ทำเนียบรัฐบาล--6 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งเป็นการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 เมษายน 2538 และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 มีนาคม 2540 เกี่ยวกับเงื่อนไขการดำเนินการของบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิต เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตสามารถโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นก่อนครบกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ตามที่ร้องขอมาได้
2. อนุมัติให้บริษัทประกันภัยที่ร้องขอสามารถมีความสัมพันธ์ในเชิงการถือหุ้นกรรมการและการบริหารกับบริษัทประกันภัยที่มีอยู่เดิม
เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ในระหว่างการจัดตั้งบริษัทเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยนั้นได้เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดการเงิน จนทำให้รัฐต้องเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินจำนวน 56 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ต้องเพิ่มทุนจำนวนมาก ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดปัญหากับบริษัทประกันภัยเปิดใหม่อย่างรุนแรง กล่าวคือ
1.1 มีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตบางรายถือหุ้นในบริษัทประกันภัยเปิดใหม่ โดยถือหุ้นเกินร้อยละ 3 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งจะทำให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ไม่อาจนำหุ้นดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้ และทำให้ขาดความคล่องตัวในการขายหุ้นบริษัทประกันภัย เนื่องจากไม่สามารถขายหุ้นให้แก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์ในธุรกิจประกันภัยมาก่อนได้ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเกิดการควบรวมกิจการเพื่อให้เกิดความมั่นคงตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย
1.2 ทำให้ผู้ถือหุ้นบางส่วนที่ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจทางอื่นที่ประสงค์จะถอนตัวออกไม่อาจทำได้ เพราะมีข้อห้ามจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทำให้เกิดอุปสรรคต่อบริษัทประกันภัยใหม่ในการแก้ไขปัญหาการปรับองค์กรและผู้ถือหุ้น
2. มีบริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร้องขอต่อกระทรวงพาณิชย์ให้พิจารณาผ่อนผันขอโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นก่อนกำหนดระยะเวลา 3 ปี ดังนี้
2.1 องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ร้องขอให้สามารถโอนหุ้นของบริษัทประกันภัยเปิดใหม่ 3 รายที่เป็นเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่รอการจำหน่ายอยู่แต่ไม่อาจจำหน่ายได้ ประกอบด้วย
1) หุ้นของบริษัท ศรีนครประกันชีวิต จำกัด จำนวนร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียน
2) หุ้นของบริษัท วอลล์สตรีทประกันชีวิต จำกัด จำนวนร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน
3) หุ้นของบริษัท ธนวัฒน์ประกันภัย จำกัด จำนวนร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน
2.2 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ประกันชีวิต จำกัด ร้องขอโอนหุ้นจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด แก่บริษัท AMERICAN LIFE INSURANCE แห่งสหรัฐอเมริกา
2.3 บริษัท โอสถสภาประกันชีวิต จำกัด ร้องขอโอนหุ้นจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดแก่บริษัท AETNAINTERNATIONAL INC. แห่งสหรัฐอเมริกา
2.4 บริษัท ธนชาติประกันชีวิต จำกัด ร้องขอให้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้น 2 ราย ของบริษัท โอนหุ้นรวมกันจำนวนร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดแก่บริษัทเงินทุนธนชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เพื่อเป็นการชำระหนี้ 1 ราย และเพื่อการรวมกิจการกันอีก 1 ราย
2.5 บริษัท ธนชาติประกันภัย จำกัด ร้องขอให้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้น 2 ราย ของบริษัทโอนหุ้นรวมกันจำนวนร้อยละ 20ของจำนวนหุ้นทั้งหมดแก่บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน)
2.6 บริษัท ธนวัฒน์ประกันภัย จำกัด ร้องขอให้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทโอนหุ้นจำนวนร้อยละ 5 ของหุ้นทั้งหมดแก่ผู้ร่วมทุนรายใหม่ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องและเพิ่มช่องทางการตลาดแก่บริษัท และขอโอนหุ้นอีกจำนวนร้อยละ 5 ของหุ้นทั้งหมดแก่ผู้ก่อการจัดตั้งบริษัท 2 ราย เพื่อสร้างเอกภาพในการบริหารงานภายในบริษัท
3. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของบริษัทประกันภัยในภาวะที่เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจของไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ตุลาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งเป็นการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 เมษายน 2538 และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 มีนาคม 2540 เกี่ยวกับเงื่อนไขการดำเนินการของบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิต เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตสามารถโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นก่อนครบกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ตามที่ร้องขอมาได้
2. อนุมัติให้บริษัทประกันภัยที่ร้องขอสามารถมีความสัมพันธ์ในเชิงการถือหุ้นกรรมการและการบริหารกับบริษัทประกันภัยที่มีอยู่เดิม
เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า
1. ในระหว่างการจัดตั้งบริษัทเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยนั้นได้เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดการเงิน จนทำให้รัฐต้องเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินจำนวน 56 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ต้องเพิ่มทุนจำนวนมาก ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดปัญหากับบริษัทประกันภัยเปิดใหม่อย่างรุนแรง กล่าวคือ
1.1 มีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตบางรายถือหุ้นในบริษัทประกันภัยเปิดใหม่ โดยถือหุ้นเกินร้อยละ 3 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งจะทำให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ไม่อาจนำหุ้นดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้ และทำให้ขาดความคล่องตัวในการขายหุ้นบริษัทประกันภัย เนื่องจากไม่สามารถขายหุ้นให้แก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์ในธุรกิจประกันภัยมาก่อนได้ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเกิดการควบรวมกิจการเพื่อให้เกิดความมั่นคงตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย
1.2 ทำให้ผู้ถือหุ้นบางส่วนที่ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจทางอื่นที่ประสงค์จะถอนตัวออกไม่อาจทำได้ เพราะมีข้อห้ามจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทำให้เกิดอุปสรรคต่อบริษัทประกันภัยใหม่ในการแก้ไขปัญหาการปรับองค์กรและผู้ถือหุ้น
2. มีบริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร้องขอต่อกระทรวงพาณิชย์ให้พิจารณาผ่อนผันขอโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นก่อนกำหนดระยะเวลา 3 ปี ดังนี้
2.1 องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ร้องขอให้สามารถโอนหุ้นของบริษัทประกันภัยเปิดใหม่ 3 รายที่เป็นเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่รอการจำหน่ายอยู่แต่ไม่อาจจำหน่ายได้ ประกอบด้วย
1) หุ้นของบริษัท ศรีนครประกันชีวิต จำกัด จำนวนร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียน
2) หุ้นของบริษัท วอลล์สตรีทประกันชีวิต จำกัด จำนวนร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน
3) หุ้นของบริษัท ธนวัฒน์ประกันภัย จำกัด จำนวนร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน
2.2 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ประกันชีวิต จำกัด ร้องขอโอนหุ้นจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด แก่บริษัท AMERICAN LIFE INSURANCE แห่งสหรัฐอเมริกา
2.3 บริษัท โอสถสภาประกันชีวิต จำกัด ร้องขอโอนหุ้นจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดแก่บริษัท AETNAINTERNATIONAL INC. แห่งสหรัฐอเมริกา
2.4 บริษัท ธนชาติประกันชีวิต จำกัด ร้องขอให้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้น 2 ราย ของบริษัท โอนหุ้นรวมกันจำนวนร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดแก่บริษัทเงินทุนธนชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เพื่อเป็นการชำระหนี้ 1 ราย และเพื่อการรวมกิจการกันอีก 1 ราย
2.5 บริษัท ธนชาติประกันภัย จำกัด ร้องขอให้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้น 2 ราย ของบริษัทโอนหุ้นรวมกันจำนวนร้อยละ 20ของจำนวนหุ้นทั้งหมดแก่บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน)
2.6 บริษัท ธนวัฒน์ประกันภัย จำกัด ร้องขอให้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทโอนหุ้นจำนวนร้อยละ 5 ของหุ้นทั้งหมดแก่ผู้ร่วมทุนรายใหม่ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องและเพิ่มช่องทางการตลาดแก่บริษัท และขอโอนหุ้นอีกจำนวนร้อยละ 5 ของหุ้นทั้งหมดแก่ผู้ก่อการจัดตั้งบริษัท 2 ราย เพื่อสร้างเอกภาพในการบริหารงานภายในบริษัท
3. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของบริษัทประกันภัยในภาวะที่เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจของไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ตุลาคม 2541--