ทำเนียบรัฐบาล--15 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ประจำงวดที่ 1 ปีงบประมาณ 2542 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ.2528 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 เงินทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจำนวน 246ราย จำนวนเงินที่อนุมัติ 7,038,000 บาท ยอดเงินทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 31 มกราคม 2542 รวมจำนวนทั้งสิ้น 21,624,630.08บาท (ฝากไว้กับ ธ.ก.ส. จำนวน 10,281,871.04 บาท และฝากไว้กับกระทรวงการคลัง จำนวน 11,342,759.04 บาท)
2. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน พ.ศ. 2533 ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2533 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 กองทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรที่ยากจนกู้ยืม จำนวน 694 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 83,801,135 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืน 12,791-0-59 4/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 31 มกราคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 41,181,433.20 บาท
3. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 กองทุนหมุนเวียนฯอนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจำนวน 5,328 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 849,236,418.62 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืน 70,494-2-16 3/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 31 มกราคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 836,985,005.55 บาท
4. ผลการชำระหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541
4.1 เงินทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2528 มียอดเงินครบกำหนดชำระ จำนวน 1,696,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 837,000บาท ค้างชำระจำนวน 859,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 49.35
4.2 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2533 มียอดเงินครบกำหนดชำระ จำนวน 16,399,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 2,180,000 บาท ค้างชำระจำนวน 14,219,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 13.29
4.3 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2536 มียอดเงินครบกำหนดชำระ จำนวน 93,825,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 13,331,000 บาท ค้างชำระจำนวน 80,494,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 14.20
5. ปัญหาและอุปสรรค
5.1 เกษตรกรและผู้ยากจนบางพื้นที่ยังไม่ทราบว่าสำนักนายกรัฐมนตรีมีกองทุนหมุนเวียนฯ ที่จะให้กู้ยืมเพื่อนำไปปลดเปลื้องหนี้สินและไถ่ถอนที่ดินคืนดังกล่าว
5.2 เกษตรกรและผู้ยากจนที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุนหมุนเวียนฯ แล้ว ไม่สามารถจะชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้เพราะมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ สาเหตุเนื่องจาก
1) เกษตรกรประสบปัญหาจากภัยธรรมชาติ ต้นทุนการผลิตสูงและขาดแรงงาน
2) ในช่วงปี 2540 - ปัจจุบันได้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นบุตรหลานของเกษตรกรและผู้ยากจนและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดถูกเลิกจ้างงานเป็นจำนวนมากทำให้ไม่มีรายได้ส่งไปช่วยเหลือบิดามารดาที่อยู่ต่างจังหวัด
3) เกษตรกรและผู้ยากจนบางรายเป็นผู้อยู่ในฐานะที่พอจะชำระหนี้ได้แต่ไม่ยอมชำระหนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นหนี้ของทางราชการไม่ต้องใช้ก็ได้และเป็นเหตุให้ผู้ที่เคยชำระตามกำหนดไม่ยอมชำระหนี้ตามไปด้วย
4) เกษตรกรและผู้ยากจน นอกจากเป็นหนี้อยู่กับกองทุนหมุนเวียนฯ แล้วยังมีหนี้อยู่กับบุคคลภายนอกด้วยทำให้ต้องชำระหนี้หลายทาง
6. แนวทางแก้ไข
6.1 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้รับทราบว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีกองทุนหมุนเวียนฯ ที่จะช่วยเหลือเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินและไถ่ถอนที่ดินคืน โดยร่วมกับคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน (คชช.) กระทรวงมหาดไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดทำสปอตวิทยุเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ของกรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุอื่น ๆ ทั่วประเทศ ให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง 6.2 ดำเนินการเร่งการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนในด้านการประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้สูงขึ้น โดยแจ้งให้คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.) ทุกจังหวัดและทุกอำเภอ ตลอดจนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์-การเกษตรทุกสาขา ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนด้านการประกอบอาชีพตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528 ซึ่งมีเกษตรกรและผู้ยากจนได้แสดงความประสงค์ขอกู้เงินทุนฯ ดังกล่าวค่อนข้างมาก ไม่เพียงพอกับงบประมาณเงินทุนหมุนเวียนฯ ที่เหลืออยู่เพียง 21 ล้านบาท จึงได้ตั้งของบประมาณเพิ่มเติมในปี 2543 อีก 600 ล้านบาท หากได้รับงบประมาณเพิ่มเติมก็คงจะช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนโดยทั่วไป รวมทั้งลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียนฯ ในด้านการประกอบอาชีพให้มีรายได้สูงขึ้น จนสามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ประจำงวดที่ 1 ปีงบประมาณ 2542 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ.2528 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 เงินทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจำนวน 246ราย จำนวนเงินที่อนุมัติ 7,038,000 บาท ยอดเงินทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 31 มกราคม 2542 รวมจำนวนทั้งสิ้น 21,624,630.08บาท (ฝากไว้กับ ธ.ก.ส. จำนวน 10,281,871.04 บาท และฝากไว้กับกระทรวงการคลัง จำนวน 11,342,759.04 บาท)
2. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน พ.ศ. 2533 ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2533 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 กองทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรที่ยากจนกู้ยืม จำนวน 694 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 83,801,135 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืน 12,791-0-59 4/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 31 มกราคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 41,181,433.20 บาท
3. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 กองทุนหมุนเวียนฯอนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจำนวน 5,328 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 849,236,418.62 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืน 70,494-2-16 3/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 31 มกราคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 836,985,005.55 บาท
4. ผลการชำระหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541
4.1 เงินทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2528 มียอดเงินครบกำหนดชำระ จำนวน 1,696,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 837,000บาท ค้างชำระจำนวน 859,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 49.35
4.2 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2533 มียอดเงินครบกำหนดชำระ จำนวน 16,399,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 2,180,000 บาท ค้างชำระจำนวน 14,219,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 13.29
4.3 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2536 มียอดเงินครบกำหนดชำระ จำนวน 93,825,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 13,331,000 บาท ค้างชำระจำนวน 80,494,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 14.20
5. ปัญหาและอุปสรรค
5.1 เกษตรกรและผู้ยากจนบางพื้นที่ยังไม่ทราบว่าสำนักนายกรัฐมนตรีมีกองทุนหมุนเวียนฯ ที่จะให้กู้ยืมเพื่อนำไปปลดเปลื้องหนี้สินและไถ่ถอนที่ดินคืนดังกล่าว
5.2 เกษตรกรและผู้ยากจนที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุนหมุนเวียนฯ แล้ว ไม่สามารถจะชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้เพราะมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ สาเหตุเนื่องจาก
1) เกษตรกรประสบปัญหาจากภัยธรรมชาติ ต้นทุนการผลิตสูงและขาดแรงงาน
2) ในช่วงปี 2540 - ปัจจุบันได้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นบุตรหลานของเกษตรกรและผู้ยากจนและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดถูกเลิกจ้างงานเป็นจำนวนมากทำให้ไม่มีรายได้ส่งไปช่วยเหลือบิดามารดาที่อยู่ต่างจังหวัด
3) เกษตรกรและผู้ยากจนบางรายเป็นผู้อยู่ในฐานะที่พอจะชำระหนี้ได้แต่ไม่ยอมชำระหนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นหนี้ของทางราชการไม่ต้องใช้ก็ได้และเป็นเหตุให้ผู้ที่เคยชำระตามกำหนดไม่ยอมชำระหนี้ตามไปด้วย
4) เกษตรกรและผู้ยากจน นอกจากเป็นหนี้อยู่กับกองทุนหมุนเวียนฯ แล้วยังมีหนี้อยู่กับบุคคลภายนอกด้วยทำให้ต้องชำระหนี้หลายทาง
6. แนวทางแก้ไข
6.1 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้รับทราบว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีกองทุนหมุนเวียนฯ ที่จะช่วยเหลือเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินและไถ่ถอนที่ดินคืน โดยร่วมกับคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน (คชช.) กระทรวงมหาดไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดทำสปอตวิทยุเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ของกรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุอื่น ๆ ทั่วประเทศ ให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง 6.2 ดำเนินการเร่งการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนในด้านการประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้สูงขึ้น โดยแจ้งให้คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.) ทุกจังหวัดและทุกอำเภอ ตลอดจนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์-การเกษตรทุกสาขา ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนด้านการประกอบอาชีพตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528 ซึ่งมีเกษตรกรและผู้ยากจนได้แสดงความประสงค์ขอกู้เงินทุนฯ ดังกล่าวค่อนข้างมาก ไม่เพียงพอกับงบประมาณเงินทุนหมุนเวียนฯ ที่เหลืออยู่เพียง 21 ล้านบาท จึงได้ตั้งของบประมาณเพิ่มเติมในปี 2543 อีก 600 ล้านบาท หากได้รับงบประมาณเพิ่มเติมก็คงจะช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนโดยทั่วไป รวมทั้งลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียนฯ ในด้านการประกอบอาชีพให้มีรายได้สูงขึ้น จนสามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2542--