แท็ก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
กฤษฎีกา
ทำเนียบรัฐบาล--12 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ที่ค้างการพิจารณาของวุฒิสภา และตกไปเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยสรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ที่สภาผู้แทนราษฎรสมัยที่แล้วเห็นชอบแล้วดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ มี 143 มาตรา ซึ่งคงหลักการเดิมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานไว้เป็นส่วนใหญ่ (เว้นแต่เรื่องเงินทดแทนและกองทุนเงินทดแทนซึ่งได้ตราเป็น พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็นการเฉพาะแล้ว)
2. ส่วนที่แก้ไขปรับปรุงตามหลักการที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว คือ
ก. หลักการที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง
1) เวลาทำงานปกติ แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากการกำหนดเวลาทำงานตามประเภทของงาน (งานอุตสาหกรรมไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อสัปดาห์ งานพาณิชยกรรมไม่เกินห้าสิบสี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์) เป็นกำหนดเวลาทำงานทุกประเภทงานไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อสัปดาห์
2) การลาป่วย แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากการให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยปีละไม่เกิน 30 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง เป็นให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน
3) การใช้แรงงานเด็ก แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากอายุขั้นต่ำเด็กที่ทำงานได้ 13 ปีบริบูรณ์ เป็น 15 ปีบริบูรณ์ เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี วันละไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อให้ทำงานไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกันต้องจัดเวลาพักให้ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
4) เพิ่มค่าชดเชยอีก 2 อัตรา คือ ลูกจ้างอายุงานครบ 6 ปีขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน ถ้าอายุงานครบ 10 ปีขึ้นไป จ่าย 300 วัน
5) อัตราโทษ แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากที่มีโทษอัตราเดียว คือ โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นโทษหลายอัตราตามความหนักเบาของความผิด โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โทษต่ำสุดปรับไม่เกินห้าพันบาท
6) การบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากเจ้าหน้าที่อาจให้คำเตือนแก่นายจ้างเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็น
ในคดีแพ่ง ถ้านายจ้างค้างจ่ายบรรดาเงินตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 2 ปี และเจ้าหน้าที่ต้องออกคำสั่งภายในหกสิบวัน กรณีไม่พอใจคำสั่งให้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ แต่ถ้าลูกจ้างประสงค์ฟ้องคดีต่อศาลแทนการยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ให้ยื่นฟ้องภายใน 2 ปีเช่นกัน
ในคดีอาญา กรณีนายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว ถ้านายจ้างไม่ยอมปฏิบัติก็ดำเนินคดีอาญาโดยการเปรียบเทียบปรับหรือส่งพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับแก้ไขจากคณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เป็น อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัด
ข. หลักการที่เพิ่มใหม่
1) เงินประกัน ห้ามเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างที่ทำงานตามลักษณะหรือสภาพเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด และเมื่อการจ้างสิ้นสุดลงต้องคืนเงินประกันภายในเจ็ดวัน
2) บุริมสิทธิ กำหนดให้หนี้เงินตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เป็นหนี้บุริมสิทธิในลำดับเดียวกับค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3) การรับเหมาค่าแรง ถ้าผู้ประกอบกิจการว่าจ้างโดยวิธีให้รับเหมาค่าแรง ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างด้วย
4) การเปลี่ยนตัวนายจ้าง ในกรณีมีนายจ้างใหม่ดำเนินกิจการแทนนายจ้างเดิม ให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่นายจ้างเดิมมีต่อลูกจ้างนั้นทุกประการ
5) การบอกกล่าวล่วงหน้า การจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้นายจ้างแจ้งการเลิกจ้างหรือลูกจ้างแจ้งการลาออกล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง
6) การคุ้มครองแรงงานบางประเภทเป็นพิเศษเพราะมีสภาพการจ้าง การทำงานแตกต่างออกไปเช่น ประมงทะเล บรรทุกขนถ่ายสินค้าหรือเดินทะเลโดยให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฏกระทรวงกำหนดการคุ้มครอง
7) การลาเพื่อทำหมัน ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการทำหมันได้ตามกำหนดระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
8) การลากิจ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจไม่เกินสามวันทำงานต่อปี
9) การเลิกจ้างลูกจ้างหญิง ห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์
10) การหยุดกิจการชั่วคราวที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง และต้องแจ้งกำหนดวันหยุดกิจการให้ลูกจ้างและเจ้าหน้าที่ทราบด้วย
11) การหักค่าจ้าง ให้นายจ้างหักค่าจ้างได้เฉพาะเพื่อชำระภาษีเงินได้ ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน หนี้สวัสดิการ เงินประกันหรือชดใช้ค่าเสียหาย เงินสะสม โดยจะหักแต่ละกรณีไม่เกินร้อยละสิบและรวมทุกกรณีแล้วจะต้องไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
12) สวัสดิการแรงงาน เช่น ให้นายจ้างจัดที่พักชั่วคราวเพื่อรอเดินทางกลับ หรือรอเข้าทำงานสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเป็นกะหรือทำงานกลางคืนจัดที่นั่งทำงาน ถ้ามีการจัดบริการรับเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง จะต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไปให้จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานขึ้น โดยมีฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละเท่ากัน ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ฯลฯ
13) ความปลอดภัยในการทำงาน ให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานขึ้นในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นคณะกรรมการไตรภาคีจำนวนไม่เกินสิบเก้าคน โดยรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจำนวนเท่ากัน มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นในการออกกฏกระทรวงหรือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน
14) การควบคุมดูแลความปลอดภัยในการทำงาน ถ้าสภาพแวดล้อมในการทำงานและเครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างแก้ไขปรับปรุงหรือสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานได้ และให้นายจ้างจ่ายเงินขณะลูกจ้างหยุดงาน เพื่อการดำรงชีพด้วย
15) การพักงานเพื่อสอบสวนลูกจ้าง จะต้องระบุความผิดและกำหนดเวลาพักงานในกรณีพักงานเกินสิบห้าวัน ให้จ่ายเงินไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตั้งแต่วันที่สิบหกเป็นต้นไป หากสอบสวนแล้วลูกจ้างไม่ผิด ให้จ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนตั้งแต่วันสั่งพักงานเป็นต้นไป
16) กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กองทุนประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างหรือทายาทของลูกจ้างไม่มารับภายในห้าปี ค่าปรับจากการเปรียบเทียบ เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ เงินรายได้อื่นและดอกผลการบริหารกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เงินกองทุนให้จ่ายแก่ลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยในกรณีนายจ้างตาย ล้มละลาย หรือหลบหนี และให้นายจ้างจ่ายคืนแก่กองทุนในภายหลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 12 ธันวาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ที่ค้างการพิจารณาของวุฒิสภา และตกไปเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยสรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ที่สภาผู้แทนราษฎรสมัยที่แล้วเห็นชอบแล้วดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ มี 143 มาตรา ซึ่งคงหลักการเดิมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานไว้เป็นส่วนใหญ่ (เว้นแต่เรื่องเงินทดแทนและกองทุนเงินทดแทนซึ่งได้ตราเป็น พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็นการเฉพาะแล้ว)
2. ส่วนที่แก้ไขปรับปรุงตามหลักการที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว คือ
ก. หลักการที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง
1) เวลาทำงานปกติ แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากการกำหนดเวลาทำงานตามประเภทของงาน (งานอุตสาหกรรมไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อสัปดาห์ งานพาณิชยกรรมไม่เกินห้าสิบสี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์) เป็นกำหนดเวลาทำงานทุกประเภทงานไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อสัปดาห์
2) การลาป่วย แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากการให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยปีละไม่เกิน 30 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง เป็นให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน
3) การใช้แรงงานเด็ก แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากอายุขั้นต่ำเด็กที่ทำงานได้ 13 ปีบริบูรณ์ เป็น 15 ปีบริบูรณ์ เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี วันละไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อให้ทำงานไม่เกินสี่ชั่วโมงติดต่อกันต้องจัดเวลาพักให้ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
4) เพิ่มค่าชดเชยอีก 2 อัตรา คือ ลูกจ้างอายุงานครบ 6 ปีขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน ถ้าอายุงานครบ 10 ปีขึ้นไป จ่าย 300 วัน
5) อัตราโทษ แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากที่มีโทษอัตราเดียว คือ โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นโทษหลายอัตราตามความหนักเบาของความผิด โทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โทษต่ำสุดปรับไม่เกินห้าพันบาท
6) การบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากเจ้าหน้าที่อาจให้คำเตือนแก่นายจ้างเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็น
ในคดีแพ่ง ถ้านายจ้างค้างจ่ายบรรดาเงินตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 2 ปี และเจ้าหน้าที่ต้องออกคำสั่งภายในหกสิบวัน กรณีไม่พอใจคำสั่งให้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ แต่ถ้าลูกจ้างประสงค์ฟ้องคดีต่อศาลแทนการยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ให้ยื่นฟ้องภายใน 2 ปีเช่นกัน
ในคดีอาญา กรณีนายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว ถ้านายจ้างไม่ยอมปฏิบัติก็ดำเนินคดีอาญาโดยการเปรียบเทียบปรับหรือส่งพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับแก้ไขจากคณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เป็น อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัด
ข. หลักการที่เพิ่มใหม่
1) เงินประกัน ห้ามเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างที่ทำงานตามลักษณะหรือสภาพเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด และเมื่อการจ้างสิ้นสุดลงต้องคืนเงินประกันภายในเจ็ดวัน
2) บุริมสิทธิ กำหนดให้หนี้เงินตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เป็นหนี้บุริมสิทธิในลำดับเดียวกับค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3) การรับเหมาค่าแรง ถ้าผู้ประกอบกิจการว่าจ้างโดยวิธีให้รับเหมาค่าแรง ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างด้วย
4) การเปลี่ยนตัวนายจ้าง ในกรณีมีนายจ้างใหม่ดำเนินกิจการแทนนายจ้างเดิม ให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่นายจ้างเดิมมีต่อลูกจ้างนั้นทุกประการ
5) การบอกกล่าวล่วงหน้า การจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้นายจ้างแจ้งการเลิกจ้างหรือลูกจ้างแจ้งการลาออกล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง
6) การคุ้มครองแรงงานบางประเภทเป็นพิเศษเพราะมีสภาพการจ้าง การทำงานแตกต่างออกไปเช่น ประมงทะเล บรรทุกขนถ่ายสินค้าหรือเดินทะเลโดยให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฏกระทรวงกำหนดการคุ้มครอง
7) การลาเพื่อทำหมัน ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการทำหมันได้ตามกำหนดระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
8) การลากิจ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจไม่เกินสามวันทำงานต่อปี
9) การเลิกจ้างลูกจ้างหญิง ห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์
10) การหยุดกิจการชั่วคราวที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง และต้องแจ้งกำหนดวันหยุดกิจการให้ลูกจ้างและเจ้าหน้าที่ทราบด้วย
11) การหักค่าจ้าง ให้นายจ้างหักค่าจ้างได้เฉพาะเพื่อชำระภาษีเงินได้ ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน หนี้สวัสดิการ เงินประกันหรือชดใช้ค่าเสียหาย เงินสะสม โดยจะหักแต่ละกรณีไม่เกินร้อยละสิบและรวมทุกกรณีแล้วจะต้องไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
12) สวัสดิการแรงงาน เช่น ให้นายจ้างจัดที่พักชั่วคราวเพื่อรอเดินทางกลับ หรือรอเข้าทำงานสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเป็นกะหรือทำงานกลางคืนจัดที่นั่งทำงาน ถ้ามีการจัดบริการรับเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง จะต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไปให้จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานขึ้น โดยมีฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละเท่ากัน ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ฯลฯ
13) ความปลอดภัยในการทำงาน ให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานขึ้นในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นคณะกรรมการไตรภาคีจำนวนไม่เกินสิบเก้าคน โดยรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจำนวนเท่ากัน มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นในการออกกฏกระทรวงหรือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน
14) การควบคุมดูแลความปลอดภัยในการทำงาน ถ้าสภาพแวดล้อมในการทำงานและเครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างแก้ไขปรับปรุงหรือสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานได้ และให้นายจ้างจ่ายเงินขณะลูกจ้างหยุดงาน เพื่อการดำรงชีพด้วย
15) การพักงานเพื่อสอบสวนลูกจ้าง จะต้องระบุความผิดและกำหนดเวลาพักงานในกรณีพักงานเกินสิบห้าวัน ให้จ่ายเงินไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตั้งแต่วันที่สิบหกเป็นต้นไป หากสอบสวนแล้วลูกจ้างไม่ผิด ให้จ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนตั้งแต่วันสั่งพักงานเป็นต้นไป
16) กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กองทุนประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างหรือทายาทของลูกจ้างไม่มารับภายในห้าปี ค่าปรับจากการเปรียบเทียบ เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ เงินรายได้อื่นและดอกผลการบริหารกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เงินกองทุนให้จ่ายแก่ลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยในกรณีนายจ้างตาย ล้มละลาย หรือหลบหนี และให้นายจ้างจ่ายคืนแก่กองทุนในภายหลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 12 ธันวาคม 2539--