ทำเนียบรัฐบาล--11 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการปรับปรุงรายได้ของส่วนท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติ รวม 3 ฉบับ และร่างกฎกระทรวง รวม 8 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ พ.ศ. ....
2. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ พ.ศ. ....
4. ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
6. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
7. ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
8. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
9. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
10. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 และ
11. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติรายได้สุขาภิบาล พ.ศ. 2498
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว รวม 11 ฉบับ โดยร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 ข้อ 4 และข้อ 7 รวม 3 ฉบับ ได้เคยเสนอสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อนพิจารณาแล้ว แต่ต้องตกไปเนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
- เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 ข้อ 4 และข้อ 7 และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
- เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 และข้อ 9 และให้ดำเนินการต่อไปได้ เมื่อร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 ข้อ 4 และข้อ 7 มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
- เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 10 และข้อ 11 และให้ดำเนินการต่อไปได้- 7 -
ทั้งนี้ เพื่อให้ส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นตามนโยบายการกระจายอำนาจการคลังไปสู่ท้องถิ่น จึงเห็นควรดำเนินการมาตรการปรับปรุงรายได้ของส่วนท้องถิ่น ดังนี้
(1) ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3ในเวลา 2 ปี โดยให้ลดในปีแรกเหลือร้อยละ 4 และปีที่สองเหลือร้อยละ 3
(2) การจัดเก็บภาษียาสูบท้องถิ่น โดยจัดเก็บภาษีเสริมร้อยละ 10 บนฐานภาษียาสูบ เพื่อเป็นรายได้ให้แก่ท้องถิ่น
ร่างพระราชบัญญัติ และร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1
1.1) ให้ผู้มีหน้าที่ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบเสียค่าแสตมป์ยาสูบเพิ่มขึ้นร้อยละสิบของค่าแสตมป์ยาสูบ
1.2) ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบหักค่าใช้จ่ายการจัดเก็บค่าแสตมป์ยาสูบที่เก็บเพิ่มขึ้น โดยให้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินค่าแสตมป์ยาสูบที่เก็บเพิ่มขึ้น
1.3) ให้กรมสรรพสามิตจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบที่เก็บเพิ่มขึ้นให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นทุกแห่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
2) ร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 4 และข้อ 7
2.1) ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิตหักค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินภาษีที่เก็บเพิ่มขึ้นแล้วแต่กรณี
2.2) ให้กรมสรรพสามิตจัดสรรเงินภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่มขึ้นให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นทุกแห่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
3) ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 ข้อ 5 และข้อ 8
กำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บค่าแสตมป์ยาสูบ ภาษีสุรา และภาษีสรรพสามิต โดยกำหนดให้ภายในหนึ่งปีนับแต่ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ใช้บังคับ ให้หักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินค่าแสตมป์ยาสูบ ภาษีสุราและภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้วให้หักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินดังกล่าว
4) ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 9
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ ภาษีสุรา และภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่มขึ้นให้ราชการส่วนท้องถิ่น โดยให้จัดสรรตามอัตราส่วนแห่งยอดจำนวนราษฎรอยู่ในพื้นที่ต่อจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร และให้แบ่งจัดสรรปีละสามงวด
5) ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 10 และข้อ 11
ปรับลดการหักค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เรียกเก็บเพื่อเทศบาล หรือเพื่อสุขาภิบาล โดยกำหนดให้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับให้หักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราร้อยละสี่ของภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่เก็บเพิ่มขึ้น และเมื่อพ้นหนึ่งปีให้หักค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละสามของภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่เก็บเพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 11 มีนาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการปรับปรุงรายได้ของส่วนท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติ รวม 3 ฉบับ และร่างกฎกระทรวง รวม 8 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ พ.ศ. ....
2. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ พ.ศ. ....
4. ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
6. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
7. ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
8. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
9. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
10. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 และ
11. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติรายได้สุขาภิบาล พ.ศ. 2498
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว รวม 11 ฉบับ โดยร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 ข้อ 4 และข้อ 7 รวม 3 ฉบับ ได้เคยเสนอสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อนพิจารณาแล้ว แต่ต้องตกไปเนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
- เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 ข้อ 4 และข้อ 7 และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
- เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 และข้อ 9 และให้ดำเนินการต่อไปได้ เมื่อร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1 ข้อ 4 และข้อ 7 มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
- เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 10 และข้อ 11 และให้ดำเนินการต่อไปได้- 7 -
ทั้งนี้ เพื่อให้ส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นตามนโยบายการกระจายอำนาจการคลังไปสู่ท้องถิ่น จึงเห็นควรดำเนินการมาตรการปรับปรุงรายได้ของส่วนท้องถิ่น ดังนี้
(1) ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3ในเวลา 2 ปี โดยให้ลดในปีแรกเหลือร้อยละ 4 และปีที่สองเหลือร้อยละ 3
(2) การจัดเก็บภาษียาสูบท้องถิ่น โดยจัดเก็บภาษีเสริมร้อยละ 10 บนฐานภาษียาสูบ เพื่อเป็นรายได้ให้แก่ท้องถิ่น
ร่างพระราชบัญญัติ และร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 1
1.1) ให้ผู้มีหน้าที่ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบเสียค่าแสตมป์ยาสูบเพิ่มขึ้นร้อยละสิบของค่าแสตมป์ยาสูบ
1.2) ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบหักค่าใช้จ่ายการจัดเก็บค่าแสตมป์ยาสูบที่เก็บเพิ่มขึ้น โดยให้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินค่าแสตมป์ยาสูบที่เก็บเพิ่มขึ้น
1.3) ให้กรมสรรพสามิตจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบที่เก็บเพิ่มขึ้นให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นทุกแห่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
2) ร่างพระราชบัญญัติตามข้อ 4 และข้อ 7
2.1) ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิตหักค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของเงินภาษีที่เก็บเพิ่มขึ้นแล้วแต่กรณี
2.2) ให้กรมสรรพสามิตจัดสรรเงินภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่มขึ้นให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นทุกแห่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
3) ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 ข้อ 5 และข้อ 8
กำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บค่าแสตมป์ยาสูบ ภาษีสุรา และภาษีสรรพสามิต โดยกำหนดให้ภายในหนึ่งปีนับแต่ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ใช้บังคับ ให้หักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินค่าแสตมป์ยาสูบ ภาษีสุราและภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้วให้หักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินดังกล่าว
4) ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 9
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินค่าแสตมป์ยาสูบ ภาษีสุรา และภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่มขึ้นให้ราชการส่วนท้องถิ่น โดยให้จัดสรรตามอัตราส่วนแห่งยอดจำนวนราษฎรอยู่ในพื้นที่ต่อจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร และให้แบ่งจัดสรรปีละสามงวด
5) ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 10 และข้อ 11
ปรับลดการหักค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เรียกเก็บเพื่อเทศบาล หรือเพื่อสุขาภิบาล โดยกำหนดให้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับให้หักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราร้อยละสี่ของภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่เก็บเพิ่มขึ้น และเมื่อพ้นหนึ่งปีให้หักค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละสามของภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่เก็บเพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 11 มีนาคม 2540--