ทำเนียบรัฐบาล--20 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนด้านโครงสร้าง
พื้นฐานขนาดใหญ่ของหน่วยงานราชการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมี
เหตุผลและความจำเป็นดังนี้
แม้ว่าการปรับลดงบประมาณสำหรับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานราชการ ในปีงบประมาณ
2541 นั้นได้มีการปรับลดลงจาก 190,716 ล้านบาท เป็น 121,520 ล้านบาท หรือลดลง 69,196 ล้านบาท ซึ่งทำให้
การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานราชการในปี 2541 มีจำนวนที่ลดลงจากปี 2540 ประมาณ 23,645 ล้าน
บาท (ปี 2540 มีการลงทุน 145,165 ล้านบาท) จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ข้อ
จำกัดในการลงทุนของภาครัฐโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ถดถอย จะทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขาด
ความต่อเนื่องและอาจหยุดชะงัก ส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน นอกจากนั้นกระแสโลกาภิวัตน์ที่การลงทุนและการทำธุรกิจมีความเป็นสากลมากขึ้นได้ส่งผลให้ประเทศ
ไทยดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน และสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ดังนั้น การเพิ่มบทบาทภาค
เอกชนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลภภายใต้กติกาและเงื่อนไขใหม่ โดย
รัฐจำเป็นต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ให้บริการมาเป็นผู้กำกับดูแลให้มากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ
และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน คือ ประชาชนจะได้รับบริการที่ทั่วถึง มีคุณภาพมากขึ้น และใน
ราคาที่เป็นธรรม ส่วนรัฐเสียทรัพยากรในการผลิตน้อยลง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีต้นทุนต่ำ
และสามารถนำทรัพยากรไปใช้ในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น บริการการศึกษา สาธารณสุข และการบรรเทาผล
กระทบต่อคนและสังคมในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะถดถอย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการเพิ่มบทบาทภาค
เอกชนในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการ แทนการใช้งบประมาณแผ่นดิน
และเงินกู้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการ และลดภาระการลงทุนและการก่อ
หนี้ต่างประเทศของรัฐบาล
นอกจากนี้ การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ผ่านมานั้นจะเป็นการดำเนิน
การในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการดำเนินการทั้งในรูปแบบการให้สัมปทาน (Concession) การร่วม
ลงทุน (Joint Venture) สัญญาจ้างบริหาร (Management Contract) และสัญญาเช่า (Leasing Contract)
สำหรับหน่วยงานราชการนั้น ที่ผ่านมามีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนไม่มากนัก โดยเป็นลักษณะของการให้สัมปทานเป็นส่วน
ใหญ่ ส่วนการใช้รูปแบบ Turn - Key นั้นไม่ถือเป็นการลดภาระของรัฐได้อย่างแท้จริง
ตัวอย่างโครงการที่หน่วยงานราชการให้สัมปทานแก่ภาคเอกชน
โครงการ หน่วยงาน ปี รูปแบบ
1. โครงการทางยกระดับดินแดง - ดอนเมือง (ดอนเมืองโทลเวย์) กรมทางหลวง 2532 สัมปทาน BOT 30 ปี
2. โครงการระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าธนายง) กรุงเทพมหานคร 2535 สัมปทาน BOT 30 ปี
3. โครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ดาวเทียมไทยคม) กระทรวงคมนาคม 2534 สัมปทาน BTO 30 ปี
4. โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์และดำเนินบริการส่งวิทยุโทรทัศน์ สำนักงานปลัดสำนัก 2538 สัมปทาน BTO 30 ปี
ระบบ UHF (ITV)* นายกรัฐมนตรี
5. บริการสื่อสารดาวเทียมโดยใช้สถานีภาคพื้นดินขนาดเล็ก (VSAT) กรมไปรษณีย์โทรเลข 2532 สัมปทาน BTO 15 ปี
6. ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต/สงขลา กรมธนารักษ์ ** เช่าบริการ
7. การประปาสัมปทานเอกชน กรมโยธาธิการ ** สัมปทาน BOO 5-25 ปี
หมายเหตุ : * เป็นโครงการที่ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ
พ.ศ. 2535
** ยังไม่มีข้อมูล
ในปัจจุบันการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการขนาดใหญ่ หรือกิจการของหน่วยงานราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่มีวงเงินลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยหากเป็นโครงการใหม่กระทรวง
เจ้าสังกัดของหน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องเสนอโครงการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ส่วนโครงการที่มีทรัพย์สินอยู่แล้วให้เสนอกระทรวงการคลังพิจารณา หาก สศช. หรือ
กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับโครงการ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอก-
ชนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของหน่วยราชการในระยะต่อ เพื่อให้ดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยราช-
การในระยะต่อไป เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ แนวทางดำเนินการและการบริหารจัดการในเรื่องดัง
กล่าวให้ชัดเจนและเป็นระบบ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ และในราคาที่ยุติธรรม
2) เพื่อแบ่งเบาภาระการลงทุนของภาครัฐ
3) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2. แนวทางการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการ
1) การกำหนดทิศทางการพัฒนาแต่ละสาขา เป็นการพิจารณาว่าการพัฒนา ในแต่ละสาขาจะมีทิศทาง
อย่างไร ภาครัฐควรมีบทบาทอย่างไร ซึ่งการกำหนดทิศทางดังกล่าวจะเป็นกรอบที่ใช้ในการปรับโครงสร้างการบริหาร
จัดการในแต่ละสาขา เช่น จะต้องมีการจัดตั้งกลไกกำกับดูแลอย่างไร และควรเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบใดจึงจะ
เหมาะสม2) การจัดลำดับความเร่งด่วนในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนแต่ละสาขา โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น
ความจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนและผลประโยชน์ต่อประชาชนและเศรษฐกิจโดย
รวม
3) การพิจารณาปรับปรุง/แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พิจารณาปรับปรุงระเบียบ/กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อให้การ
ดำเนินการมีความคล่องตัวมากขึ้น เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ
พ.ศ. 2535
- พิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเฉพาะสาขา
4) การพิจารณาจัดตั้งกลไกกำกับดูแลในสาขาต่าง ๆ
- เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐมีบทบาทเป็นทั้งผู้ให้บริการและผู้กำกับดูแล ดังนั้น หากภาครัฐจะปรับบท
บาทเป็นผู้กำกับดูแลให้มากขึ้น และเปิดให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนและให้บริการ ก็จำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุง/จัดตั้ง
กลไกกำกับดูแล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่ดี และได้รับความเป็นธรรม
- เนื่องจากการจัดตั้งกลไกกำกับดูแล จำเป็นต้องมีการแก้ไข/ปรับปรุง หรือบัญญัติกฎหมายใหม่ซึ่ง
ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ
5) การจัดตั้งกลไกกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ในหน่วยงานราชการ ในปัจจุบันการ
เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการยังไม่มีกลไกที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ โดยมีเพียงกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็น
ผู้กำหนดทิศทางการพัฒนารายสาขาและแผนการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนของหน่วยงานแต่ละแห่งภายใต้สังกัดของตนจึงอาจ
ขาดความเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาและนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในภาพรวม นอกจากนี้การดำเนินงานเพิ่ม
บทบาทภาคเอกชนในภาพรวม เป็นงานที่ต้องใช้เวลาและต้องการความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ดังนั้น จึงมีความจำ
เป็นที่จะต้องปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการด้านนี้ให้เป็นระบบ และมีเอกภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันการดำเนินงานเพิ่ม
บทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
6) การติดตามประเมินผลการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญในการติดตามประเมินผลการ
เพิ่มบทบาทภาคเอกชนอย่างจริงจัง โดย
- การวัดประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และราคา
- การประเมินผลกระทบต่อภาครัฐและระบบเศรษฐกิจ เช่น การลดภาระการลงทุนของรัฐทั้งใน
ด้านงบประมาณและเงินกู้ การลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การสร้างงาน และการเพิ่มการลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศ
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบ การจัดตั้งกลไกกำกับการดำเนินการ
เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการตามแนวทางดังกล่าว โดยมอบหมายให้คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบาย
เศรษฐกิจเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับปลัดกระทรวงและมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นผู้ประสานงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 เมษายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนด้านโครงสร้าง
พื้นฐานขนาดใหญ่ของหน่วยงานราชการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมี
เหตุผลและความจำเป็นดังนี้
แม้ว่าการปรับลดงบประมาณสำหรับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานราชการ ในปีงบประมาณ
2541 นั้นได้มีการปรับลดลงจาก 190,716 ล้านบาท เป็น 121,520 ล้านบาท หรือลดลง 69,196 ล้านบาท ซึ่งทำให้
การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานราชการในปี 2541 มีจำนวนที่ลดลงจากปี 2540 ประมาณ 23,645 ล้าน
บาท (ปี 2540 มีการลงทุน 145,165 ล้านบาท) จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ข้อ
จำกัดในการลงทุนของภาครัฐโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ถดถอย จะทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขาด
ความต่อเนื่องและอาจหยุดชะงัก ส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน นอกจากนั้นกระแสโลกาภิวัตน์ที่การลงทุนและการทำธุรกิจมีความเป็นสากลมากขึ้นได้ส่งผลให้ประเทศ
ไทยดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน และสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ดังนั้น การเพิ่มบทบาทภาค
เอกชนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลภภายใต้กติกาและเงื่อนไขใหม่ โดย
รัฐจำเป็นต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ให้บริการมาเป็นผู้กำกับดูแลให้มากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ
และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน คือ ประชาชนจะได้รับบริการที่ทั่วถึง มีคุณภาพมากขึ้น และใน
ราคาที่เป็นธรรม ส่วนรัฐเสียทรัพยากรในการผลิตน้อยลง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีต้นทุนต่ำ
และสามารถนำทรัพยากรไปใช้ในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น บริการการศึกษา สาธารณสุข และการบรรเทาผล
กระทบต่อคนและสังคมในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะถดถอย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการเพิ่มบทบาทภาค
เอกชนในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการ แทนการใช้งบประมาณแผ่นดิน
และเงินกู้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการ และลดภาระการลงทุนและการก่อ
หนี้ต่างประเทศของรัฐบาล
นอกจากนี้ การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ผ่านมานั้นจะเป็นการดำเนิน
การในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการดำเนินการทั้งในรูปแบบการให้สัมปทาน (Concession) การร่วม
ลงทุน (Joint Venture) สัญญาจ้างบริหาร (Management Contract) และสัญญาเช่า (Leasing Contract)
สำหรับหน่วยงานราชการนั้น ที่ผ่านมามีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนไม่มากนัก โดยเป็นลักษณะของการให้สัมปทานเป็นส่วน
ใหญ่ ส่วนการใช้รูปแบบ Turn - Key นั้นไม่ถือเป็นการลดภาระของรัฐได้อย่างแท้จริง
ตัวอย่างโครงการที่หน่วยงานราชการให้สัมปทานแก่ภาคเอกชน
โครงการ หน่วยงาน ปี รูปแบบ
1. โครงการทางยกระดับดินแดง - ดอนเมือง (ดอนเมืองโทลเวย์) กรมทางหลวง 2532 สัมปทาน BOT 30 ปี
2. โครงการระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าธนายง) กรุงเทพมหานคร 2535 สัมปทาน BOT 30 ปี
3. โครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ดาวเทียมไทยคม) กระทรวงคมนาคม 2534 สัมปทาน BTO 30 ปี
4. โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์และดำเนินบริการส่งวิทยุโทรทัศน์ สำนักงานปลัดสำนัก 2538 สัมปทาน BTO 30 ปี
ระบบ UHF (ITV)* นายกรัฐมนตรี
5. บริการสื่อสารดาวเทียมโดยใช้สถานีภาคพื้นดินขนาดเล็ก (VSAT) กรมไปรษณีย์โทรเลข 2532 สัมปทาน BTO 15 ปี
6. ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต/สงขลา กรมธนารักษ์ ** เช่าบริการ
7. การประปาสัมปทานเอกชน กรมโยธาธิการ ** สัมปทาน BOO 5-25 ปี
หมายเหตุ : * เป็นโครงการที่ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ
พ.ศ. 2535
** ยังไม่มีข้อมูล
ในปัจจุบันการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการขนาดใหญ่ หรือกิจการของหน่วยงานราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่มีวงเงินลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยหากเป็นโครงการใหม่กระทรวง
เจ้าสังกัดของหน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องเสนอโครงการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ส่วนโครงการที่มีทรัพย์สินอยู่แล้วให้เสนอกระทรวงการคลังพิจารณา หาก สศช. หรือ
กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับโครงการ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอก-
ชนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของหน่วยราชการในระยะต่อ เพื่อให้ดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยราช-
การในระยะต่อไป เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ แนวทางดำเนินการและการบริหารจัดการในเรื่องดัง
กล่าวให้ชัดเจนและเป็นระบบ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ และในราคาที่ยุติธรรม
2) เพื่อแบ่งเบาภาระการลงทุนของภาครัฐ
3) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2. แนวทางการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการ
1) การกำหนดทิศทางการพัฒนาแต่ละสาขา เป็นการพิจารณาว่าการพัฒนา ในแต่ละสาขาจะมีทิศทาง
อย่างไร ภาครัฐควรมีบทบาทอย่างไร ซึ่งการกำหนดทิศทางดังกล่าวจะเป็นกรอบที่ใช้ในการปรับโครงสร้างการบริหาร
จัดการในแต่ละสาขา เช่น จะต้องมีการจัดตั้งกลไกกำกับดูแลอย่างไร และควรเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบใดจึงจะ
เหมาะสม2) การจัดลำดับความเร่งด่วนในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนแต่ละสาขา โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น
ความจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนและผลประโยชน์ต่อประชาชนและเศรษฐกิจโดย
รวม
3) การพิจารณาปรับปรุง/แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พิจารณาปรับปรุงระเบียบ/กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อให้การ
ดำเนินการมีความคล่องตัวมากขึ้น เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ
พ.ศ. 2535
- พิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเฉพาะสาขา
4) การพิจารณาจัดตั้งกลไกกำกับดูแลในสาขาต่าง ๆ
- เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐมีบทบาทเป็นทั้งผู้ให้บริการและผู้กำกับดูแล ดังนั้น หากภาครัฐจะปรับบท
บาทเป็นผู้กำกับดูแลให้มากขึ้น และเปิดให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนและให้บริการ ก็จำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุง/จัดตั้ง
กลไกกำกับดูแล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่ดี และได้รับความเป็นธรรม
- เนื่องจากการจัดตั้งกลไกกำกับดูแล จำเป็นต้องมีการแก้ไข/ปรับปรุง หรือบัญญัติกฎหมายใหม่ซึ่ง
ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ
5) การจัดตั้งกลไกกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ในหน่วยงานราชการ ในปัจจุบันการ
เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการยังไม่มีกลไกที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ โดยมีเพียงกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็น
ผู้กำหนดทิศทางการพัฒนารายสาขาและแผนการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนของหน่วยงานแต่ละแห่งภายใต้สังกัดของตนจึงอาจ
ขาดความเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาและนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในภาพรวม นอกจากนี้การดำเนินงานเพิ่ม
บทบาทภาคเอกชนในภาพรวม เป็นงานที่ต้องใช้เวลาและต้องการความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ดังนั้น จึงมีความจำ
เป็นที่จะต้องปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการด้านนี้ให้เป็นระบบ และมีเอกภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันการดำเนินงานเพิ่ม
บทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
6) การติดตามประเมินผลการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญในการติดตามประเมินผลการ
เพิ่มบทบาทภาคเอกชนอย่างจริงจัง โดย
- การวัดประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และราคา
- การประเมินผลกระทบต่อภาครัฐและระบบเศรษฐกิจ เช่น การลดภาระการลงทุนของรัฐทั้งใน
ด้านงบประมาณและเงินกู้ การลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การสร้างงาน และการเพิ่มการลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศ
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบ การจัดตั้งกลไกกำกับการดำเนินการ
เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานราชการตามแนวทางดังกล่าว โดยมอบหมายให้คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบาย
เศรษฐกิจเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับปลัดกระทรวงและมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นผู้ประสานงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 เมษายน 2541--