แท็ก
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ
ทบวงมหาวิทยาลัย
กระทรวงการคลัง
อบรมวิชาชีพ
ทำเนียบรัฐบาล--29 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการนโยบายสนับสนุนภาคเอกชนลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามที่กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1. การสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน และสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพที่มีมาตรฐานสูงในท้องที่ นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบที่ควบคุมสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนและเร่งรัดกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศโดยรวม สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้น โดยเร่งรัดจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนที่มีมาตรฐานสูง รวมทั้งสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพที่ขาดแคลน และรองรับการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนที่มีคุณภาพเพื่อบุตรหลานของผู้ประกอบการที่จะตั้งโรงงานอยู่ในเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เข้าศึกษาเล่าเรียน โดยมีวิธีการดำเนิการ ดังนี้
1.1 จัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นรองประธาน และมีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ผู้แทนจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และผู้แทนจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวนหนึ่ง
1.2 สถานศึกษาและสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพที่จะได้รับการสนับสนุนตามโครงการนี้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างน้อย ดังนี้
- ดำเนินกิจการในรูปของนิติบุคคล
- มีที่ตั้งสถานศึกษาอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสำหรับกรณีที่เป็นสถานศึกษาที่มีอยู่แล้ว และประสงค์จะเข้าโครงการนี้ โดยการขยายสาขาหรือเพิ่มวิทยาเขต จะต้องมีที่ตั้งของสาขาหรือวิทยาเขตอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา (ทั้งสายสามัญและอาชีวะโดยจะมีการเรียนการสอนในระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาด้วยหรือไม่ก็ได้) หรือจัดให้มีหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
- มีมาตรฐานการเรียนการสอนสูง
- สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนโดยเน้นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา รวมทั้งสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพจะได้รับพิจารณาให้การสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษ
- ต้องมีนักเรียน นักศึกษาที่ถือสัญฃาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียน นักศึกษาทั้งสิ้นของสถานศึกษานั้น ๆ
- ต้องให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย (ตามเกณฑ์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ในจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนนักเรียน นักศึกษาทั้งสิ้น โดยจะต้องเป็นทุนการศึกษาที่รวมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียน นักศึกษา และให้รวมถึงค่าหนังสือตำราเรียนด้วย
1.3 ธนาคารออมสินจะพิจารณาให้เงินกู้แก่สถานศึกษาตามโครงการนี้ในวงเงินทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท โดยมีแหล่งเงินทุนมาจากเงินกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี และส่วนที่เหลืออีก 10,000 ล้านบาท มาจากเงินของธนาคารออมสินเอง หลักประกันในการกู้ยืมให้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารออมสิน
1.4 วงเงินกู้จำนวน 20,000 ล้านบาท จะจัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ และสถานศึกษาที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อใช้ลงทุนด้านต่าง ๆ ดังนี้
- 10,000 ล้านบาท จัดสรรให้กู้ยืมเป็นค่าก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ถาวรสำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอน โดยเน้นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนทั้งในระดับมัธยมศึกษาสายอาชีวะและระดับอุดมศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาที่เป็นสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการจะได้ประกาศกำหนดต่อไป
- 7,000 ล้านบาท จัดสรรให้กู้ยืมเป็นค่าก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ถาวรสำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาทั่วไป
- 3,000 ล้านบาท จัดสรรให้กู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
1.5 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการนี้ คิดตามอัตราต้นทุนทางการเงินของธนาคารออมสินเฉลี่ยกับอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย บวกอีกร้อยละ 2 โดยมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
1.6 ในกรณีเงินกู้เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินถาวร เงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้จะมีลักษณะผ่อนปรน คือชำระคืนภายใน 15 ปี โดยรวมระยะปลอดการชำระต้นเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี ในกรณีกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนจะเป็นเงินกู้อายุ 1 ปี โดยจะมีการพิจารณาให้กู้ยืมต่อตามความเหมาะสมเป็นกรณีไป
1.7 สถานศึกษาเอกชนตามโครงการนี้ จะกู้ยืมจากธนาคารออมสินได้ไม่เกิน 1 เท่าของเงินทุนจากเจ้าของกิจการ วงเงินให้กู้ยืมตามโครงการนี้จำนวน 20,000 ล้านบาท จะมีผลให้มีการลงทุนในด้านการศึกษาของภาคเอกชนในโครงการเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท
1.8 สถานศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ คือ
- สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้ สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร
- สิทธิประโยชน์ด้านที่ดิน
- สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนผันระเบียบกฎเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
อนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาเป็นการทั่วไป จึงสมควรให้สิทธิประโยชน์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ภาษีศุลกากรและการผ่อนผันระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แก่กิจการของสถานศึกษาทั่วไปที่ดำเนินกิจการในรูปนิติบุคคล แม้มิได้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วยก็ตาม
1.9 กรณีสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนตามมาตรการนี้ ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ให้ใช้วิธีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้จากธนาคารออมสินเป็นบทลงโทษ
2. การสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเอกชน เพื่อเร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคการผลิตและการบริการของประเทศ โดยการสนับสนุนภาคเอกชนให้มีบทบาทในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและส่งคนงานไปศึกษาและฝึกอบรมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเสริมการดำเนินการโดยภาครัฐ ทั้งนี้ โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรเป็นสิ่งจูงใจ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานในภาคการผลิตและการบริการโดยรวมของประเทศ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาวิชาชีพในระยะสั้น สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานในสาชาวิชาชีพที่เห็นว่าจำเป็นและแบ่งเบาภาระด้านรายจ่ายแก่ภาครัฐในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือให้การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของแรงงาน โดยมีวิธีการส่งเสริมและสนับสนุนใน 3 ลักษณะ ดังนี้
2.1 การจัดตั้งมูลนิธิเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร และกระทรวงการคลังจะพิจารณาให้การยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการทำนองเดียวกับการยกเว้นวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษาตามข้อตกลงฟลอเรนส์
2.2 การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานในบริษัท โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่ดำเนินการศูนยฝึกอบรม และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากบริษัทที่ดำเนินการศูนย์ฝึกอบรม
2.3 การส่งพนักงานเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถาบันการศึกษา โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทในรูปของการหักค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมเพิ่มเติมได้ 1.5 เท่าของเงินที่จ่ายจริงตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด
3. การจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษา ซึ่งมาจากครอบครัว ที่มีรายได้น้อย สำหรับศึกษาต่อตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับปริญญาตรีในประเทศ (ทั้งสายสามัญและ อาชีวะ)รวมทั้งการศึกษานอกระบบต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรและประเภทวิชาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยนักเรียน นักศึกษาจะต้องชำระหนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราต่ำเมื่อจบการศึกษาแล้ว เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นแก่ผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยซึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา อันจะมีส่วนสำคัญในการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน และเป็นการสนองตอบต่อนโยบายการกระจายรายได้ และสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึกษาทางด้านอุปสงค์ โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของประชาชน ซึ่งมาตรการ นี้จะสอดคล้องกับการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนซึ่งเป็นมาตรการทางด้านอุปทาน โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
3.1 จัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย กู้ยืมเงินสำหรับศึกษาต่อตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับปริญญาตรีในประเทศ (ทั้งสายสามัญและอาชีวะ) รวมทั้งการศึกษานอกระบบต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรและประเภทวิชาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
3.2 กองทุนฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
- กองทุนรับ ประกอบด้วยเงินที่ได้รับจากงบประมาณในแต่ละปี เงินที่ได้รับชำระหนี้คืน และเงินที่มีผู้บริจาคสมทบ เงินกองทุนรับจะถูกจัดสรรไปเข้ากองทุนจ่ายเพื่อให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาต่อไป
- กองทุนจ่ายที่ 1 เป็นกองทุนเพื่อจ่ายเงินให้กู้ยืมแก่นักเรียน นึกศึกษา ซึ่งศึกษาอยู่ในสถาบันที่อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ หรือสถาบันการศึกษา ในการกำกับดูแลของกระทรวงหรือส่วนราชการอื่นที่จัดการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
- กองทุนจ่ายที่ 2 เป็นกองทุนเพื่อจ่ายเงินให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษา อยู่ในสถาบันที่อยู่ในการกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย
3.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้
- คณะกรรมการบริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นรองประธาน มีผู้แทนจากส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ
- คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจ่ายที่ 1 ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
- คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจ่ายที่ 2 ประกอบด้วย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานมีผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าใน ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
4. ในการศึกษาแรกของการดำเนินการกองทุนฯ จะต้องใช้เงินงบประมาณ 6,500 ล้านบาท เพื่อให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาประมาณ 132,000 คน และจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นประมาณ 17,000 ล้านบาท เพื่อให้กู้ยืมแก่นักเรียนนักศึกษาประมาณ 300,000 คน ในปีที่ 4 ของการดำเนินการ หลังจากนั้นจำนวนผู้กู้ยืมในแต่ละปีจะคงระดับนี้ต่อไป (แต่วงเงินให้กู้ยืมจะมีการขยายตัวตามอัตราเงินเฟ้อ) ตามโครงการนี้ ณ สิ้นปีที่ 15 จะมีนักเรียน นักศึกษาที่กู้ยืม เงินจากโครงการทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว และที่กำลังศึกษาอยู่รวมทั้งสิ้นประมาณ 922,000 คน
5. นักเรียน นักศึกษา ที่มีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ จะต้องมาจากครอบครัวที่มีรายได้ของครอบครัว รวมกันไม่เกิน 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรของประเทศไทย และจะต้องมีคุณสมบัติอื่นตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนฯ กำหนด เช่น เป็นผู้ถือสัญชาติไทย ศึกษาที่สถาบันการศึกษาในประเทศ ไม่ทำงานประจำในระหว่าง ศึกษาเล่าเรียน ฯลฯ
6. ในกรณีที่มีผู้มีสิทธิขอกู้ยืมเงินมากกว่าจำนวนที่จะจัดสรรให้กู้ได้จะพิจารณาให้กู้ยืมแก่ผู้ที่มีผลการเรียนดีก่อน นอกจากนี้ ในการจัดสรรเงินให้กู้ยืมจะให้ความสำคัญแก่ผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรหรือสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนด้วย
7. สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะเป็นหน่วยงานรับคำขอกู้ยืมเงินพิจารณาอนุมัติเงินกู้และทำสัญญากู้ยืมเงิน กับนักเรียน นักศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนฯ กำหนด
8. นักเรียน นักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินตามโครงการนี้จะต้องจัดหาหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมหรือในกรณีที่ไม่อาจหาหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมได้ ให้บิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นบุคคลค้ำประกัน นอกจากนี้ กองทุนฯ จะต้องจัดสรรโควต้าการอนุมัติให้กู้ยืมให้แต่ละสถาบันการศึกษา และสาขาวิชาการศึกษา
9. นักเรียน นักศึกษาจะต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี โดยกำหนดให้คิดดอกเบี้ยเป็นรายปีจากยอดหนี้คงค้างเมื่อสิ้นปีนับจากปีที่ต้องเริ่มชำระเป็นต้นไป การชำระหนี้ให้เริ่มชำระภายหลังจากจบการศึกษาแล้ว 2 ปี โดยต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับจากวันที่ต้องเริ่มชำระหนี้ (หรือภายใน 17 ปี นับจากวันที่จบการศึกษา) จำนวนที่ต้องชำระในแต่ละปี คือ ดอกเบี้ยที่ต้องชำระในปีนั้นรวมกับส่วนของเงินต้นไม่น้อยกว่าที่กำหนดโดยกองทุนฯ
10. ให้จัดตั้งบริษัทแห่งหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบจัดการบัญชีเงินกู้ และติดตามหนี้เงินกู้ตามโครงการ นี้ในนามของกองทุนฯ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 25 ในบริษัทดังกล่าวบริษัทผู้จัดการบัญชีเงินกู้นักศึกษา (Student Loan Accounts Manager) ที่จัดตั้งขึ้นมาจะมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการบัญชีเงินกู้รายตัวของนักศึกษา รับชำระหนี้ที่ผู้กู้ยืมนำมาชำระและที่นายจ้างของผู้กู้ยืมหักและ นำส่งติดตามบังคับชำระหนี้กรณีที่มีการบิดพริ้ว รวมทั้งให้คำปรึกษาและให้บริการจัดหางานให้แก่นักศึกษาในโครงการโดยบริษัทดังกล่าวจะได้รับค่าตอบแทนตามอัตราที่ตกลงกัน
11. เมื่อได้มีการจัดตั้งกองทุนฯ นี้ขึ้นมาแล้ว จะต้องมีมาตรการเสริมเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกและความรับผิดชอบนการชำระหนี้คืนกองทุนฯ ในรูปการจัดตั้งชมรมของผู้ได้รับเงินกู้ยืมจากโครงการนี้ และการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นคุณค่าของผู้ที่จบการศึกษาด้วยเงินที่กู้ยืมจากองทุนฯ นี้ว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และผ่านการกลั่นกรองมาแล้วชั้นหนึ่ง เพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. อนุมัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารออมสินกู้ยืมเงินในวงเงิน 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน
2. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อให้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรในด้านต่าง ๆ
3. เห็นชอบในหลักการให้มีการดำเนินการออกพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อจัดตั้งกองทุนฯ กำหนดวิธีบริหารจัดการกองทุนฯ ให้อำนาจกองทุนฯ หรือผู้ที่กองทุนฯ มอบหมายเป็นผู้จัดการบัญชีเงินกู้และติดตามเรียกเก็บหนี้เงินกู้ รวมทั้งกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบในการหักและนำส่งหนี้เงินกู้ที่ต้อง ชำระของพนักงานลูกจ้างแต่ละรายที่เป็นหนี้ตามโครงการนี้ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการต่อไป
4. อนุมัติในหลักการให้จัดสรรงบประมาณให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในปีงบประมาณ 2539 จำนวน 4,000 ล้านบาท (สำหรับเริ่มโครงการพฤษภาคม 2539 เป็นต้นไป) และให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายในอนาคตเพื่อสนับสนุนให้กองทุนฯ สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยรักษาจำนวนนักเรียน นักศึกษาไว้ในขณะใดขณะหนึ่งไม่ต่ำกว่า 300,000 คน ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อกองทุนฯ ได้สรรหานักเรียน นักศึกษาได้ 300,000 คนแล้ว ภาระงบ ประมาณในปีต่อ ๆ ไปจะอยู่ในระดับประมาณ 17,000 ล้านบาทต่อไป (ทั้งนี้ยังไม่รวมการขยายตัวตามอัตราเงินเฟ้อ) ในระยะยาว เมื่อนักเรียน นักศึกษา เริ่มชำระหนี้คืนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว การพึ่งพางบประมาณในแต่ละปีจะลดลงตามลำดับ
5. กำหนดเป็นนโยบายให้ส่วนราชการที่ครอบครองที่ราชพัสดุให้ความร่วมมือในการคืนที่ราชพัสดุในส่วนที่เกินความจำเป็นแก่กรมธนารักษ์ เพื่อนำมาจัดสรรให้เอกชนเช่าเป็นที่ตั้งสถานศึกษา
6. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบในการควบคุมสถานศึกษาต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
7. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ดำเนินการผ่อนผันกฎระเบียบในเรื่องการอนุญาตให้เข้ามาและ/หรืออยู่ต่อในราชอาณาจักรและการออกใบอนุญาตทำงานให้แก่ครู และผู้ให้การฝึกอบรมชาวต่างประเทศให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการนโยบายสนับสนุนภาคเอกชนลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามที่กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1. การสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน และสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพที่มีมาตรฐานสูงในท้องที่ นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบที่ควบคุมสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนและเร่งรัดกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศโดยรวม สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้น โดยเร่งรัดจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนที่มีมาตรฐานสูง รวมทั้งสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพที่ขาดแคลน และรองรับการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนที่มีคุณภาพเพื่อบุตรหลานของผู้ประกอบการที่จะตั้งโรงงานอยู่ในเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เข้าศึกษาเล่าเรียน โดยมีวิธีการดำเนิการ ดังนี้
1.1 จัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นรองประธาน และมีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ผู้แทนจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และผู้แทนจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวนหนึ่ง
1.2 สถานศึกษาและสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพที่จะได้รับการสนับสนุนตามโครงการนี้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างน้อย ดังนี้
- ดำเนินกิจการในรูปของนิติบุคคล
- มีที่ตั้งสถานศึกษาอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสำหรับกรณีที่เป็นสถานศึกษาที่มีอยู่แล้ว และประสงค์จะเข้าโครงการนี้ โดยการขยายสาขาหรือเพิ่มวิทยาเขต จะต้องมีที่ตั้งของสาขาหรือวิทยาเขตอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา (ทั้งสายสามัญและอาชีวะโดยจะมีการเรียนการสอนในระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาด้วยหรือไม่ก็ได้) หรือจัดให้มีหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
- มีมาตรฐานการเรียนการสอนสูง
- สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนโดยเน้นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา รวมทั้งสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพจะได้รับพิจารณาให้การสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษ
- ต้องมีนักเรียน นักศึกษาที่ถือสัญฃาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียน นักศึกษาทั้งสิ้นของสถานศึกษานั้น ๆ
- ต้องให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย (ตามเกณฑ์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ในจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนนักเรียน นักศึกษาทั้งสิ้น โดยจะต้องเป็นทุนการศึกษาที่รวมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากนักเรียน นักศึกษา และให้รวมถึงค่าหนังสือตำราเรียนด้วย
1.3 ธนาคารออมสินจะพิจารณาให้เงินกู้แก่สถานศึกษาตามโครงการนี้ในวงเงินทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท โดยมีแหล่งเงินทุนมาจากเงินกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี และส่วนที่เหลืออีก 10,000 ล้านบาท มาจากเงินของธนาคารออมสินเอง หลักประกันในการกู้ยืมให้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารออมสิน
1.4 วงเงินกู้จำนวน 20,000 ล้านบาท จะจัดสรรให้แก่สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ และสถานศึกษาที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อใช้ลงทุนด้านต่าง ๆ ดังนี้
- 10,000 ล้านบาท จัดสรรให้กู้ยืมเป็นค่าก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ถาวรสำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอน โดยเน้นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนทั้งในระดับมัธยมศึกษาสายอาชีวะและระดับอุดมศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาที่เป็นสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการจะได้ประกาศกำหนดต่อไป
- 7,000 ล้านบาท จัดสรรให้กู้ยืมเป็นค่าก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ถาวรสำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาทั่วไป
- 3,000 ล้านบาท จัดสรรให้กู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
1.5 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการนี้ คิดตามอัตราต้นทุนทางการเงินของธนาคารออมสินเฉลี่ยกับอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย บวกอีกร้อยละ 2 โดยมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
1.6 ในกรณีเงินกู้เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินถาวร เงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้จะมีลักษณะผ่อนปรน คือชำระคืนภายใน 15 ปี โดยรวมระยะปลอดการชำระต้นเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี ในกรณีกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนจะเป็นเงินกู้อายุ 1 ปี โดยจะมีการพิจารณาให้กู้ยืมต่อตามความเหมาะสมเป็นกรณีไป
1.7 สถานศึกษาเอกชนตามโครงการนี้ จะกู้ยืมจากธนาคารออมสินได้ไม่เกิน 1 เท่าของเงินทุนจากเจ้าของกิจการ วงเงินให้กู้ยืมตามโครงการนี้จำนวน 20,000 ล้านบาท จะมีผลให้มีการลงทุนในด้านการศึกษาของภาคเอกชนในโครงการเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท
1.8 สถานศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ คือ
- สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้ สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร
- สิทธิประโยชน์ด้านที่ดิน
- สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนผันระเบียบกฎเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
อนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาเป็นการทั่วไป จึงสมควรให้สิทธิประโยชน์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ภาษีศุลกากรและการผ่อนผันระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แก่กิจการของสถานศึกษาทั่วไปที่ดำเนินกิจการในรูปนิติบุคคล แม้มิได้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วยก็ตาม
1.9 กรณีสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนตามมาตรการนี้ ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ให้ใช้วิธีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้จากธนาคารออมสินเป็นบทลงโทษ
2. การสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเอกชน เพื่อเร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคการผลิตและการบริการของประเทศ โดยการสนับสนุนภาคเอกชนให้มีบทบาทในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและส่งคนงานไปศึกษาและฝึกอบรมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเสริมการดำเนินการโดยภาครัฐ ทั้งนี้ โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรเป็นสิ่งจูงใจ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานในภาคการผลิตและการบริการโดยรวมของประเทศ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาวิชาชีพในระยะสั้น สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานในสาชาวิชาชีพที่เห็นว่าจำเป็นและแบ่งเบาภาระด้านรายจ่ายแก่ภาครัฐในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือให้การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของแรงงาน โดยมีวิธีการส่งเสริมและสนับสนุนใน 3 ลักษณะ ดังนี้
2.1 การจัดตั้งมูลนิธิเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร และกระทรวงการคลังจะพิจารณาให้การยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการทำนองเดียวกับการยกเว้นวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษาตามข้อตกลงฟลอเรนส์
2.2 การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานในบริษัท โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่ดำเนินการศูนยฝึกอบรม และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากบริษัทที่ดำเนินการศูนย์ฝึกอบรม
2.3 การส่งพนักงานเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถาบันการศึกษา โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทในรูปของการหักค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมเพิ่มเติมได้ 1.5 เท่าของเงินที่จ่ายจริงตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด
3. การจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษา ซึ่งมาจากครอบครัว ที่มีรายได้น้อย สำหรับศึกษาต่อตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับปริญญาตรีในประเทศ (ทั้งสายสามัญและ อาชีวะ)รวมทั้งการศึกษานอกระบบต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรและประเภทวิชาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยนักเรียน นักศึกษาจะต้องชำระหนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราต่ำเมื่อจบการศึกษาแล้ว เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นแก่ผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยซึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา อันจะมีส่วนสำคัญในการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน และเป็นการสนองตอบต่อนโยบายการกระจายรายได้ และสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึกษาทางด้านอุปสงค์ โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของประชาชน ซึ่งมาตรการ นี้จะสอดคล้องกับการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนซึ่งเป็นมาตรการทางด้านอุปทาน โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
3.1 จัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย กู้ยืมเงินสำหรับศึกษาต่อตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับปริญญาตรีในประเทศ (ทั้งสายสามัญและอาชีวะ) รวมทั้งการศึกษานอกระบบต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรและประเภทวิชาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
3.2 กองทุนฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
- กองทุนรับ ประกอบด้วยเงินที่ได้รับจากงบประมาณในแต่ละปี เงินที่ได้รับชำระหนี้คืน และเงินที่มีผู้บริจาคสมทบ เงินกองทุนรับจะถูกจัดสรรไปเข้ากองทุนจ่ายเพื่อให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาต่อไป
- กองทุนจ่ายที่ 1 เป็นกองทุนเพื่อจ่ายเงินให้กู้ยืมแก่นักเรียน นึกศึกษา ซึ่งศึกษาอยู่ในสถาบันที่อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ หรือสถาบันการศึกษา ในการกำกับดูแลของกระทรวงหรือส่วนราชการอื่นที่จัดการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
- กองทุนจ่ายที่ 2 เป็นกองทุนเพื่อจ่ายเงินให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษา อยู่ในสถาบันที่อยู่ในการกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย
3.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้
- คณะกรรมการบริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นรองประธาน มีผู้แทนจากส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ
- คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจ่ายที่ 1 ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
- คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจ่ายที่ 2 ประกอบด้วย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานมีผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าใน ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
4. ในการศึกษาแรกของการดำเนินการกองทุนฯ จะต้องใช้เงินงบประมาณ 6,500 ล้านบาท เพื่อให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาประมาณ 132,000 คน และจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นประมาณ 17,000 ล้านบาท เพื่อให้กู้ยืมแก่นักเรียนนักศึกษาประมาณ 300,000 คน ในปีที่ 4 ของการดำเนินการ หลังจากนั้นจำนวนผู้กู้ยืมในแต่ละปีจะคงระดับนี้ต่อไป (แต่วงเงินให้กู้ยืมจะมีการขยายตัวตามอัตราเงินเฟ้อ) ตามโครงการนี้ ณ สิ้นปีที่ 15 จะมีนักเรียน นักศึกษาที่กู้ยืม เงินจากโครงการทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว และที่กำลังศึกษาอยู่รวมทั้งสิ้นประมาณ 922,000 คน
5. นักเรียน นักศึกษา ที่มีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ จะต้องมาจากครอบครัวที่มีรายได้ของครอบครัว รวมกันไม่เกิน 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรของประเทศไทย และจะต้องมีคุณสมบัติอื่นตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนฯ กำหนด เช่น เป็นผู้ถือสัญชาติไทย ศึกษาที่สถาบันการศึกษาในประเทศ ไม่ทำงานประจำในระหว่าง ศึกษาเล่าเรียน ฯลฯ
6. ในกรณีที่มีผู้มีสิทธิขอกู้ยืมเงินมากกว่าจำนวนที่จะจัดสรรให้กู้ได้จะพิจารณาให้กู้ยืมแก่ผู้ที่มีผลการเรียนดีก่อน นอกจากนี้ ในการจัดสรรเงินให้กู้ยืมจะให้ความสำคัญแก่ผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรหรือสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนด้วย
7. สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะเป็นหน่วยงานรับคำขอกู้ยืมเงินพิจารณาอนุมัติเงินกู้และทำสัญญากู้ยืมเงิน กับนักเรียน นักศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนฯ กำหนด
8. นักเรียน นักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินตามโครงการนี้จะต้องจัดหาหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมหรือในกรณีที่ไม่อาจหาหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมได้ ให้บิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นบุคคลค้ำประกัน นอกจากนี้ กองทุนฯ จะต้องจัดสรรโควต้าการอนุมัติให้กู้ยืมให้แต่ละสถาบันการศึกษา และสาขาวิชาการศึกษา
9. นักเรียน นักศึกษาจะต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี โดยกำหนดให้คิดดอกเบี้ยเป็นรายปีจากยอดหนี้คงค้างเมื่อสิ้นปีนับจากปีที่ต้องเริ่มชำระเป็นต้นไป การชำระหนี้ให้เริ่มชำระภายหลังจากจบการศึกษาแล้ว 2 ปี โดยต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับจากวันที่ต้องเริ่มชำระหนี้ (หรือภายใน 17 ปี นับจากวันที่จบการศึกษา) จำนวนที่ต้องชำระในแต่ละปี คือ ดอกเบี้ยที่ต้องชำระในปีนั้นรวมกับส่วนของเงินต้นไม่น้อยกว่าที่กำหนดโดยกองทุนฯ
10. ให้จัดตั้งบริษัทแห่งหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบจัดการบัญชีเงินกู้ และติดตามหนี้เงินกู้ตามโครงการ นี้ในนามของกองทุนฯ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 25 ในบริษัทดังกล่าวบริษัทผู้จัดการบัญชีเงินกู้นักศึกษา (Student Loan Accounts Manager) ที่จัดตั้งขึ้นมาจะมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการบัญชีเงินกู้รายตัวของนักศึกษา รับชำระหนี้ที่ผู้กู้ยืมนำมาชำระและที่นายจ้างของผู้กู้ยืมหักและ นำส่งติดตามบังคับชำระหนี้กรณีที่มีการบิดพริ้ว รวมทั้งให้คำปรึกษาและให้บริการจัดหางานให้แก่นักศึกษาในโครงการโดยบริษัทดังกล่าวจะได้รับค่าตอบแทนตามอัตราที่ตกลงกัน
11. เมื่อได้มีการจัดตั้งกองทุนฯ นี้ขึ้นมาแล้ว จะต้องมีมาตรการเสริมเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกและความรับผิดชอบนการชำระหนี้คืนกองทุนฯ ในรูปการจัดตั้งชมรมของผู้ได้รับเงินกู้ยืมจากโครงการนี้ และการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นคุณค่าของผู้ที่จบการศึกษาด้วยเงินที่กู้ยืมจากองทุนฯ นี้ว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และผ่านการกลั่นกรองมาแล้วชั้นหนึ่ง เพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. อนุมัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารออมสินกู้ยืมเงินในวงเงิน 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน
2. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อให้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรในด้านต่าง ๆ
3. เห็นชอบในหลักการให้มีการดำเนินการออกพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อจัดตั้งกองทุนฯ กำหนดวิธีบริหารจัดการกองทุนฯ ให้อำนาจกองทุนฯ หรือผู้ที่กองทุนฯ มอบหมายเป็นผู้จัดการบัญชีเงินกู้และติดตามเรียกเก็บหนี้เงินกู้ รวมทั้งกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบในการหักและนำส่งหนี้เงินกู้ที่ต้อง ชำระของพนักงานลูกจ้างแต่ละรายที่เป็นหนี้ตามโครงการนี้ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการต่อไป
4. อนุมัติในหลักการให้จัดสรรงบประมาณให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในปีงบประมาณ 2539 จำนวน 4,000 ล้านบาท (สำหรับเริ่มโครงการพฤษภาคม 2539 เป็นต้นไป) และให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายในอนาคตเพื่อสนับสนุนให้กองทุนฯ สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยรักษาจำนวนนักเรียน นักศึกษาไว้ในขณะใดขณะหนึ่งไม่ต่ำกว่า 300,000 คน ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อกองทุนฯ ได้สรรหานักเรียน นักศึกษาได้ 300,000 คนแล้ว ภาระงบ ประมาณในปีต่อ ๆ ไปจะอยู่ในระดับประมาณ 17,000 ล้านบาทต่อไป (ทั้งนี้ยังไม่รวมการขยายตัวตามอัตราเงินเฟ้อ) ในระยะยาว เมื่อนักเรียน นักศึกษา เริ่มชำระหนี้คืนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว การพึ่งพางบประมาณในแต่ละปีจะลดลงตามลำดับ
5. กำหนดเป็นนโยบายให้ส่วนราชการที่ครอบครองที่ราชพัสดุให้ความร่วมมือในการคืนที่ราชพัสดุในส่วนที่เกินความจำเป็นแก่กรมธนารักษ์ เพื่อนำมาจัดสรรให้เอกชนเช่าเป็นที่ตั้งสถานศึกษา
6. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบในการควบคุมสถานศึกษาต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
7. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ดำเนินการผ่อนผันกฎระเบียบในเรื่องการอนุญาตให้เข้ามาและ/หรืออยู่ต่อในราชอาณาจักรและการออกใบอนุญาตทำงานให้แก่ครู และผู้ให้การฝึกอบรมชาวต่างประเทศให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2538--