ทำเนียบรัฐบาล--16 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2542 - 2546) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2542 - 2546) ที่ประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก 16 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1,580.75
ล้านบาทใช้เงินกู้ OECF จากรัฐบาลญี่ปุ่นมีสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินบาทสมทบในอัตราประมาณร้อยละ 75:25
โดยพิจารณาถึงความพร้อมของแผนงาน/โครงการ ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ นโยบายของ
รัฐบาล ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดจนภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมในด้านการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของ
เอกชนและชุมชนในพื้นที่ สรุปได้ดังนี้
1.1 แผนงานแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเสื่อมโทรมจำนวน 5 โครงการวงเงิน
ลงทุนรวม 507.01 ล้านบาท
ลำดับที่ ชื่อโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงิน (ล้านบาท) วงเงินรวม (ล้านบาท)
1. โครงการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมแหล่งท่อง กรมป่าไม้ 204.80
เที่ยวเสื่อมโทรมเนื่องจากขยะและน้ำเสียใน
เขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีความรุนแรง
และเร่งด่วน จำนวน 10 แห่ง
2. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกัน กรมโยธาธิการ 98.44
การกัดเซาะชายหาดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
3. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกัน กรมการปกครอง 31.78
การกัดเซาะชายหาดนาจอมเทียน
จังหวัดชลบุรี
4. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกัน กรมการปกครอง 31.99
การกัดเซาะชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
5. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภาพลักษณ์ กรมการปกครอง 140.00
การท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
1.2 แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
จำนวน 5 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 367.44 ล้านบาท
ลำดับที่ ชื่อโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงิน (ล้านบาท) วงเงินรวม (ล้านบาท)
6. โครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 149.90
และการปฏิบัติการในการอนุรักษ์จัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติทางการท่องเที่ยว :
ศูนย์ปฏิบัติการเชิงเขาใหญ่
7. โครงการอบรมเสริมสร้างความรู้เพื่อสร้าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 61.52
เครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การสร้างงานมัคคุเทศน์ท้องถิ่น และกระจาย
รายได้สู่ชนบทในพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด
(จังหวัดตากกาญจนบุรี เพชรบุรี ระยอง
และนครศรีธรรมราช)
8. โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย กรมป่าไม้ 42.94
จังหวัดพัทลุง
9. โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติห้วยขาแข้ง กรมป่าไม้ 42.94
จังหวัดอุทัยธานี
10. โครงการศูนย์การศึกษาและพัฒนาป่าดงดิบ กรมการปกครอง 70.14
ชื้นป่าฮาลา - บาลาจังหวัดยะลา
1.3 แผนงานการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพความร่วมมือทางการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคและ
กระจายรายได้สู่ชนบทจำนวน 6 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 706.30 ล้านบาท
ลำดับที่ ชื่อโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงิน (ล้านบาท) วงเงินรวม (ล้านบาท)
11. โครงการศูนย์ที่พักและบริการริมทางหลวง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 27.69
สายเอเซีย 1 แห่งเพื่อสร้างความปลอดภัย กรมทางหลวง
และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค
และกระจายรายได้สู่ชนบท
12. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมท่าเรือท่อง กรมการปกครอง 84.90
เที่ยวและบริเวณริมแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมโยง
การท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคและส่งเสริมภาพ
ลักษณะการเป็นประตูสู่ประเทศอินโดจีน
(เชียงของ นครพนม มุกดาหาร และ
หนองคาย)
13. โครงการปรับปรุงแหล่งประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร 109.27
วัฒนธรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภูมิภาค
อินโดจีน : เชียงแสน - บ้านเชียง
14. โครงการพัฒนาระบบป้องกันและรักษา กรมศิลปากร 78.01
สิ่งแวดล้อมในบริเวณแหล่งมรดกโลก
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
15. โครงการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เป็นจุดศูนย์กลางความร่วมมือ พัฒนาการ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อ
พัฒนาสังคมและชนบทกรณีจังหวัดเชียงราย
- โครงการสวนแม่ฟ้าหลวง ระยะที่ 3 79.29
- โครงการไร่แม่ฟ้าหลวง ระยะที่ 2 166.81
- โครงการศูนย์สาขาความร่วมมือพัฒนา 126.74
ลุ่มแม่น้ำโขง : เชียงราย
16. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 33.59
อาชีพและกระจายรายได้สู่หมู่บ้านอุตสาห-
กรรมในชนบท 10 หมู่บ้าน ใน 9 จังหวัด
(จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา สุโขทัย
อุทัยธานีอุดรธานี สุรินทร์ อำนาจเจริญ
ชัยภูมิ และสุพรรณบุรี)
2. ให้ความเห็นชอบให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดำเนินการโครงการเสริม
สร้างความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติการในการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติทางการท่องเที่ยว :
ศูนย์ปฏิบัติการเชิงเขาใหญ่ โดยระงับในส่วนการก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรม ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุน ทั้งนี้ ให้
พิจารณาใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างของภาครัฐหรือเอกชนที่มีอยู่แล้วแทน
3. ให้ ททท.ดำเนินการติดตามการดำเนินงานตามแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ของแผนงาน และสิ่งอำนวยความ
สะดวกแก่นักท่องเที่ยว ความคุ้มค่าของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะๆ
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนา และส่งเสริมการท่อง
เที่ยว OECF ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2542 - 2546) รับไปดำเนินการ ดังนี้
4.1 ให้พิจารณาปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ ในเขตอุทยานที่เกี่ยวข้องกับ การให้
บริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหารฯลฯ โดยเห็นควรให้เอกชนเป็นผู้จัดการภายใต้การกำกับของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สนองตอบต่อ ความต้องการของ
นักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในแหล่งท่องเที่ยวดำเนินการ
ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจนเกิดความเสื่อม
โทรม รวมทั้งการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว
สำหรับแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 เพื่อขอใช้เงินกู้
OECF งวดที่ 23 และเพื่อบรรจุในแผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2541 มีสาระสำคัญสรุป
ได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1) ฟื้นฟู อนุรักษ์ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
2) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการท่องเที่ยวให้พร้อมรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยว
3) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนและอินโดจีน
2. แผนการลงทุน
แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2542-
2546) ประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก 22 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 2,971.44 ล้านบาท(สัดส่วนเงิน
กู้ต่อเงินบาทสมทบในอัตราประมาณร้อยละ 75 : 25) ดำเนินงานในแหล่งท่องเที่ยว 40 จังหวัด มีหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน ลักษณะกิจกรรมเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก
จัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษามลภาวะและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาบุคลากรในธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวนักท่องเที่ยวเอง
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับ แผนงานเงินกู้ดังกล่าว นอกจากในแผนงาน
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่จะดำเนินโครงการเสริมสร้างความ
รู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติการในการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติทางการท่องเที่ยว : ศูนย์ปฏิบัติ
การเชิงเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา นั้น เห็นสมควรให้พิจารณาใช้สถานที่ของหน่วยงานอื่นที่มีอยู่แล้วเพื่อ
การดังกล่าว โดยควรระงับการก่อสร้างอาคารสถานที่ตามโครงการนี้
สำหรับเงินบาทสมทบเพื่อดำเนินโครงการตามแผนที่เสนอซึ่งจะใช้จากงบประมาณแผ่นดินร้อย
ละ 25 ของวงเงินลงทุนนั้น เห็นว่าน่าจะอยู่ในวิสัยที่จะจัดสรรงบประมาณสมทบได้ ซึ่งสำนักงบประมาณจะ
ได้พิจารณาจัดสรรให้ตามความเหมาะสมกับความจำเป็นและกำลังเงินงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปีไป แต่
เนื่องจากโครงการตามแผนเงินกู้นี้ เป็นโครงการสำรองในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบ-
ประมาณ 2541 ในปีงบประมาณ 2542 สำนักงบประมาณจึงยังไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ และเห็น
สมควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเสนอขอแปรญัตติงบประมาณปี 2542 หากไม่ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบ
ประมาณปี 2542 ก็ขอให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป เห็น
สมควรให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2542 - 2546) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2542 - 2546) ที่ประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก 16 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1,580.75
ล้านบาทใช้เงินกู้ OECF จากรัฐบาลญี่ปุ่นมีสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินบาทสมทบในอัตราประมาณร้อยละ 75:25
โดยพิจารณาถึงความพร้อมของแผนงาน/โครงการ ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ นโยบายของ
รัฐบาล ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดจนภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมในด้านการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของ
เอกชนและชุมชนในพื้นที่ สรุปได้ดังนี้
1.1 แผนงานแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเสื่อมโทรมจำนวน 5 โครงการวงเงิน
ลงทุนรวม 507.01 ล้านบาท
ลำดับที่ ชื่อโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงิน (ล้านบาท) วงเงินรวม (ล้านบาท)
1. โครงการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมแหล่งท่อง กรมป่าไม้ 204.80
เที่ยวเสื่อมโทรมเนื่องจากขยะและน้ำเสียใน
เขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีความรุนแรง
และเร่งด่วน จำนวน 10 แห่ง
2. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกัน กรมโยธาธิการ 98.44
การกัดเซาะชายหาดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
3. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกัน กรมการปกครอง 31.78
การกัดเซาะชายหาดนาจอมเทียน
จังหวัดชลบุรี
4. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกัน กรมการปกครอง 31.99
การกัดเซาะชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
5. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภาพลักษณ์ กรมการปกครอง 140.00
การท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
1.2 แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
จำนวน 5 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 367.44 ล้านบาท
ลำดับที่ ชื่อโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงิน (ล้านบาท) วงเงินรวม (ล้านบาท)
6. โครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 149.90
และการปฏิบัติการในการอนุรักษ์จัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติทางการท่องเที่ยว :
ศูนย์ปฏิบัติการเชิงเขาใหญ่
7. โครงการอบรมเสริมสร้างความรู้เพื่อสร้าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 61.52
เครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การสร้างงานมัคคุเทศน์ท้องถิ่น และกระจาย
รายได้สู่ชนบทในพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด
(จังหวัดตากกาญจนบุรี เพชรบุรี ระยอง
และนครศรีธรรมราช)
8. โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย กรมป่าไม้ 42.94
จังหวัดพัทลุง
9. โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติห้วยขาแข้ง กรมป่าไม้ 42.94
จังหวัดอุทัยธานี
10. โครงการศูนย์การศึกษาและพัฒนาป่าดงดิบ กรมการปกครอง 70.14
ชื้นป่าฮาลา - บาลาจังหวัดยะลา
1.3 แผนงานการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพความร่วมมือทางการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคและ
กระจายรายได้สู่ชนบทจำนวน 6 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 706.30 ล้านบาท
ลำดับที่ ชื่อโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงิน (ล้านบาท) วงเงินรวม (ล้านบาท)
11. โครงการศูนย์ที่พักและบริการริมทางหลวง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 27.69
สายเอเซีย 1 แห่งเพื่อสร้างความปลอดภัย กรมทางหลวง
และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค
และกระจายรายได้สู่ชนบท
12. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมท่าเรือท่อง กรมการปกครอง 84.90
เที่ยวและบริเวณริมแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมโยง
การท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคและส่งเสริมภาพ
ลักษณะการเป็นประตูสู่ประเทศอินโดจีน
(เชียงของ นครพนม มุกดาหาร และ
หนองคาย)
13. โครงการปรับปรุงแหล่งประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร 109.27
วัฒนธรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภูมิภาค
อินโดจีน : เชียงแสน - บ้านเชียง
14. โครงการพัฒนาระบบป้องกันและรักษา กรมศิลปากร 78.01
สิ่งแวดล้อมในบริเวณแหล่งมรดกโลก
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
15. โครงการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เป็นจุดศูนย์กลางความร่วมมือ พัฒนาการ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อ
พัฒนาสังคมและชนบทกรณีจังหวัดเชียงราย
- โครงการสวนแม่ฟ้าหลวง ระยะที่ 3 79.29
- โครงการไร่แม่ฟ้าหลวง ระยะที่ 2 166.81
- โครงการศูนย์สาขาความร่วมมือพัฒนา 126.74
ลุ่มแม่น้ำโขง : เชียงราย
16. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 33.59
อาชีพและกระจายรายได้สู่หมู่บ้านอุตสาห-
กรรมในชนบท 10 หมู่บ้าน ใน 9 จังหวัด
(จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา สุโขทัย
อุทัยธานีอุดรธานี สุรินทร์ อำนาจเจริญ
ชัยภูมิ และสุพรรณบุรี)
2. ให้ความเห็นชอบให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดำเนินการโครงการเสริม
สร้างความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติการในการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติทางการท่องเที่ยว :
ศูนย์ปฏิบัติการเชิงเขาใหญ่ โดยระงับในส่วนการก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรม ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุน ทั้งนี้ ให้
พิจารณาใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างของภาครัฐหรือเอกชนที่มีอยู่แล้วแทน
3. ให้ ททท.ดำเนินการติดตามการดำเนินงานตามแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ของแผนงาน และสิ่งอำนวยความ
สะดวกแก่นักท่องเที่ยว ความคุ้มค่าของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะๆ
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนา และส่งเสริมการท่อง
เที่ยว OECF ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2542 - 2546) รับไปดำเนินการ ดังนี้
4.1 ให้พิจารณาปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ ในเขตอุทยานที่เกี่ยวข้องกับ การให้
บริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหารฯลฯ โดยเห็นควรให้เอกชนเป็นผู้จัดการภายใต้การกำกับของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สนองตอบต่อ ความต้องการของ
นักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในแหล่งท่องเที่ยวดำเนินการ
ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจนเกิดความเสื่อม
โทรม รวมทั้งการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว
สำหรับแผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 เพื่อขอใช้เงินกู้
OECF งวดที่ 23 และเพื่อบรรจุในแผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2541 มีสาระสำคัญสรุป
ได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1) ฟื้นฟู อนุรักษ์ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
2) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการท่องเที่ยวให้พร้อมรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยว
3) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนและอินโดจีน
2. แผนการลงทุน
แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว OECF ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2542-
2546) ประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก 22 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 2,971.44 ล้านบาท(สัดส่วนเงิน
กู้ต่อเงินบาทสมทบในอัตราประมาณร้อยละ 75 : 25) ดำเนินงานในแหล่งท่องเที่ยว 40 จังหวัด มีหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน ลักษณะกิจกรรมเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก
จัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษามลภาวะและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาบุคลากรในธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวนักท่องเที่ยวเอง
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับ แผนงานเงินกู้ดังกล่าว นอกจากในแผนงาน
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่จะดำเนินโครงการเสริมสร้างความ
รู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติการในการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติทางการท่องเที่ยว : ศูนย์ปฏิบัติ
การเชิงเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา นั้น เห็นสมควรให้พิจารณาใช้สถานที่ของหน่วยงานอื่นที่มีอยู่แล้วเพื่อ
การดังกล่าว โดยควรระงับการก่อสร้างอาคารสถานที่ตามโครงการนี้
สำหรับเงินบาทสมทบเพื่อดำเนินโครงการตามแผนที่เสนอซึ่งจะใช้จากงบประมาณแผ่นดินร้อย
ละ 25 ของวงเงินลงทุนนั้น เห็นว่าน่าจะอยู่ในวิสัยที่จะจัดสรรงบประมาณสมทบได้ ซึ่งสำนักงบประมาณจะ
ได้พิจารณาจัดสรรให้ตามความเหมาะสมกับความจำเป็นและกำลังเงินงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปีไป แต่
เนื่องจากโครงการตามแผนเงินกู้นี้ เป็นโครงการสำรองในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบ-
ประมาณ 2541 ในปีงบประมาณ 2542 สำนักงบประมาณจึงยังไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ และเห็น
สมควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเสนอขอแปรญัตติงบประมาณปี 2542 หากไม่ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบ
ประมาณปี 2542 ก็ขอให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป เห็น
สมควรให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 มิถุนายน 2541--