 2544
4) ควบคุมเงินเฟ้อ โดยไม่ให้สูงกว่าประเทศคู่ค้าจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของ
สินค้าส่งออก และส่งผลถึงการอ่อนตัวของเงินบาทในระยะยาว
5) เร่งรัดส่งเสริมการส่งออกทั้งด้านการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขยายตัวได้เฉลี่ยร้อยละ 5-6
ต่อปีในรูปดอลลาร์สหรัฐในระยะปานกลาง
6) ดำเนินการตามแนวนโยบายเศรษฐกิจระยะปานกลาง ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ
รัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 ให้เห็นผลในทางปฏิบัติ
3.8 แนวโน้มดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ กรณีฐานที่มีความระมัดระวังมิให้มองภาพในเชิงสูงจนเกินไป
ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อการวางแผนงบประมาณอย่างไรก็ตามหากมีการดำเนินการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
อย่างได้ผลทั้งด้านการปรับปรุงฝีมือแรงงาน การเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิตและคุณภาพสินค้า อันจะส่ง
ผลให้มีการส่งออกและประสิทธิภาพการลงทุนที่เพิ่มสูงกว่ากรณีฐานแล้ว ก็จะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะ
ปานกลางสูงกว่ากรณีฐานได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 มีนาคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2542-
2544 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอและให้ความเห็นชอบในการใช้เป็นข้อมูล
เบื้องต้นประกอบการพิจารณาวางแผนงบประมาณประจำปี 2542 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลาง (2542 - 2544) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น
ข้อมูลเบื้องต้นในการประชุมวางแผนงบประมาณ และเป็นข้อมูลอ้างอิงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจระยะปานกลางในการดำเนิน
งานของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ ข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวจะได้มีการทบทวนและปรับปรุงให้
สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นประจำทุกไตรมาส
2. เหตุผลและความจำเป็น
2.1 การวางแผนงบประมาณปี 2542 ตามปฏิทินงบประมาณประจำปี กระทรวงการคลัง สำนัก
งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย จะประชุม
ร่วมกันพิจารณากำหนดประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย วงเงินกู้ และแนวนโยบายในการจัดสรรงบประ-
มาณรายจ่ายประจำปี ในช่วงเดือนมกราคม 2541 ซึ่งในการประชุมดังกล่าวจะมีการพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2542
เพื่อวางกรอบงบประมาณให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ
2.2 การวางแผนและวิเคราะห์โครงการลงทุนของหน่วยราชการ หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ
มีความต้องการใช้ข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางเพื่อประกอบการวางแผนงานหรือปรับแผนงานให้เหมาะ
สมกับแนวโน้มเศรษฐกิจระยะปานกลางหลังภาวะวิกฤต รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน ซึ่งหากยังไม่มี
ข้อมูลอ้างอิงที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจแล้ว อาจจะมีผลต่อการจัดทำแผน
งาน และการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนในอนาคตที่ไม่สอดคล้องกัน
3. สาระสำคัญ
3.1 การประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2540 - 2541 ตามหนังสือแสดงเจตจำนงต่อ IMF ฉบับที่ 3
แสดงว่าเศรษฐกิจไทยอ่อนตัวกว่าที่ประเมินไว้เดิม เนื่องจากอุปสงค์และผลผลิตในประเทศลดลงมาก โดยเฉพาะการ
ลงทุนภาคเอกชนรวมทั้งแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ดีขึ้นช้ากว่าที่คาด ดังนั้นเศรษฐกิจไทยในปี 2541 มีแนวโน้มจะหดตัว
ร้อยละ 3.0 - 3.5
เปรียบเทียบเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคของหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 1, 2 และ 3
2540 2541
LOI-1 LOI-2 LOI-3 LOI-1 LOI-2 LOI-3
อัตราการเติบโต (%) 2.5 0.6 -0.4 3.5 0.1 -3 ถึง -3.5
เงินเฟ้อ (%) 7.0 6.0 5.6 8.0 10.0 11.6
การคลังรัฐบาลกลาง (%GDP) -1.1 -0.9 -1.0 1.0 1.0 -1.6
- รายรับ 17.3 17.6 18.1 17.8 16.6 16.1
- รายจ่าย 18.4 18.5 19.1 16.8 15.6 17.7
ฐานะการคลังรวม (%GDP) -1.6 -1.5 -1.5 1.0 1.0 -2.0
อัตราเพิ่มส่งออก (%USD) 2.8 3.2 3.5 8.6 7.9 6.2
อัตรเพิ่มนำเข้า (%USD) -6.1 -9.3 -13.1 1.6 0.2 -7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (Bil.USD) -9.0 -6.4 -3.3 -5.3 -2.5 4.4
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP -5.0 -3.9 -2.2 -3.0 -1.8 3.9
ทุนสำรองฯ (Bil.USD) 23.0 23.0 26.9 24.5 24.8 23 - 25
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/USD) 28.83 0.9 31.4 32.5 41.0 45.0
3.2 แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2542 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้จากปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
คือ
1) เศรษฐกิจที่หดตัวร้อยละ 3.0 - 3.5 ในปี 2541 คาดว่าจะเริ่มจากการหดตัวอย่างรุนแรง
ประมาณร้อยละ 6.0 - 6.5 ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี ก่อนที่ภาวะการณ์จะเริ่มคลี่คลายเป็นปกติมากขึ้นในไตรมาส
สุดท้ายของปี ซึ่งจะมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 2
2) หนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 3 มีการกำหนดการแก้ไขปัญหาด้านสถาบันการเงินหลายประ-
การให้ลุล่วงในปี 2541 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศ และช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้ดีขึ้น รวม
ทั้งส่งผลถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในปี 2542 มาตรการแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่สำคัญ เช่น
- การจำหน่ายหรือโอนสินทรัพย์ทุกประเภทของบริษัทเงินทุน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการให้แล้ว
เสร็จภายใน 31 ธันวาคม 2541
- การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินทุกแห่งในปี 2541 ให้สอดคล้องกับการจัดชั้นสินเชื่อ และ
การกันสำรองที่เข้มงวดขึ้น (โดยมีกำหนดลงนามในบันทึกความเข้าใจสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยและบริษัทเงินทุนภายใน
15 สิงหาคม2541 และ 15 กันยายน 2541 ตามลำดับ)
- การแก้ไขกฎหมายล้มละลายและกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันให้แล้วเสร็จภายใน
31มีนาคม 2541 และ 31 ตุลาคม 2541 ตามลำดับ
3.3 ประสบการณ์การฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ของประเทศเม็กซิโก ในประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ จนเกิด
การหดตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเมื่อแก้ไขปัญหาลุล่วงและภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยแล้วก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจ
กลับฟื้นตัวและสามารถขยายตัวได้ในอัตราสูงจากกำลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ เช่นประเทศเม็กซิโกซึ่งประสบวิกฤตการณ์
ทางการเงิน2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในช่วงปี 2526 - 2527 และครั้งที่ 2 ในช่วงปี 2538 - 2539 ซึ่งมีตัวเลขเปรียบ-
เทียบ ดังนี้
ช่วงที่ 1 ช่วงที่ 2
2524 2525 2526 2527 2537 2538 2539* 2540* 2541*
เม็กซิโก
ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (พันล้านดอลลาร์) - - - - - - - - -
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (%) 8.8 -0.7 -4.3 3.6 4.4 -6.2 5.1 6.7 5.4
อัตราเพิ่มการบริโภค (%) 7.4 -2.5 -5.4 3.3 4.6 -9.5 2.3 5.0 4.4
อัตราเพิ่มการลงทุน (%) 16.2 -16.8 -28.3 6.4 8.4 -2.9 17.7 19.2 15.4
อัตราเพิ่มการส่งออก (%, USD) 11.6 21.8 13.6 5.7 17.4 33 18.7 16.0 12.5
อัตราเพิ่มการนำเข้า (%, USD) 17.7 -37.9 -33.8 17.8 20.5 -12.8 27.8 23.0 16.2
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -6.1 -2.9 4.8 2.5 -7.1 -0.5 -0.6 -1.6 -2.7
อัตราเงินเฟ้อ (%) 27.9 58.7 102.3 65.3 7.0 35.0 34.4
อัตราแลกเปลี่ยน (เปโซ : ดอลลาร์) - 0.052 0.155 0.192 3.389 6.421 7.601 7.930 8.237
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (%) 30.8 45.7 59.5 49.7 14.6 48.2 32.9 21.0 16.8
ไทย
ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (พันล้านดอลลาร์) 34.9 36.6 40.1 41.8 144.5 168.2 181.4 150.0 112.8
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (%) 6.3 5.3 5.6 5.8 8.9 8.8 5.5 -0.4 -3.0 ถึง -3.5
อัตราเพิ่มการบริโภค (%) 4.1 2.1 7.2 5.0 8.0 7.1 6.7 0.1 -5.0
อัตราเพิ่มการลงทุน (%) 6.5 -0.5 14.6 5.9 11.6 11.2 6.0 -16.0 -21.0
อัตราเพิ่มการส่งออก (%, USD) 7.01 -0.7 -7.7 16.4 22.2 24.6 -1.3 3.5 6.2
อัตราเพิ่มการนำเข้า (%, USD) 2.8 -15.1 21.2 0.7 18.4 31.6 1.5 -13.1 -7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -7.4 -2.7 -7.2 -5.0 -5.6 -8.0 -7.9 -2.2 3.9
อัตราเงินเฟ้อ (%) 12.7 5.2 3.8 0.9 5.1 5.8 5.9 5.6 11.6
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท : ดอลลาร์) 21.80 22.98 22.98 23.61 25.12 24.91 25.35 31.4 45.0
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (%) 17.25 14.95 12.15 13.71 7.21 10.96 9.23 15.69 NA.
หมายเหตุ ข้อมูลของประเทศเม็กซิโกจาก OECD Economic Outlook,* ประมาณการ
3.4 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ได้แก่
1) ภาวะเศรษฐกิจของประเทศอื่นในภูมิภาค ยังมีความผันผวนและบางประเทศอาจใช้เวลานาน
กว่าจะฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศเม็กซิโกที่อาศัยความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่ง
มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างกันมากเป็นกำลังผลักดันในการฟื้นตัว
2) การส่งออก การประเมินความสามารถในการส่งออกตามหนังสือเจตจำนงฉบับที่ 1 ถึง 3
ได้มีการปรับลดอัตราขยายตัวในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐลงโดยตลอด โดยล่าสุดได้กำหนดเป้าหมายไว้ร้อยละ 6.2 ใน
ปี 2541 ในขณะที่ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และค่าเงินของประเทศคู่แข่งขันแม้กระทั่ง
ประเทศเวียดนามก็ลดลงเช่นกัน
3) การว่างงาน ตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำประมาณการกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการ
ว่างงานได้ประมาณว่าจะมีการว่างงาน 1.84 ล้านคนในปี 2541 หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 5.6 ของกำลัง
แรงงานนั้น เป็นตัวเลขการประเมินบนพื้นฐานของเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.0 ดังนั้น จึงคาดได้ว่าการว่างงานจะสูง
กว่านี้มาก แรงงานที่ว่างงานยังต้องใช้เวลาปรับตัวนานกว่าที่คาดไว้เดิมในการหางานทำ และสามารถเพิ่มกำลังการ
บริโภคขึ้นได้
3.5 เศรษฐกิจไทยในปี 2542 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่
สำคัญจากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1 และร้อยละ 6 ตามลำดับ
เงินเฟ้อคาดว่าจะอ่อนตัวลง โดยมีอัตราเพิ่มเพียงร้อยละ 6 และการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าตามการขยายตัว ของ
เศรษฐกิจจะส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงเป็นร้อยละ 2.8 ของผลผลิตรวม
3.6 แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะปานกลางถึงปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจน
ถึงร้อยละ 3.7 ในปี 2544 ซึ่งเป็นพื้นฐานของการขยายตัวในระยะปานกลางประมาณร้อยละ 4 - 5 ต่อปี
3.7 เงื่อนไขด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมเพื่อให้บรรลุแนวโน้มเศรษฐกิจระยะปานกลาง
ดังกล่าวคือ
1) เสริมสร้างประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นของระบบการเงิน โดยการพัฒนาสถาบันการเงินใน
ประเทศเข้าสู่มาตรฐานสากล ปรับปรุงกฏหมาย กฎระเบียบ และพัฒนาระบบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน รวมถึง
การพัฒนาตลาดทุนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
2) เข้มงวดวินัยทางการคลัง เพื่อช่วยลดช่องว่างการออม - การลงทุน โดยที่ภาครัฐมีนโยบาย
งบประมาณสมดุลทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจโดยรวม
3) เร่งรัดระดมเงินออม เร่งรัดมาตรการระดมเงินออมแบบผูกพันให้กว้างขวางจนสามารถสนับ
สนุนการออมภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 6.5 ของผลผลิตรวมในปี 2544
4) ควบคุมเงินเฟ้อ โดยไม่ให้สูงกว่าประเทศคู่ค้าจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของ
สินค้าส่งออก และส่งผลถึงการอ่อนตัวของเงินบาทในระยะยาว
5) เร่งรัดส่งเสริมการส่งออกทั้งด้านการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขยายตัวได้เฉลี่ยร้อยละ 5-6
ต่อปีในรูปดอลลาร์สหรัฐในระยะปานกลาง
6) ดำเนินการตามแนวนโยบายเศรษฐกิจระยะปานกลาง ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ
รัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 ให้เห็นผลในทางปฏิบัติ
3.8 แนวโน้มดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ กรณีฐานที่มีความระมัดระวังมิให้มองภาพในเชิงสูงจนเกินไป
ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อการวางแผนงบประมาณอย่างไรก็ตามหากมีการดำเนินการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
อย่างได้ผลทั้งด้านการปรับปรุงฝีมือแรงงาน การเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิตและคุณภาพสินค้า อันจะส่ง
ผลให้มีการส่งออกและประสิทธิภาพการลงทุนที่เพิ่มสูงกว่ากรณีฐานแล้ว ก็จะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะ
ปานกลางสูงกว่ากรณีฐานได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 มีนาคม 2541--