ทำเนียบรัฐบาล--5 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การประปานครหลวง (กปน.) ดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีอัตราการเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ.2549 โดยขยายกำลังการผลิตน้ำประปาเพิ่มขึ้นอีก 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมทั้งก่อสร้างระบบท่อส่ง-จ่ายน้ำประปา เพื่อขยายพื้นที่บริการเพิ่มขึ้นอีก 100 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาลอันดับ 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร จำนวน 60 ตารางกิโลเมตร และฝั่งตะวันตก จำนวน 40 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งก่อสร้างและปรับปรุงอุโมงค์ส่งน้ำเดิมทั้งสองฝั่งให้ครบวงจร เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในการผลิตและส่งจ่ายน้ำกรณีเกิดภาวะวิกฤตน้ำดิบจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. ขอบเขตของงาน แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วนและความเหมาะสมกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้
2.1 ระยะที่ 1 (พ.ศ.2543-2547) เป็นการลงทุนขยายกำลังผลิตและปรับปรุงอุโมงค์ส่งน้ำเดิม รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น จำนวน 6,647.5 ล้านบาท
2.2 ระยะที่ 2 (พ.ศ.2544-2548) เป็นการลงทุนปรับปรุงระบบส่งน้ำและจ่ายน้ำ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น จำนวน 20,054.6 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่าย โดยมีวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 26,702.1 ล้านบาท ประมาณราคาโดยใช้ฐานอัตราแลกเปลี่ยนที่ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายโครงการระยะที่ 1 และโครงการระยะที่ 2 ทั้งนี้ ได้ตั้งเงินสำรองโครงการเพื่อรองรับการผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไว้อีกร้อยละ 5 ของวงเงินลงทุนทั้งโครงการ
สำหรับแหล่งเงินทุน จำนวน 26,702.1 ล้านบาท ประกอบด้วย
- รายได้จาก กปน. จำนวน 6,719.8 ล้านบาท
- เงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 11,332.3 ล้านบาท
- เงินกู้เอกชนภายในประเทศ จำนวน 8,650.0 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 เมษายน 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การประปานครหลวง (กปน.) ดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีอัตราการเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ.2549 โดยขยายกำลังการผลิตน้ำประปาเพิ่มขึ้นอีก 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมทั้งก่อสร้างระบบท่อส่ง-จ่ายน้ำประปา เพื่อขยายพื้นที่บริการเพิ่มขึ้นอีก 100 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาลอันดับ 1 ทางด้านฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร จำนวน 60 ตารางกิโลเมตร และฝั่งตะวันตก จำนวน 40 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งก่อสร้างและปรับปรุงอุโมงค์ส่งน้ำเดิมทั้งสองฝั่งให้ครบวงจร เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในการผลิตและส่งจ่ายน้ำกรณีเกิดภาวะวิกฤตน้ำดิบจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. ขอบเขตของงาน แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วนและความเหมาะสมกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้
2.1 ระยะที่ 1 (พ.ศ.2543-2547) เป็นการลงทุนขยายกำลังผลิตและปรับปรุงอุโมงค์ส่งน้ำเดิม รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น จำนวน 6,647.5 ล้านบาท
2.2 ระยะที่ 2 (พ.ศ.2544-2548) เป็นการลงทุนปรับปรุงระบบส่งน้ำและจ่ายน้ำ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น จำนวน 20,054.6 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่าย โดยมีวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 26,702.1 ล้านบาท ประมาณราคาโดยใช้ฐานอัตราแลกเปลี่ยนที่ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายโครงการระยะที่ 1 และโครงการระยะที่ 2 ทั้งนี้ ได้ตั้งเงินสำรองโครงการเพื่อรองรับการผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไว้อีกร้อยละ 5 ของวงเงินลงทุนทั้งโครงการ
สำหรับแหล่งเงินทุน จำนวน 26,702.1 ล้านบาท ประกอบด้วย
- รายได้จาก กปน. จำนวน 6,719.8 ล้านบาท
- เงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 11,332.3 ล้านบาท
- เงินกู้เอกชนภายในประเทศ จำนวน 8,650.0 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 เมษายน 2542--