ทำเนียบรัฐบาล--7 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานภาพปัจจุบันของป่าชายเลนของประเทศ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สถานการณ์ทั่วไป
จากการสำรวจพื้นที่ป่านชายเลนของประเทศไทยในปี 2504 พบว่ามีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,299,375 ไร่ หรือร้อยละ 0.72 ของพื้นที่ประเทศ กระจายอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ครอบคลุม 22 จังหวัดชายฝั่งทะเลของประเทศ ซึ่งในระยะเวลาต่อมาพื้นที่ป่าชายเลนกลับลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มอัตราการบุกรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2536 พื้นที่ป่าชายเลนคงเหลือเพียง 1,054,266 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ถูกทำลาย 1,245,109 ไร่หรือร้อยละ 54.15 เมื่อเทียบกับปี 2504
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรายภาคในช่วงปี 2518 - 2536 พบว่าภาคใต้มีการบุกรุกทำลายมากที่สุดถึง 26,711 ไร่ต่อปี รองลงมาคือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ซึ่งมีพื้นที่ถูกทำลายเฉลี่ยปีละ 12,483 และ 10,811 ไร่ ตามลำดับ
2. การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลน
พื้นที่ป่าชายเลนที่ลดจำนวนลงมีสาเหตุจากการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ทั้งโดยการบุกรุกและลักลอบตัดไม้รวมทั้งการเข้าทำประโยชน์โดยได้รับอนุญาตเพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ
1) การทำเหมืองแร่
2) การสร้างท่าเทียบเรือ
3) การสร้างแหล่งชุมชน และก่อสร้างสาธารณูปโภค
4) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
5) การจัดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชายทะเล
หากเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนรายจังหวัดในช่วงปี 2518 - 2536 พบว่า จังหวัดชลบุรีมีอัตราลดลงเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดถึงร้อยละ 5.42 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส่วนจังหวัดกระบี่มีอัตราการลดลงเฉลี่ยต่อปีน้อยที่สุด จากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2536 พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่เพียง 1,054,266 ไร่ โดยมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในเขตที่มีการจำแนก ได้แก่ นากุ้ง 406,198.50 ไร่ แหล่งชุมชน 31,007.00 ไร่ และพื้นที่ที่ใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่สามารถจำแนกได้โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมอีกจำนวน 836,328.50 ไร่
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการจัดการป่าชายเลนของประเทศในส่วนที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2542 - 2546) วงเงินงบประมาณ 342,258,540 บาท โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และให้จัดตั้งงบประมาณภายในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยได้จัดกลุ่มเป็นรายภาค ดังนี้
1. แผนการจัดการป่าชายเลนของภาคกลาง ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
2. แผนการจัดการป่าชายเลนของภาคตะวันออก ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา
3. แผนการจัดการป่าชายเลนของภาคใต้ ประกอบด้วย 12 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชพัทลุง สงขลา ปัตตานี ระยอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 7 ตุลาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานภาพปัจจุบันของป่าชายเลนของประเทศ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สถานการณ์ทั่วไป
จากการสำรวจพื้นที่ป่านชายเลนของประเทศไทยในปี 2504 พบว่ามีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,299,375 ไร่ หรือร้อยละ 0.72 ของพื้นที่ประเทศ กระจายอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ครอบคลุม 22 จังหวัดชายฝั่งทะเลของประเทศ ซึ่งในระยะเวลาต่อมาพื้นที่ป่าชายเลนกลับลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มอัตราการบุกรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2536 พื้นที่ป่าชายเลนคงเหลือเพียง 1,054,266 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ถูกทำลาย 1,245,109 ไร่หรือร้อยละ 54.15 เมื่อเทียบกับปี 2504
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรายภาคในช่วงปี 2518 - 2536 พบว่าภาคใต้มีการบุกรุกทำลายมากที่สุดถึง 26,711 ไร่ต่อปี รองลงมาคือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ซึ่งมีพื้นที่ถูกทำลายเฉลี่ยปีละ 12,483 และ 10,811 ไร่ ตามลำดับ
2. การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลน
พื้นที่ป่าชายเลนที่ลดจำนวนลงมีสาเหตุจากการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ทั้งโดยการบุกรุกและลักลอบตัดไม้รวมทั้งการเข้าทำประโยชน์โดยได้รับอนุญาตเพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ
1) การทำเหมืองแร่
2) การสร้างท่าเทียบเรือ
3) การสร้างแหล่งชุมชน และก่อสร้างสาธารณูปโภค
4) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
5) การจัดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชายทะเล
หากเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนรายจังหวัดในช่วงปี 2518 - 2536 พบว่า จังหวัดชลบุรีมีอัตราลดลงเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดถึงร้อยละ 5.42 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส่วนจังหวัดกระบี่มีอัตราการลดลงเฉลี่ยต่อปีน้อยที่สุด จากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2536 พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่เพียง 1,054,266 ไร่ โดยมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในเขตที่มีการจำแนก ได้แก่ นากุ้ง 406,198.50 ไร่ แหล่งชุมชน 31,007.00 ไร่ และพื้นที่ที่ใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่สามารถจำแนกได้โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมอีกจำนวน 836,328.50 ไร่
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการจัดการป่าชายเลนของประเทศในส่วนที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2542 - 2546) วงเงินงบประมาณ 342,258,540 บาท โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และให้จัดตั้งงบประมาณภายในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยได้จัดกลุ่มเป็นรายภาค ดังนี้
1. แผนการจัดการป่าชายเลนของภาคกลาง ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
2. แผนการจัดการป่าชายเลนของภาคตะวันออก ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา
3. แผนการจัดการป่าชายเลนของภาคใต้ ประกอบด้วย 12 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชพัทลุง สงขลา ปัตตานี ระยอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 7 ตุลาคม 2540--