ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับโครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจร (พ.ศ. 2541 - 2543) ของสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เดิม สจร. ได้เสนอโครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจรระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2541 - 2543) มีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 6,910 ล้านบาท แยกเป็นเงินกู้ต่างประเทศ 4,450 ล้านบาท และเป็นเงินบาทสมทบ 2,460 ล้านบาท ประกอบด้วยกลุ่มแผนงาน 3 กลุ่ม ดังนี้
1.1 กลุ่มแผนงานที่ 1 ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการพัฒนานโยบาย การวางแผนและองค์กรหรือสถาบันของหน่วยงานด้านการจราจรและขนส่ง ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อนำมาตรการในแผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งไปสู่การปฏิบัติ โดยใช้เงินลงทุนรวม 1,067 ล้านบาท แยกเป็น เงินตราต่างประเทศ 1,001 ล้านบาท และเงินสมทบ 66 ล้านบาท
1.2 กลุ่มแผนงานที่ 2 การลงทุนและการก่อสร้างของหน่วยงานในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ซึ่งใช้เงินลงทุนแต่ละโครงการไม่มาก โดยให้ความสำคัญกับเครือข่ายเชื่อมโยงโครงข่ายถนนและสะพาน เพื่อจัดระบบโครงข่ายเร่งด่วนในพื้นที่ปิดล้อม และการลดการตัดกระแสจราจรบริเวณจุดตัดบนถนนสายหลัก การเปิดถนนทางลัดเชื่อมถนนสายหลักและสายรองให้เป็นระบบโครงข่าย และเพิ่มบทบาทของบริการขนส่งสาธารณะ โดยใช้เงินลงทุนรวม 5,720 ล้านบาท แยกเป็น เงินตราต่างประเทศ 3,326 ล้านบาทและเงินบาทสมทบ 2,394 ล้านบาท
1.3 กลุ่มแผนงานที่ 3 การบริหารจัดการโครงการ เป็นการบริหารเงินกู้และสนับสนุนโครงการ รวมทั้งติดตามและประเมินผลเงินกู้ ใช้เงินตราต่างประเทศ 123 ล้านบาท
2. สศช. รายงานว่า สศช. ได้นำโครงการเงินกู้ฯ ดังกล่าว เสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้ว เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 เห็นควรให้ดำเนินการตามแผนงานโครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจร (พ.ศ. 2541 - 2543) ได้ในวงเงินประมาณ 1,326.58 ล้านบาท ดังนี้
2.1 กลุ่มแผนงานที่ 1 เห็นควรสนับสนุนให้มีการดำเนินงานจำนวน 2 แผนงาน วงเงินลงทุนประมาณ 238.08 ล้านบาท ประกอบด้วย
- แผนงานการวางแผนเส้นทางและกำหนดเวลาเดินรถประจำทาง 32.17 ล้านบาท
- แผนงานเชื่อมต่อการเดินทางในรูปแบบระบบการขนส่งต่าง ๆ 205.91 ล้านบาท
2.2 กลุ่มแผนงานที่ 2 เห็นควรสนับสนุน จำนวน 2 แผนงาน วงเงินลงทุนประมาณ 1,054.98 ล้านบาท ประกอบด้วย
- แผนงานปรับปรุงเครือข่ายถนน 1,004.98 ล้านบาท
- แผนงานปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยทางการจราจร 50.00 ล้านบาท
2.3 กลุ่มแผนงานที่ 3 เห็นควรปรับลดวงเงินลงทุนแผนงานตามโครงการเงินกู้ฯ เหลือประมาณ 33.52 ล้านบาทเนื่องจากเป็นการใช้ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งที่เป็นงานที่คนไทยสามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ
1. ในระยะที่ผ่านมา สจร. ได้ใช้เงินงบประมาณและเงินกู้ในการจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยผลการศึกษายังมิได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ดังนั้น ในสภาวะที่ประเทศประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ สจร. ควรพิจารณานำผลการศึกษามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
2. สำหรับแผนงานการก่อสร้างโครงข่ายถนน นั้น สจร. ควรพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นของขนาดและวงเงินลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการปรับปรุงถนนสุขาภิบาล 3 ให้เป็น 8 ช่องจราจรเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับโครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจร (พ.ศ. 2541 - 2543) ของสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เดิม สจร. ได้เสนอโครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจรระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2541 - 2543) มีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 6,910 ล้านบาท แยกเป็นเงินกู้ต่างประเทศ 4,450 ล้านบาท และเป็นเงินบาทสมทบ 2,460 ล้านบาท ประกอบด้วยกลุ่มแผนงาน 3 กลุ่ม ดังนี้
1.1 กลุ่มแผนงานที่ 1 ส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการพัฒนานโยบาย การวางแผนและองค์กรหรือสถาบันของหน่วยงานด้านการจราจรและขนส่ง ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อนำมาตรการในแผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งไปสู่การปฏิบัติ โดยใช้เงินลงทุนรวม 1,067 ล้านบาท แยกเป็น เงินตราต่างประเทศ 1,001 ล้านบาท และเงินสมทบ 66 ล้านบาท
1.2 กลุ่มแผนงานที่ 2 การลงทุนและการก่อสร้างของหน่วยงานในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ซึ่งใช้เงินลงทุนแต่ละโครงการไม่มาก โดยให้ความสำคัญกับเครือข่ายเชื่อมโยงโครงข่ายถนนและสะพาน เพื่อจัดระบบโครงข่ายเร่งด่วนในพื้นที่ปิดล้อม และการลดการตัดกระแสจราจรบริเวณจุดตัดบนถนนสายหลัก การเปิดถนนทางลัดเชื่อมถนนสายหลักและสายรองให้เป็นระบบโครงข่าย และเพิ่มบทบาทของบริการขนส่งสาธารณะ โดยใช้เงินลงทุนรวม 5,720 ล้านบาท แยกเป็น เงินตราต่างประเทศ 3,326 ล้านบาทและเงินบาทสมทบ 2,394 ล้านบาท
1.3 กลุ่มแผนงานที่ 3 การบริหารจัดการโครงการ เป็นการบริหารเงินกู้และสนับสนุนโครงการ รวมทั้งติดตามและประเมินผลเงินกู้ ใช้เงินตราต่างประเทศ 123 ล้านบาท
2. สศช. รายงานว่า สศช. ได้นำโครงการเงินกู้ฯ ดังกล่าว เสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้ว เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 เห็นควรให้ดำเนินการตามแผนงานโครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและจัดระบบการจราจร (พ.ศ. 2541 - 2543) ได้ในวงเงินประมาณ 1,326.58 ล้านบาท ดังนี้
2.1 กลุ่มแผนงานที่ 1 เห็นควรสนับสนุนให้มีการดำเนินงานจำนวน 2 แผนงาน วงเงินลงทุนประมาณ 238.08 ล้านบาท ประกอบด้วย
- แผนงานการวางแผนเส้นทางและกำหนดเวลาเดินรถประจำทาง 32.17 ล้านบาท
- แผนงานเชื่อมต่อการเดินทางในรูปแบบระบบการขนส่งต่าง ๆ 205.91 ล้านบาท
2.2 กลุ่มแผนงานที่ 2 เห็นควรสนับสนุน จำนวน 2 แผนงาน วงเงินลงทุนประมาณ 1,054.98 ล้านบาท ประกอบด้วย
- แผนงานปรับปรุงเครือข่ายถนน 1,004.98 ล้านบาท
- แผนงานปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยทางการจราจร 50.00 ล้านบาท
2.3 กลุ่มแผนงานที่ 3 เห็นควรปรับลดวงเงินลงทุนแผนงานตามโครงการเงินกู้ฯ เหลือประมาณ 33.52 ล้านบาทเนื่องจากเป็นการใช้ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งที่เป็นงานที่คนไทยสามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ
1. ในระยะที่ผ่านมา สจร. ได้ใช้เงินงบประมาณและเงินกู้ในการจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยผลการศึกษายังมิได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ดังนั้น ในสภาวะที่ประเทศประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ สจร. ควรพิจารณานำผลการศึกษามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
2. สำหรับแผนงานการก่อสร้างโครงข่ายถนน นั้น สจร. ควรพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นของขนาดและวงเงินลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการปรับปรุงถนนสุขาภิบาล 3 ให้เป็น 8 ช่องจราจรเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2541--