ทำเนียบรัฐบาล--9 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่า-สงวนแห่งชาติคงใหญ่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่อยู่ในเขตกิ่งอำเภอโนนดินแดงและอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ และเขตอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นน้ำของแม่น้ำมูล
2. พื้นที่ที่ราษฎรบุกรุกและยึดถือครอบครองอยู่ในกิ่งอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์บริเวณหนองใหญ่สวายสอ (จุดแรกที่ราษฎรบุกรุก และมีปัญหามากที่สุด) บริเวณถลุงมาศและตลาดควาย (2 จุดนี้ราชการได้ผลักดันราษฎรออกไปแล้ว) บริเวณหนองตูมเห็ดและบริเวณร้อยรู รวมเนื้อที่ป่าที่ถูกบุกรุกทั้งสิ้นประมาณ 11,200 ไร่
3. จากการขยายตัวในการบุกรุกป่าเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลานั้น ทางราชการได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนทรัพย์สินออกจากพื้นที่ตามกำหนดเวลา ตั้งจุดตรวจทุกเส้นทางเข้าออก ชี้แจงประชาสัมพันธ์เพื่อให้ราษฎรเหล่านั้นได้ทราบถึงความสำคัญของป่าดงใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นป่าผืนเดียวของจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ราษฎรผู้บุกรุกบริเวณหนองใหญ่สวายสอยังไม่ยุติแผ้วถางป่า กลับใช้วิธีรุนแรงตอบโต้ข่มขู่เจ้าหน้าที่ แย่งชิงตัวผู้ต้องหา ทำร้ายเจ้าหน้าที่ทำลายด่านตรวจ เผาที่พักจุดตรวจ และจากการสือทราบของเจ้าหน้าที่ปรากฎว่า ราษฎรกลุ่มดังกล่าวนี้ประกอบอาชีพตัดไม้ขาย ล่าสัตว์ป่าและค้าที่ดิน
4. จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมด้วยกองกำลังสุรนารี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมพิจารณาได้ข้อยุติว่า ปัญหาการบุกรุกบริเวณดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น สมควรที่จะแก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษ จึงได้เสนอแผนผลักดันราษฎร และแนวทางแก้ไขให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ นำเรียนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา และได้โปรดมีบัญชาให้ดำเนินการตามกฎหมาย
5. คณะอำนวยการป้องกันการบุกรุกป่าดงใหญ่ กำหนดขั้นตอนการดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
5.1 ประชาสัมพันธ์ สร้างมวลชนแนวร่วมสนับสนุน หาข่าว สืบสภาพแยกสลายมวลชน
5.2 ดำเนินคดีตามกฎหมายและทำการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่บุกรุก มีแผนช่วยเหลือราษฎรที่อพยพออก กำหนดวิธีจับกุมเฉพาะแกนนำ เพื่อมิให้เกิดมวลชนต่อต้านหรือสร้างสถานการณ์รุนแรง เริ่มดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2537
5.3 จัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจน เครื่องกีดขวาง-ปิดเส้นทางเข้าเขตป่า พื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลาย
5.4 ช่วยเหลือราษฎรที่อพยพออกจากป่าอนุรักษ์ โดยได้กำหนดแนวทางไว้ 4 แนวทาง คือ
(1) ผู้ยากจนไม่มีที่ทำกินซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์จะให้ความช่วยเหลือเป็นราย ๆ ไป
(2) ผู้ที่จะกลับภูมิลำเนาเดิมจะให้การช่วยเหลือส่งกลับ
(3) ผู้ที่ถูกหลอกลวงให้มาซื้อที่ในเขตป่า จะให้ความช่วยเหลือตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
(4) ผู้ประสงค์จะเปลี่ยนอาชีพเป็นภาคอุตสาหกรรมหรืออาชีพอื่น จังหวัดจะจัดหางานให้ต่อไป
6. หลังจากดำเนินการประชาสัมพันธ์แล้วแต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากราษฎรเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อวันที่2มีนาคม2537จึงใช้มาตรการผลักดันราษฎรและจับกุมแกนนำสำคัญ มีการต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติงานและยิงเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 5 นาย ในขณะที่ฝ่ายราษฎรไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใดจับแกนนำที่ออกหมายจับแล้ว4รายจาก12 ราย มีการชุมนุมประท้วงปิดกั้นถนนสายละหานทราย - ตาพระยา โดยไม่ให้รถยนต์วิ่งผ่านในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการเจรจา ในที่สุดราษฎรที่บุกรุกต่างยินยอมอพยพออกจากพื้นที่ทั้ง 3 จุด คือบริเวณหนองใหญ่สวายสอ บริเวณหนองตูมเห็ด และบริเวณร้อยรู รวมราษฎรที่อพยพออกทั้งสิ้น 817 ครอบครัวจำนวน 2,668 คน โดยทางราชการได้ส่งราษฎรเหล่านั้นกลับภูมิลำเนาเดิม ทั้งในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอื่น ๆ แต่มีราษฎร จำนวน 93 ครอบครัว 348 คน ไม่ยอมกลับภูมิลำเนาอ้างว่ายากจนและไม่มีที่จะไป ได้อาศัยอยู่ที่ศาลาวิมานไพรใกล้ที่ทำการโครงการพัฒนาป่าดงใหญ่ 1 ขอให้จัดหาที่ทำกินให้ จังหวัดตกลงให้ความช่วยเหลือโดยขอให้ราษฎรคัดเลือกบุคคลที่ไม่มีที่ทำกินจริงได้ 81 ครอบครัว (นอกนั้นไม่ขอรับการช่วยเหลือ) มอบให้ ส.ป.ก. จังหวัดบุรีรัมย์จัดซื้อที่ดินให้ราษฎรผ่อนชำระ 20 ปี ปลอดชำระหนี้ 5 ปีแรก ขณะนี้ได้จัดซื้อที่ดินที่ผู้เสนอขายแล้วในท้องที่อำเภอหนองกี่ และอำเภอหนองหงส์จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 856 ไร่ ไร่ละ 13,000 บาท อยู่ในระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์ นอกจากนี้กรมประชาสงเคราะห์ได้ให้เงินช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่ราษฎรที่อพยพออกจากพื้นที่เพื่อกลับภูมิลำเนาเดิม โดยผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 200 บาท ส่วนผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่นให้ครอบครัวละ 500 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 168,700 บาท สำหรับการขนย้ายอพยพราษฎรออกจากป่าส่งกลับภูมิลำเนาเดิมภายในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอื่น ทางราชการจัดรถยนต์บรรทุกขนส่งทุกราย
7. การดำเนินคดีต่อราษฎรผู้บุกรุกป่าและแกนนำ มีผลดำเนินการดังนี้
7.1 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2537 จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 30 คน และต่อมาศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 30 คน รวมจำคุกคนละ 18 เดือน ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา 2 ปี
7.2 ขณะนี้ทั้ง 30 คน ได้ชำระค่าปรับและออกจากสถานที่คุมขังหมดแล้ว
7.3 สำหรับแกนนำที่จับกุมได้ 8 คน ศาลพิพากษาแล้ว 4 คน โทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 2,500 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี (ที่เหลืออีก 4 คน อยู่ระหว่างดำเนินคดี)
8. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ข้างต้น กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ผลการสอบสวนปรากฎว่า เหตุการณ์ปะทะกันในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ราษฎรผุ้บุกรุกซึ่งเคยแย่งชิงผู้ต้องหาสำเร็จมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อแกนนำบางคนถูกจับกุมต่างก็จะแย่งชิงผู้ต้องหาให้ได้ มีการตีเกราะให้สัญญาณให้ทุกคนออกไปรวมกันเพื่อขัดขวางการจับกุม เมื่อเห็นเจ้าหน้าที่มีกำลังมากกว่าจึงได้ไปปิดถนน และกระทำการในลักษณะของการปิดล้อมเพื่อทำการต่อรองและเป็นแรงกดดันเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านเป็นฝ่ายใช้อาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่ก่อน เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าปลดอาวุธและทำการจับกุม และราษฎรผู้บุกรุกมิได้รับบาดเจ็บจากการใช้อาวุธเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจากการชุลมุน ซึ่งขณะนี้ได้หายเป็นปกติดีแล้ว ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายถูกอาวุธปืน และอาวุธอื่น ๆ ได้รับบาดเจ็บสาหัส 4 นาย และบาดเจ็บเล็กน้อย 1 นาย จากเหตุการณ์ครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการโดยยึดถือระเบียบวินัย อย่างเคร่งครัด หากขาดระเบียบวินัยแล้วราษฎรผู้บุกรุกคงจะได้รับบาดเจ็บอาจถึงแก่ชีวิต ผลจากการปฏิบัติงานครั้งนี้แม้ว่าราษฎรที่ถูกจับกุมจะทำร้ายเจ้าหน้าที่มีการยิงและยั่วยุต่าง ๆ ทั้งกริยาและวาจาตลอดตนขว้างระเบิดเพลิงเข้าใส่ แต่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเข้าจับกุม โดยไม่ให้ราษฎรต้องเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความอดกลั้นอย่างสูงและปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายจนทำให้การอพยพได้สำเร็จลุล่วงและน่าจะได้รับคำชมเชยตลอดถึงการปูนบำเหน็จความชอบให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่
9. หลังจากที่ได้อพยพราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่แล้ว จังหวัดบุรีรัมย์ได้จัดทำแผนป้องกันและฟื้นฟูสภาพป่า โดยร่วมกับโครงการพัฒนาป่าดงใหญ่ดำเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้ได้นำผนวกเข้าเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 นอกจากนี้กรมป่าไม้มอบหมายให้สำนักป้องกันและปราบปราม หาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ราษฎรที่ออกจากพื้นที่แล้วไม่ให้บุกรุกกลับเข้าไปอยู่อีก โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า (ศรป.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุดปฏิบัติการที่ 1 ขึ้นในพื้นที่กิ่งอำเภอโนนดินแดง โดยประกอบกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้
ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนเวรเข้ามาดูแลรักษาป่าชุดละประมาณ 50 นาย/เดือน ตลอดไป
10. กรมป่าไม้ร่วมด้วยจังหวัดบุรีรัมย์ กองกำลังสุรนารี หน่วยงานในพื้นที่และองค์กรภาคเอกชนเร่งรัดประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกโดยเน้นด้านเยาวชนร่วมกิจกรรมปลูกป่า และโครงการรักช้างป่าดงใหญ่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้ ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นแนวทางที่ยุติปัญหาต่าง ๆ ลงได้ในที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่า-สงวนแห่งชาติคงใหญ่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่อยู่ในเขตกิ่งอำเภอโนนดินแดงและอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ และเขตอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นน้ำของแม่น้ำมูล
2. พื้นที่ที่ราษฎรบุกรุกและยึดถือครอบครองอยู่ในกิ่งอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์บริเวณหนองใหญ่สวายสอ (จุดแรกที่ราษฎรบุกรุก และมีปัญหามากที่สุด) บริเวณถลุงมาศและตลาดควาย (2 จุดนี้ราชการได้ผลักดันราษฎรออกไปแล้ว) บริเวณหนองตูมเห็ดและบริเวณร้อยรู รวมเนื้อที่ป่าที่ถูกบุกรุกทั้งสิ้นประมาณ 11,200 ไร่
3. จากการขยายตัวในการบุกรุกป่าเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลานั้น ทางราชการได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนทรัพย์สินออกจากพื้นที่ตามกำหนดเวลา ตั้งจุดตรวจทุกเส้นทางเข้าออก ชี้แจงประชาสัมพันธ์เพื่อให้ราษฎรเหล่านั้นได้ทราบถึงความสำคัญของป่าดงใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นป่าผืนเดียวของจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ราษฎรผู้บุกรุกบริเวณหนองใหญ่สวายสอยังไม่ยุติแผ้วถางป่า กลับใช้วิธีรุนแรงตอบโต้ข่มขู่เจ้าหน้าที่ แย่งชิงตัวผู้ต้องหา ทำร้ายเจ้าหน้าที่ทำลายด่านตรวจ เผาที่พักจุดตรวจ และจากการสือทราบของเจ้าหน้าที่ปรากฎว่า ราษฎรกลุ่มดังกล่าวนี้ประกอบอาชีพตัดไม้ขาย ล่าสัตว์ป่าและค้าที่ดิน
4. จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมด้วยกองกำลังสุรนารี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมพิจารณาได้ข้อยุติว่า ปัญหาการบุกรุกบริเวณดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น สมควรที่จะแก้ไขโดยเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษ จึงได้เสนอแผนผลักดันราษฎร และแนวทางแก้ไขให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ นำเรียนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา และได้โปรดมีบัญชาให้ดำเนินการตามกฎหมาย
5. คณะอำนวยการป้องกันการบุกรุกป่าดงใหญ่ กำหนดขั้นตอนการดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
5.1 ประชาสัมพันธ์ สร้างมวลชนแนวร่วมสนับสนุน หาข่าว สืบสภาพแยกสลายมวลชน
5.2 ดำเนินคดีตามกฎหมายและทำการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่บุกรุก มีแผนช่วยเหลือราษฎรที่อพยพออก กำหนดวิธีจับกุมเฉพาะแกนนำ เพื่อมิให้เกิดมวลชนต่อต้านหรือสร้างสถานการณ์รุนแรง เริ่มดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2537
5.3 จัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจน เครื่องกีดขวาง-ปิดเส้นทางเข้าเขตป่า พื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลาย
5.4 ช่วยเหลือราษฎรที่อพยพออกจากป่าอนุรักษ์ โดยได้กำหนดแนวทางไว้ 4 แนวทาง คือ
(1) ผู้ยากจนไม่มีที่ทำกินซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์จะให้ความช่วยเหลือเป็นราย ๆ ไป
(2) ผู้ที่จะกลับภูมิลำเนาเดิมจะให้การช่วยเหลือส่งกลับ
(3) ผู้ที่ถูกหลอกลวงให้มาซื้อที่ในเขตป่า จะให้ความช่วยเหลือตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
(4) ผู้ประสงค์จะเปลี่ยนอาชีพเป็นภาคอุตสาหกรรมหรืออาชีพอื่น จังหวัดจะจัดหางานให้ต่อไป
6. หลังจากดำเนินการประชาสัมพันธ์แล้วแต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากราษฎรเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อวันที่2มีนาคม2537จึงใช้มาตรการผลักดันราษฎรและจับกุมแกนนำสำคัญ มีการต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติงานและยิงเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 5 นาย ในขณะที่ฝ่ายราษฎรไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใดจับแกนนำที่ออกหมายจับแล้ว4รายจาก12 ราย มีการชุมนุมประท้วงปิดกั้นถนนสายละหานทราย - ตาพระยา โดยไม่ให้รถยนต์วิ่งผ่านในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการเจรจา ในที่สุดราษฎรที่บุกรุกต่างยินยอมอพยพออกจากพื้นที่ทั้ง 3 จุด คือบริเวณหนองใหญ่สวายสอ บริเวณหนองตูมเห็ด และบริเวณร้อยรู รวมราษฎรที่อพยพออกทั้งสิ้น 817 ครอบครัวจำนวน 2,668 คน โดยทางราชการได้ส่งราษฎรเหล่านั้นกลับภูมิลำเนาเดิม ทั้งในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอื่น ๆ แต่มีราษฎร จำนวน 93 ครอบครัว 348 คน ไม่ยอมกลับภูมิลำเนาอ้างว่ายากจนและไม่มีที่จะไป ได้อาศัยอยู่ที่ศาลาวิมานไพรใกล้ที่ทำการโครงการพัฒนาป่าดงใหญ่ 1 ขอให้จัดหาที่ทำกินให้ จังหวัดตกลงให้ความช่วยเหลือโดยขอให้ราษฎรคัดเลือกบุคคลที่ไม่มีที่ทำกินจริงได้ 81 ครอบครัว (นอกนั้นไม่ขอรับการช่วยเหลือ) มอบให้ ส.ป.ก. จังหวัดบุรีรัมย์จัดซื้อที่ดินให้ราษฎรผ่อนชำระ 20 ปี ปลอดชำระหนี้ 5 ปีแรก ขณะนี้ได้จัดซื้อที่ดินที่ผู้เสนอขายแล้วในท้องที่อำเภอหนองกี่ และอำเภอหนองหงส์จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 856 ไร่ ไร่ละ 13,000 บาท อยู่ในระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์ นอกจากนี้กรมประชาสงเคราะห์ได้ให้เงินช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่ราษฎรที่อพยพออกจากพื้นที่เพื่อกลับภูมิลำเนาเดิม โดยผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 200 บาท ส่วนผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่นให้ครอบครัวละ 500 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 168,700 บาท สำหรับการขนย้ายอพยพราษฎรออกจากป่าส่งกลับภูมิลำเนาเดิมภายในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอื่น ทางราชการจัดรถยนต์บรรทุกขนส่งทุกราย
7. การดำเนินคดีต่อราษฎรผู้บุกรุกป่าและแกนนำ มีผลดำเนินการดังนี้
7.1 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2537 จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 30 คน และต่อมาศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 30 คน รวมจำคุกคนละ 18 เดือน ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา 2 ปี
7.2 ขณะนี้ทั้ง 30 คน ได้ชำระค่าปรับและออกจากสถานที่คุมขังหมดแล้ว
7.3 สำหรับแกนนำที่จับกุมได้ 8 คน ศาลพิพากษาแล้ว 4 คน โทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 2,500 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี (ที่เหลืออีก 4 คน อยู่ระหว่างดำเนินคดี)
8. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ข้างต้น กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ผลการสอบสวนปรากฎว่า เหตุการณ์ปะทะกันในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ราษฎรผุ้บุกรุกซึ่งเคยแย่งชิงผู้ต้องหาสำเร็จมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อแกนนำบางคนถูกจับกุมต่างก็จะแย่งชิงผู้ต้องหาให้ได้ มีการตีเกราะให้สัญญาณให้ทุกคนออกไปรวมกันเพื่อขัดขวางการจับกุม เมื่อเห็นเจ้าหน้าที่มีกำลังมากกว่าจึงได้ไปปิดถนน และกระทำการในลักษณะของการปิดล้อมเพื่อทำการต่อรองและเป็นแรงกดดันเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านเป็นฝ่ายใช้อาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่ก่อน เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าปลดอาวุธและทำการจับกุม และราษฎรผู้บุกรุกมิได้รับบาดเจ็บจากการใช้อาวุธเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจากการชุลมุน ซึ่งขณะนี้ได้หายเป็นปกติดีแล้ว ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายถูกอาวุธปืน และอาวุธอื่น ๆ ได้รับบาดเจ็บสาหัส 4 นาย และบาดเจ็บเล็กน้อย 1 นาย จากเหตุการณ์ครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการโดยยึดถือระเบียบวินัย อย่างเคร่งครัด หากขาดระเบียบวินัยแล้วราษฎรผู้บุกรุกคงจะได้รับบาดเจ็บอาจถึงแก่ชีวิต ผลจากการปฏิบัติงานครั้งนี้แม้ว่าราษฎรที่ถูกจับกุมจะทำร้ายเจ้าหน้าที่มีการยิงและยั่วยุต่าง ๆ ทั้งกริยาและวาจาตลอดตนขว้างระเบิดเพลิงเข้าใส่ แต่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเข้าจับกุม โดยไม่ให้ราษฎรต้องเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความอดกลั้นอย่างสูงและปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายจนทำให้การอพยพได้สำเร็จลุล่วงและน่าจะได้รับคำชมเชยตลอดถึงการปูนบำเหน็จความชอบให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่
9. หลังจากที่ได้อพยพราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่แล้ว จังหวัดบุรีรัมย์ได้จัดทำแผนป้องกันและฟื้นฟูสภาพป่า โดยร่วมกับโครงการพัฒนาป่าดงใหญ่ดำเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้ได้นำผนวกเข้าเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 นอกจากนี้กรมป่าไม้มอบหมายให้สำนักป้องกันและปราบปราม หาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ราษฎรที่ออกจากพื้นที่แล้วไม่ให้บุกรุกกลับเข้าไปอยู่อีก โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า (ศรป.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุดปฏิบัติการที่ 1 ขึ้นในพื้นที่กิ่งอำเภอโนนดินแดง โดยประกอบกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้
ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนเวรเข้ามาดูแลรักษาป่าชุดละประมาณ 50 นาย/เดือน ตลอดไป
10. กรมป่าไม้ร่วมด้วยจังหวัดบุรีรัมย์ กองกำลังสุรนารี หน่วยงานในพื้นที่และองค์กรภาคเอกชนเร่งรัดประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกโดยเน้นด้านเยาวชนร่วมกิจกรรมปลูกป่า และโครงการรักช้างป่าดงใหญ่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการพระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้ ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นแนวทางที่ยุติปัญหาต่าง ๆ ลงได้ในที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538--