1. ปฏิญญาร่วมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศมุ่งสู่ความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองของประชาคมอาเซียน (Joint Declaration of the ASEAN Defence Ministers on Defence Cooperation towards Peaceful and Prosperous ASEAN Community)
2. แผนปฏิบัติการ 3 ปี (ปี 2557-2559)
3. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบเร่งด่วนภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
4. พิธีสารเพิ่มเติมสำหรับเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
5. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในปฏิญญาร่วมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนฯ
ทั้งนี้ เมื่อลงนามในปฏิญญาร่วมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนฯ แล้ว ให้ กห. ดำเนินการตามปฏิญญาร่วมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนฯ แผนปฏิบัติการ 3 ปีฯ เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารฯ และพิธีสารเพิ่มเติมสำหรับเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนฯ ได้ตามความเหมาะสม และเสนอความคืบหน้าการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
ปฏิญญาร่วมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกาศเจตนารมณ์ การกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการร่วมกันของกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาคและสร้างสังคมที่มีความสงบสุขและสันติภาพในอาเซียนร่วมกัน ที่แสดงออกถึงความพอใจในผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 8 อย่างสอดคล้องกับหัวข้อความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีความสันติสุขและมั่งคั่งในการดำรงเป้าหมายการเป็นภูมิภาคที่มีความแน่นแฟ้น สันติสุข และเข้มแข็ง โดยมีความรับผิดชอบร่วมกันต่อความมั่นคงอย่างรอบด้านในความมุ่งมั่นที่จะสร้างความแข็งแกร่ง รวมทั้งยืนยันให้แก่ประชาคมอาเซียนที่มีการขับเคลื่อนตลอดเวลา มีความแน่นแฟ้น แข็งแกร่ง และมีบูรณาการบทบาทของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในฐานะของหน่วยงานด้านความมั่นคง รวมถึงกลไกการปรึกษาหารือและความร่วมมือสูงสุด เพื่อเสริมสร้างบรรทัดฐานของอาเซียนในการหารือ และยึดมั่นในความคิดเห็นส่วนใหญ่บนพื้นฐานการตัดสินใจร่วมกัน รวมทั้งยึดถือระเบียบวิธีปฏิบัติของอาเซียน และรับทราบถึงความร่วมมือของทหารกับพลเรือนในการดำเนินบทบาทที่มีความสำคัญ และการสร้างและเพิ่มความเป็นไปได้ในปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อตอบสนองต่อปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยได้ยกย่องความสำเร็จของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วยด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ความมั่นคงทางทะเล การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ การแพทย์ทหาร และด้านต่อต้านการก่อการร้าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 ตุลาคม 2557--จบ--