ทำเนียบรัฐบาล--17 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ การปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์ ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมต่าง ๆ ในกระทรวงพาณิชย์ รวม 8 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
3. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
4. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
5. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
6. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
7. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
8. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
สำหรับการปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์กระทรวงพาณิชย์ 2008 ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นองค์กรนำในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าผู้นำทางการค้าต่างประเทศของเอเซีย ส่งเสริมให้มีการค้าเสรีและเป็นธรรม และให้บริการพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
2. เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ตามข้อ 1 กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดกลยุทธ์ไว้ 10 ประการ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เพื่อเสริมสร้างเอกภาพและความชัดเจนในนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 2 ใช้การเจรจาเป็นกลไกสำคัญในการบรรลุผลตามนโยบายการค้า
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาตลาดและศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ 4 รักษาและปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า
กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกตลาด
กลยุทธ์ที่ 6 คุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์ที่ 7 ส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม
กลยุทธ์ที่ 8 ยกระดับมาตรฐานการให้บริการการพาณิชย์
กลยุทธ์ที่ 9 ปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ที่ 10 พัฒนาบุคลากร
ซึ่งประกอบด้วยภารกิจหลักสำคัญ 48 ภารกิจ เช่น สร้างระบบเตือนภัย กำหนดและผลักดันสินค้าไทยที่มีศักยภาพพัฒนาช่องทางการตลาดและระบบการกระจายสินค้า เป็นต้น
3. แบ่งแผนปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์เป็น 3 ระยะ ดังนี้
3.1 ระยะที่ 1 (1 ตุลาคม 2541 - 30 กันยายน 2542) ปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อภารกิจของกระทรวงอื่น และมีความเป็นไปได้ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและระเบียบปัจจุบันในเวลาอันรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงในบริบทกติกาการพาณิชย์สากล
3.2 ระยะที่ 2 (1 ตุลาคม 2542 - 30 กันยายน 2543) ปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ที่มีผลกระทบต่อจากงานและภารกิจของกระทรวงอื่น แต่คงไว้ซึ่งโครงสร้างหลักของกระทรวงพาณิชย์ โดยคงไว้เฉพาะงานหลักของกระทรวงพาณิชย์จัดรูปแบบองค์กรและโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงานภายในกระทรวงให้ชัดเจน เหมาะสมกับภารกิจและลูกค้า พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงานเสริม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
3.3 ระยะที่ 3 (1 ตุลาคม 2543 - 30 กันยายน 2544) ปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างงานหลักของกระทรวงพาณิชย์ และกระทบต่องานและภารกิจของกระทรวงอื่นโดยรวม โดยการสร้างความเชื่อมโยงการผลิต การพัฒนาสินค้าและการตลาด การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศไว้ในหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ในลักษณะครบวงจร
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามแผนปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์ ระยะที่ 1 ก่อน จากนั้นจึงทำการประเมินผลการดำเนินงาน และปรับให้เข้ากับแผนในระยะที่ 2 และ 3 นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
4. ปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์ตามร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมต่าง ๆ ในกระทรวงพาณิชย์ รวม 8 ฉบับ ตามบทบาทภารกิจใหม่ (ตามข้อ 3.1) โดยไม่มีการกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการหรืออัตราลูกจ้างเพิ่มขึ้น
เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์เสนอว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะการแข่งขันและความกดดันอย่างรุนแรงในเวทีการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และการแสวงหาความได้เปรียบทางการค้าภายใต้ระเบียบการค้าเสรี ซึ่งเมื่อผนวกกับปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าของไทยถดถอยลงกว่าที่แล้วมา ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง จึงได้ใช้ความพยายามมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ และเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาเครือข่ายหน่วยงานภาคราชการที่รับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการส่งออกของไทยให้มีความเข้มแข็ง มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบและมีขีดความสามารถสูงในการปรับตัวรับกับสถานการณ์และปัญหาโดยจะต้องผนึกกำลังร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าและการส่งออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ การปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์ ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมต่าง ๆ ในกระทรวงพาณิชย์ รวม 8 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
3. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
4. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
5. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
6. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
7. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
8. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
สำหรับการปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์กระทรวงพาณิชย์ 2008 ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นองค์กรนำในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าผู้นำทางการค้าต่างประเทศของเอเซีย ส่งเสริมให้มีการค้าเสรีและเป็นธรรม และให้บริการพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
2. เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ตามข้อ 1 กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดกลยุทธ์ไว้ 10 ประการ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เพื่อเสริมสร้างเอกภาพและความชัดเจนในนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 2 ใช้การเจรจาเป็นกลไกสำคัญในการบรรลุผลตามนโยบายการค้า
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาตลาดและศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ 4 รักษาและปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า
กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกตลาด
กลยุทธ์ที่ 6 คุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์ที่ 7 ส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม
กลยุทธ์ที่ 8 ยกระดับมาตรฐานการให้บริการการพาณิชย์
กลยุทธ์ที่ 9 ปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ที่ 10 พัฒนาบุคลากร
ซึ่งประกอบด้วยภารกิจหลักสำคัญ 48 ภารกิจ เช่น สร้างระบบเตือนภัย กำหนดและผลักดันสินค้าไทยที่มีศักยภาพพัฒนาช่องทางการตลาดและระบบการกระจายสินค้า เป็นต้น
3. แบ่งแผนปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์เป็น 3 ระยะ ดังนี้
3.1 ระยะที่ 1 (1 ตุลาคม 2541 - 30 กันยายน 2542) ปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อภารกิจของกระทรวงอื่น และมีความเป็นไปได้ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและระเบียบปัจจุบันในเวลาอันรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงในบริบทกติกาการพาณิชย์สากล
3.2 ระยะที่ 2 (1 ตุลาคม 2542 - 30 กันยายน 2543) ปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ที่มีผลกระทบต่อจากงานและภารกิจของกระทรวงอื่น แต่คงไว้ซึ่งโครงสร้างหลักของกระทรวงพาณิชย์ โดยคงไว้เฉพาะงานหลักของกระทรวงพาณิชย์จัดรูปแบบองค์กรและโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงานภายในกระทรวงให้ชัดเจน เหมาะสมกับภารกิจและลูกค้า พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงานเสริม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
3.3 ระยะที่ 3 (1 ตุลาคม 2543 - 30 กันยายน 2544) ปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงพาณิชย์ที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างงานหลักของกระทรวงพาณิชย์ และกระทบต่องานและภารกิจของกระทรวงอื่นโดยรวม โดยการสร้างความเชื่อมโยงการผลิต การพัฒนาสินค้าและการตลาด การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศไว้ในหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ในลักษณะครบวงจร
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามแผนปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์ ระยะที่ 1 ก่อน จากนั้นจึงทำการประเมินผลการดำเนินงาน และปรับให้เข้ากับแผนในระยะที่ 2 และ 3 นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
4. ปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงพาณิชย์ตามร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมต่าง ๆ ในกระทรวงพาณิชย์ รวม 8 ฉบับ ตามบทบาทภารกิจใหม่ (ตามข้อ 3.1) โดยไม่มีการกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการหรืออัตราลูกจ้างเพิ่มขึ้น
เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์เสนอว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะการแข่งขันและความกดดันอย่างรุนแรงในเวทีการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และการแสวงหาความได้เปรียบทางการค้าภายใต้ระเบียบการค้าเสรี ซึ่งเมื่อผนวกกับปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าของไทยถดถอยลงกว่าที่แล้วมา ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง จึงได้ใช้ความพยายามมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ และเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาเครือข่ายหน่วยงานภาคราชการที่รับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการส่งออกของไทยให้มีความเข้มแข็ง มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบและมีขีดความสามารถสูงในการปรับตัวรับกับสถานการณ์และปัญหาโดยจะต้องผนึกกำลังร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าและการส่งออก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541--