ทำเนียบรัฐบาล--31 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาเรื่อง งบประมาณประจำปี 2543 ของรัฐวิสาหกิจ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานในภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ ปี 2542 สรุปได้ดังนี้
1.1 การดำเนินงานในปี 2542 แม้ว่ารายได้ - รายจ่ายจะลดลง ซึ่งสะท้อนภาพผลการดำเนินงาน
จริงแต่ในภาพรวมจะมีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายประมาณ 9,277 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 ทั้งนี้ เนื่องจาก
รัฐวิสาหกิจบางแห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากอาทิ บกท. กฟภ. กปน. และ ทศท. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะมีกำไรจาก
อัตราแลกเปลี่ยน
1.2 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน จากผลการดำเนินงานคาดว่าจะมี RI ลดลง ประมาณ 2,551
ล้านคน หรือร้อยละ3 โดยมีสาเหตุสำคัญจาก กปน. ประมาณส่งรัฐเพิ่มขึ้น 1,602 ล้านบาท ในขณะที่ กฟภ. ประมาณ
ว่าจะมีรายได้หลักจากการดำเนินงานลดลงตามปริมาณการใช้ไฟเป็นจำนวน 1,487 ล้านบาท
1.3 การเบิกจ่ายลงทุน คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 205,425 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 14,408
ล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญ เนื่องจาก
1) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ขาดความพร้อมที่จะเริ่มดำเนินโครงการใหม่ในปี 2542 เช่น ทศท. กสท.
และ กปน.
2) ปัญหาผู้รับเหมาขาดสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ เช่น กปน. และ รฟท.
3) การเบิกจ่ายลงทุนลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน และตามเนื้องานที่คาดว่าจะดำเนินการได้ โดย
เฉพาะ บกท. และ กคช.
ทั้งนี้ ผลการเบิกจ่ายลงทุนดังกล่าว ทำให้รัฐวิสาหกิจโดยรวมมีฐานะขาดดุล จำนวน 123,338 ล้านบาท
หรือประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP
2. ให้ความเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนในวงเงิน 279,175 ล้านบาท โดยสามารถเบิกจ่ายได้
224,000 ล้านบาท หรือขาดดุลประมาณร้อยละ 2 ของ GDP และเพื่อให้การใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามกรอบวงเงิน
ที่กำหนด จึงเห็นชอบให้สศช. รับผิดชอบกำกับดูแลวงเงินเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้ว และที่จะอนุมัติ
เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับกรอบการจ่ายลงทุนดังกล่าว แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกไตรมาส
3. ให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเพื่อระดมทุนจากนอกภาครัฐในการลงทุนทางด้านบริการพื้นฐาน
ดังนี้
3.1 งบประมาณลงทุน รัฐวิสาหกิจทั้ง 49 แห่ง เสนอขออนุมัติงบลงทุนทั้งสิ้น 301,783 ล้านบาท และประมาณ
จ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 234,562 ล้านบาท เพิ่มจากวงเงินที่ได้รับอนุมัติจ่ายในปี 2542 (219,833 ล้านบาท) ร้อยละ 6.7 คิดเป็น
ฐานะรัฐวิสาหกิจโดยรวมขาดดุล 119,227 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 ของ GDP ซึ่ง สศช. พิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปสาระ
สำคัญ ดังนี้
วงเงิน จากงบประมาณที่รัฐวิสาหกิจเสนอมาในขณะนี้ สศช. เห็นสมควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้
279,175 ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 215,373 ล้านบาท (ร้อยละ 77.1 ของวงเงินดำเนินการ) ทั้งนี้ โดยปรับลดการลงทุนให้
สอดคล้องกับข้อเท็จจริงล่าสุด เช่น การลงทุนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตามขั้นตอนการได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ความพร้อม
ของรัฐวิสาหกิจเป็นต้น ยอดอนุมัติเบิกจ่ายดังกล่าวจะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ 100,038 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 ของ
GDP โดยมีสัดส่วนการจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่อรัฐบาลกลางเท่ากับ 0.98
อนึ่ง ในวงเงินที่อนุมัติให้เบิกจ่ายนั้น เป็นมูลค่าการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 68,343
ล้านบาท หรือร้อยละ 31.7 ของวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.5 ของปีที่ผ่านมา และเป็นการลงทุนในภูมิภาค 96,050 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 44.6 ลดลงจากร้อยละ 55 ของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การลงทุนรวมจะก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 88,452 คน
หน่วย : ล้านบาท
งบลงทุน ข้อเสนอ ผลการพิจารณาเบื้องต้น ปรับลด
ดำเนินการ ประมาณจ่าย ดำเนินการ เบิกจ่าย ดำเนินการ เบิกจ่าย
1. เพื่อการดำเนินงานปกติ 78,911 5 4,493 7 9,952 4 8,814 5,959 5,679
2. ทำเป็นโครงการ 222,872 180,069 206,223 166,559 1 6,649 13,510
รวม 301,783 234,562 279,175 215,373 22,608 19,189
โดยมีแหล่งที่มาของเงินลงทุนตามยอดเบิกจ่าย ดังนี้
ล้านบาท ร้อยละ
เงินรายได้ 78,541 36.5
งบประมาณแผ่นดิน 10,493 4.9
เงินกู้ในประเทศ 50.785 23.6
เงินกู้ต่างประเทศอื่น ๆ 74,146 34.4
รวม 215,373 100.0
3.2 จากการพิจารณาฐานะเงินสดของรัฐวิสาหกิจ พบว่ามีรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง และยังมิ
ได้กำหนดแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายการลงทุนในอนาคต ได้แก่ กฟผ. กทพ.
รฟท. และ ขสมก. ดังนั้น เพื่อให้การปรับปรุงและการขยายบริการพื้นฐานในช่วงต่อไปมีความต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐวิสาหกิจเหล่า
นี้มีความสามารถที่จะระดมทุนจากภาคเอกชนได้ จึงเห็นควรเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อระดมทุนจากนอกภาครัฐมา
ช่วยในการขยายบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ดังนี้
- กฟผ.ให้เร่งรัดการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและลดภาระการกู้ของทั้งกฟผ. และประเทศ
โดยรวม
- กทพ. ให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนในโครงการใหม่ โดย กทพ. มุ่งเน้นเฉพาะการปรับปรุงดูแลโครงข่ายปัจจุบัน
- รฟท. และ ขสมก. ให้เร่งรัดดำเนินการตามแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 สิงหาคม 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาเรื่อง งบประมาณประจำปี 2543 ของรัฐวิสาหกิจ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานในภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ ปี 2542 สรุปได้ดังนี้
1.1 การดำเนินงานในปี 2542 แม้ว่ารายได้ - รายจ่ายจะลดลง ซึ่งสะท้อนภาพผลการดำเนินงาน
จริงแต่ในภาพรวมจะมีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายประมาณ 9,277 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 ทั้งนี้ เนื่องจาก
รัฐวิสาหกิจบางแห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากอาทิ บกท. กฟภ. กปน. และ ทศท. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะมีกำไรจาก
อัตราแลกเปลี่ยน
1.2 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน จากผลการดำเนินงานคาดว่าจะมี RI ลดลง ประมาณ 2,551
ล้านคน หรือร้อยละ3 โดยมีสาเหตุสำคัญจาก กปน. ประมาณส่งรัฐเพิ่มขึ้น 1,602 ล้านบาท ในขณะที่ กฟภ. ประมาณ
ว่าจะมีรายได้หลักจากการดำเนินงานลดลงตามปริมาณการใช้ไฟเป็นจำนวน 1,487 ล้านบาท
1.3 การเบิกจ่ายลงทุน คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 205,425 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 14,408
ล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญ เนื่องจาก
1) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ขาดความพร้อมที่จะเริ่มดำเนินโครงการใหม่ในปี 2542 เช่น ทศท. กสท.
และ กปน.
2) ปัญหาผู้รับเหมาขาดสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ เช่น กปน. และ รฟท.
3) การเบิกจ่ายลงทุนลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน และตามเนื้องานที่คาดว่าจะดำเนินการได้ โดย
เฉพาะ บกท. และ กคช.
ทั้งนี้ ผลการเบิกจ่ายลงทุนดังกล่าว ทำให้รัฐวิสาหกิจโดยรวมมีฐานะขาดดุล จำนวน 123,338 ล้านบาท
หรือประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP
2. ให้ความเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนในวงเงิน 279,175 ล้านบาท โดยสามารถเบิกจ่ายได้
224,000 ล้านบาท หรือขาดดุลประมาณร้อยละ 2 ของ GDP และเพื่อให้การใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามกรอบวงเงิน
ที่กำหนด จึงเห็นชอบให้สศช. รับผิดชอบกำกับดูแลวงเงินเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้ว และที่จะอนุมัติ
เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับกรอบการจ่ายลงทุนดังกล่าว แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกไตรมาส
3. ให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเพื่อระดมทุนจากนอกภาครัฐในการลงทุนทางด้านบริการพื้นฐาน
ดังนี้
3.1 งบประมาณลงทุน รัฐวิสาหกิจทั้ง 49 แห่ง เสนอขออนุมัติงบลงทุนทั้งสิ้น 301,783 ล้านบาท และประมาณ
จ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 234,562 ล้านบาท เพิ่มจากวงเงินที่ได้รับอนุมัติจ่ายในปี 2542 (219,833 ล้านบาท) ร้อยละ 6.7 คิดเป็น
ฐานะรัฐวิสาหกิจโดยรวมขาดดุล 119,227 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 ของ GDP ซึ่ง สศช. พิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปสาระ
สำคัญ ดังนี้
วงเงิน จากงบประมาณที่รัฐวิสาหกิจเสนอมาในขณะนี้ สศช. เห็นสมควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้
279,175 ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 215,373 ล้านบาท (ร้อยละ 77.1 ของวงเงินดำเนินการ) ทั้งนี้ โดยปรับลดการลงทุนให้
สอดคล้องกับข้อเท็จจริงล่าสุด เช่น การลงทุนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตามขั้นตอนการได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ความพร้อม
ของรัฐวิสาหกิจเป็นต้น ยอดอนุมัติเบิกจ่ายดังกล่าวจะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ 100,038 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 ของ
GDP โดยมีสัดส่วนการจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่อรัฐบาลกลางเท่ากับ 0.98
อนึ่ง ในวงเงินที่อนุมัติให้เบิกจ่ายนั้น เป็นมูลค่าการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 68,343
ล้านบาท หรือร้อยละ 31.7 ของวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.5 ของปีที่ผ่านมา และเป็นการลงทุนในภูมิภาค 96,050 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 44.6 ลดลงจากร้อยละ 55 ของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การลงทุนรวมจะก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 88,452 คน
หน่วย : ล้านบาท
งบลงทุน ข้อเสนอ ผลการพิจารณาเบื้องต้น ปรับลด
ดำเนินการ ประมาณจ่าย ดำเนินการ เบิกจ่าย ดำเนินการ เบิกจ่าย
1. เพื่อการดำเนินงานปกติ 78,911 5 4,493 7 9,952 4 8,814 5,959 5,679
2. ทำเป็นโครงการ 222,872 180,069 206,223 166,559 1 6,649 13,510
รวม 301,783 234,562 279,175 215,373 22,608 19,189
โดยมีแหล่งที่มาของเงินลงทุนตามยอดเบิกจ่าย ดังนี้
ล้านบาท ร้อยละ
เงินรายได้ 78,541 36.5
งบประมาณแผ่นดิน 10,493 4.9
เงินกู้ในประเทศ 50.785 23.6
เงินกู้ต่างประเทศอื่น ๆ 74,146 34.4
รวม 215,373 100.0
3.2 จากการพิจารณาฐานะเงินสดของรัฐวิสาหกิจ พบว่ามีรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง และยังมิ
ได้กำหนดแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายการลงทุนในอนาคต ได้แก่ กฟผ. กทพ.
รฟท. และ ขสมก. ดังนั้น เพื่อให้การปรับปรุงและการขยายบริการพื้นฐานในช่วงต่อไปมีความต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐวิสาหกิจเหล่า
นี้มีความสามารถที่จะระดมทุนจากภาคเอกชนได้ จึงเห็นควรเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อระดมทุนจากนอกภาครัฐมา
ช่วยในการขยายบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ดังนี้
- กฟผ.ให้เร่งรัดการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและลดภาระการกู้ของทั้งกฟผ. และประเทศ
โดยรวม
- กทพ. ให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนในโครงการใหม่ โดย กทพ. มุ่งเน้นเฉพาะการปรับปรุงดูแลโครงข่ายปัจจุบัน
- รฟท. และ ขสมก. ให้เร่งรัดดำเนินการตามแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 สิงหาคม 2542--