คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555 ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กสม. รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 15 (6) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีสาระสำคัญประกอบด้วย
1. บทนำ
2. รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2555
2.1 กรอบและเกณฑ์การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
2.2 การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2555 ประกอบด้วย 1) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 2) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม 3) สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 5) การคุ้มครองและช่วยเหลือกลุ่มที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ สิทธิเด็ก สิทธิสตรี สิทธิคนพิการ และ สิทธิของบุคคลหลากหลายทางเพศ 6) สิทธิด้านสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง 7) สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภายใต้
3. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2555 ประกอบด้วย 1. การตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 2. การเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย 3. การเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎ 4. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิมนุษยชนศึกษา 5. การศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน 6. การส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานเครือข่าย 7. การดำเนินงานสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8. การดำเนินงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และ 9. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 และ 2554
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557--