ทำเนียบรัฐบาล--16 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เรื่อง หนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารโลก และรับทราบรายงานผลการเจรจากู้เงินสำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน ดังนี้
1. เห็นชอบในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (Letter of Development Policy - LDP) ด้านการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือดังกล่าวเพื่อส่งให้ธนาคารโลกต่อไป
2. อนุมัติเงื่อนไขตามร่างสัญญากู้เงิน ดังนี้
ผู้กู้ : กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ผู้ให้กู้ : ธนาคารโลก
วงเงินกู้ : เป็นเงินกู้ในระบบเงินกู้สกุลเดียว (Single Currency Loan) สกุลเงินเหรียญสหรัฐ อัตราดอกเบี้ยคงที่ในวงเงิน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ
ระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ : ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 หรือวันที่ธนาคารโลกจะแจ้งเป็นวันหลังจากนั้น โดยสามารถเบิกจ่ายเพียงงวดเดียวได้ทั้งจำนวน
งวดการชำระดอกเบี้ย : ชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 มิถุนายน และ 15 ธันวาคม ของแต่ละปี
ระยะเวลากู้เงิน : ประมาณ 15 ปี (รวมระยะเวลาปลดหนี้ 3 ปี) ทั้งนี้ ระยะเวลาเงินกู้จะสิ้นสุดในวันที่ 15 มิถุนายน 2556
การชำระคืนเงินกู้ : แบ่งเป็น 24 งวด กำหนดชำระปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 15 มิถุนายน และ 15 ธันวาคม โดยเริ่มชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรกในวันชำระดอกเบี้ยงวดที่ 7 และชำระคืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายในวันชำระดอกเบี้ยงวดที่ 24 แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มิถุนายน 2556 ทั้งนี้ การชำระต้นเงินกู้แต่ละ งวดต้องไม่ต่ำกว่า 1/18 ของยอดเงินกู้ที่เบิกจ่ายงวดนั้น
ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ : อัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
อัตราดอกเบี้ย : ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ของระบบเงินกู้สกุลเดียว ซึ่งมีวิธีคำนวณตามอัตราต้นทุนการกู้เงินของธนาคารโลก บวกค่าธรรมเนียมและส่วนต่าง ซึ่งวันกำหนดอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับวันที่ เบิกจ่ายเงินกู้ และธนาคารโลกจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยให้ทราบหลังจากวันที่เบิกจ่ายเงินกู้
เงื่อนไขอื่น ๆ : 1. ผู้กู้จะต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อการพัฒนา (LDP)
2. สัญญามีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน นับจากวันลงนามในสัญญา
3. อนุมัติให้กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกู้เงินจากธนาคารโลกในวงเงิน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ. 2519 เพื่อใช้สำหรับดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน และโดยที่การกู้เงินดังกล่าวเป็นการก่อหนี้ก่อนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปี 2541 ดังนั้น จึงขอให้นับรวมวงเงินกู้ดังกล่าวไว้ในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2541 ด้วย
4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงิน และเอกสารที่เกี่ยวข้องในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
5. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดเตรียมทำความเห็นทางกฎหมายโดยด่วนต่อไป ทั้งนี้ความเห็นทางกฎหมายจะต้องส่งถึงธนาคารโลกภายในวันที่ 23 ธันวาคม 2540
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานผลการดำเนินการกู้เงินจากธนาคารโลกภายใต้กรอบการรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดังนี้
1. ธนาคารโลกได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นเงินกู้สำหรับโครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projects) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นเงินกู้ที่จะผูกพันใหม่ภายใต้กรอบความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loans - SAL) จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. สำหรับเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารโลก จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.1 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูประบบการเงิน วงเงินกู้ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะแบ่งการกู้เงินออกเป็น 2 โครงการ ประกอบด้วย
1) โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน (Finance Companies Restructuring Project) วงเงินกู้ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ
2) โครงการเงินกู้เพื่อปฏิรูปภาคการเงิน (Financial Sector Reform Project) วงเงินกู้ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 โครงการเงินกู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเศรษฐกิจมหภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย วงเงินกู้ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในชั้นแรก ได้กำหนดจะกู้เงินสำหรับโครงการที่ 1) ก่อน โดยกระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย มีพันธะที่จะต้องจัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (Letter of Development Policy - LDP) เพื่อแสดงความตั้งใจจริงของฝ่ายไทยที่จะดำเนินการตามนโยบายและมาตรการในการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารโลกจะใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติเงินกู้และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินด้วย
3. โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนดุลการชำระเงินตามกรอบการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในขั้นแรกรัฐบาลต้องมีนโยบายและมาตรการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ และเสริมสร้างประสิทธิภาพตลอดจนความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการอยู่
4. โดยที่กระทรวงการคลังมีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้ดังกล่าวโดยด่วน จึงได้ประสานงานกับธนาคารโลกเพื่อให้สามารถเสนอคณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกพิจารณาอนุมัติเงินกู้นี้ได้ในโอกาสแรก คือวันที่ 23 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมคณะกรรมการบริหารธนาคารโลกในปี 2540 ดังนั้น ธนาคารโลกจึงได้กำหนดการเจรจาในรายละเอียดของหนังสือแสดงเจตจำนง (LDP) และสัญญากู้เงินดังกล่าวในวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2540 ณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
5. ในการนี้ กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เจรจากับธนาคารโลกในรายละเอียดของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) และร่างสัญญากู้เงินโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 8 - 10 ธันวาคม ศกนี้
สำหรับร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) ด้านการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน นั้น กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยโดยการหารือกับธนาคารโลกได้พิจารณาจัดทำร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารโลก ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลไทยจะต้องพึงปฏิบัติต่อไป สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการเร่งรัดแก้ปัญหาบริษัทเงินทุนที่ถูกปิดกิจการ
1) องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อประสานงานกับผู้จัดการพิเศษและกรรมการที่ ปรส. แต่งตั้งให้ดูแลการแยกทรัพย์สินที่ดีและที่ด้อยคุณภาพของบริษัทเงินทุนที่ต้องเลิกกิจการ โดยจะต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541
2) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ต้องเริ่มดำเนินการและมีเจ้าหน้าที่ประจำการ รวมทั้งต้องมีเงินทุนสำหรับการดำเนินงานอย่างเพียงพอ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2541 ซึ่งทางการได้กำหนดเงินทุนขั้นแรกให้ 1,000 ล้านบาท และได้จ่ายชำระแล้ว 250 ล้านบาท ทั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนใน บบส. ได้ด้วย
2. มาตรการเสริมสร้างความมั่นคงให้บริษัทเงินทุนที่เปิดดำเนินการอยู่
1) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการตามแผนเสริมสร้างความมั่นคง โดยจะวิเคราะห์ฐานะของบริษัทเงินทุนจากแบบรายงาน ประกอบกับการเข้าตรวจสอบ เพื่อจำแนกกลุ่มตามลักษณะของปัญหาที่อาจมี เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดมาตรการแก้ไขที่ชัดเจนทันท่วงที ซึ่งรวมถึงการเข้าแทรกแซงบริษัทด้วย
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้บริษัทเงินทุนที่จำเป็นต้องเพิ่มทุนลงนามในบันทึกความเข้าใจภายในเดือนธันวาคม 2540 และจะติดตามให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกความเข้าใจอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจในความเพียงพอของจำนวนเงินที่ต้องเพิ่มทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญอิสระจะเข้าไปตรวจสอบฐานะของบริษัทเหล่านี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ตามขอบเขตการตรวจสอบที่จะได้กำหนดขึ้นในเดือนมกราคม 2541
3) ทางการมีแผนจะปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคงของบริษัทเงินทุนเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้กับธนาคารพาณิชย์ โดยจะค่อย ๆ ทยอยบังคับใช้เป็นลำดับ
4) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ที่เข้มงวดขึ้น โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม และกรกฎาคม 2541 จะค่อย ๆ ทยอยบังคับใช้กฎเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนให้เข้มงวดขึ้นทัดเทียมกับธนาคารพาณิชย์ ดังนี้
- กำหนดอัตราส่วนสูงสุดของเงินลงทุนในหุ้นไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุน
- กำหนดอัตราส่วนลูกหนี้รายใหญ่แต่ละรายไม่ให้เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน
- กำหนดฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิทางด้านสินทรัพย์และหนี้สินไม่ให้เกินร้อยละ 25 และร้อยละ 20 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามลำดับ
- ให้บริษัทเงินทุนส่งแผนสินเชื่อต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทุกงวด 6 เดือน
5) ผู้บริหารของบริษัทเงินทุนทุกบริษัทมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นงดการจ่ายเงินปันผลในงวดธันวาคม 2540 และมิถุนายน 2541
6) ทางการได้กำหนดนโยบายในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศเข้าถือหุ้นของบริษัทเงินทุนได้เต็มที่จนถึงร้อยละ 100
3. มาตรการอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่ภาคเศรษฐกิจการเงิน
1) ทางการจะทำการปฏิรูปการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และลดภาระการเข้ารับผิดชอบทางการเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ ลง โดยทางการจะทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุนฟื้นฟูฯ อย่างรอบคอบ ซึ่งการทบทวนคาดว่าจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2541 และจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2541 ผลของการทบทวนนี้จะเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกองทุนฟื้นฟูฯ กับธนาคารแห่งประเทศไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยในการประเมินความเหมาะสมของผู้บริหาร กรรมการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน ทั้งที่ทำธุรกิจอยู่แล้วและที่จะได้รับอนุญาตใหม่
3) ทางการมีนโยบายชัดเจนที่จะเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ด้วยการเปลี่ยนผู้บริหาร หรือให้ลดทุนตัดส่วนสูญเสีย ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการบริหารงานมากขึ้น
4) ทางการจะปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินในด้านที่จะก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารเกี่ยวกับ การให้กู้ยืมแก่ผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กฎเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการกำกับสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม โดยจะทยอยใช้บังคับเป็นลำดับภายในเวลาที่กำหนดไว้
5) ทางการจะพัฒนาขั้นตอนการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะใช้ในการให้ใบอนุญาตสถาบันการเงินรายใหม่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของสถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว
6) เพื่อให้สถาบันการเงินทุกแห่งอยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อจำกัดขอบเขตภาระของรัฐบาลจากผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทางการจะประกาศกำหนดมาตรฐานการบัญชีและกฎเกณฑ์ในการดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในลักษณะที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่ของธนาคารพาณิชย์ โดยจะให้เริ่มการปฏิบัติขั้นต้นภายในวันที่ 30 กันยายน 2541
7) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินอย่างเฉียบพลัน ภายใต้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารโลก และจะประกาศให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนรับทราบภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2541 หลังจากนั้น จะเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์ เพื่อบรรจุขั้นตอนการแก้ไขเฉียบพลันดังกล่าวไว้ในกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541
8) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเตรียมแผนการพัฒนาโครงสร้างสถาบันการเงินภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจะเน้นในเรื่องการเข้าตรวจสอบและการวิเคราะห์ฐานะสถาบันการเงินจากแบบรายงาน ตลอดจนการบังคับใช้กฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ทางการจะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ในการกำกับสถาบันการเงินขององค์กรต่าง ๆ และพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่จำเป็นเพื่อกำหนดโครงสร้างและความรับผิดชอบของงานกำกับตรวจสอบ รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำในหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลต่าง ๆ
9) ทางการยืนยันที่จะดำเนินมาตรการในการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลที่กำกับดูแล และสาธารณชนจำเป็นต้องใช้ในการประเมินสถานะทางการเงินและความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินดังนี้
- การปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดชั้นสินเชื่อให้เข้มงวดขึ้น โดยกำหนดให้สถาบันการเงินทุกแห่งกันสำรองสำหรับลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2540
- เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป ห้ามไม่ให้สถาบันการเงินรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเกินกว่า 6 เดือน เข้าเป็นรายได้ของบริษัท ซึ่งเข้มงวดกว่าเกณฑ์ปัจจุบันที่ให้นับดอกเบี้ยค้างชำระได้ 12 เดือน
- การออกกฎเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อและการกันสำรองอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรฐานสากลภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ข้อบังคับใหม่นี้จะทยอยมีผลบังคับใช้ และจะมีผลอย่างเต็มที่ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2543
10) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลที่เผยแพร่ต่อผู้ลงทุนและสาธารณชน ทางการจะดำเนินขั้นตอนการปรับปรุงดังนี้
- ภายในวันที่ 15 มกราคม 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศคำจำกัดความของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินประจำงวดธันวาคม 2540 ภายใต้คำจำกัดความใหม่นี้ สินเชื่อที่ค้างชำระเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงหลักประกัน รวมทั้งจะไม่อนุญาตให้หักสินเชื่อทีได้ปรับโครงสร้างใหม่แล้วออกจากยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดังเช่นในงวดที่ผ่านมา
- ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดส่งร่างประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้สถาบันการเงินพิจารณาออกความเห็น
- หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะประกาศใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ซึ่งรวมถึงตารางเวลาในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับยอดสินเชื่อที่มีการปรับโครงสร้างใหม่ สินเชื่อที่มีการต่ออายุสัญญาออกไป การสำรองเผื่อหนี้สูญ และการให้กู้ยืมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็ง และการบังคับใช้กฎเกณฑ์ทางการบัญชี การตรวจสอบบัญชี และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 หลังจากนั้นก็จะดำเนินการปรับปรุงในลักษณะเดียวกันสำหรับธุรกิจเอกชนอื่น ๆ ต่อไป
11) ทางการยืนยันที่จะยกเลิกการรับประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้อย่างเต็มจำนวนที่ใช้อยในภาวะฉุกเฉิน และจะทดแทนด้วยระบบการประกันเงินฝากแบบจำกัดจำนวน โดยจะทำการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541
12) ทางการจะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายล้มละลายให้เสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 เพื่ออนุญาตให้ลูกหนี้ดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการได้เร่งรัดการบังคับหลักประกัน และเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้เข้าร่วมฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ธันวาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เรื่อง หนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารโลก และรับทราบรายงานผลการเจรจากู้เงินสำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน ดังนี้
1. เห็นชอบในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (Letter of Development Policy - LDP) ด้านการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือดังกล่าวเพื่อส่งให้ธนาคารโลกต่อไป
2. อนุมัติเงื่อนไขตามร่างสัญญากู้เงิน ดังนี้
ผู้กู้ : กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ผู้ให้กู้ : ธนาคารโลก
วงเงินกู้ : เป็นเงินกู้ในระบบเงินกู้สกุลเดียว (Single Currency Loan) สกุลเงินเหรียญสหรัฐ อัตราดอกเบี้ยคงที่ในวงเงิน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ
ระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ : ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 หรือวันที่ธนาคารโลกจะแจ้งเป็นวันหลังจากนั้น โดยสามารถเบิกจ่ายเพียงงวดเดียวได้ทั้งจำนวน
งวดการชำระดอกเบี้ย : ชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 มิถุนายน และ 15 ธันวาคม ของแต่ละปี
ระยะเวลากู้เงิน : ประมาณ 15 ปี (รวมระยะเวลาปลดหนี้ 3 ปี) ทั้งนี้ ระยะเวลาเงินกู้จะสิ้นสุดในวันที่ 15 มิถุนายน 2556
การชำระคืนเงินกู้ : แบ่งเป็น 24 งวด กำหนดชำระปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 15 มิถุนายน และ 15 ธันวาคม โดยเริ่มชำระคืนต้นเงินกู้งวดแรกในวันชำระดอกเบี้ยงวดที่ 7 และชำระคืนต้นเงินกู้งวดสุดท้ายในวันชำระดอกเบี้ยงวดที่ 24 แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มิถุนายน 2556 ทั้งนี้ การชำระต้นเงินกู้แต่ละ งวดต้องไม่ต่ำกว่า 1/18 ของยอดเงินกู้ที่เบิกจ่ายงวดนั้น
ค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ : อัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
อัตราดอกเบี้ย : ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ของระบบเงินกู้สกุลเดียว ซึ่งมีวิธีคำนวณตามอัตราต้นทุนการกู้เงินของธนาคารโลก บวกค่าธรรมเนียมและส่วนต่าง ซึ่งวันกำหนดอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับวันที่ เบิกจ่ายเงินกู้ และธนาคารโลกจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยให้ทราบหลังจากวันที่เบิกจ่ายเงินกู้
เงื่อนไขอื่น ๆ : 1. ผู้กู้จะต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อการพัฒนา (LDP)
2. สัญญามีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน นับจากวันลงนามในสัญญา
3. อนุมัติให้กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกู้เงินจากธนาคารโลกในวงเงิน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ พ.ศ. 2519 เพื่อใช้สำหรับดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน และโดยที่การกู้เงินดังกล่าวเป็นการก่อหนี้ก่อนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปี 2541 ดังนั้น จึงขอให้นับรวมวงเงินกู้ดังกล่าวไว้ในแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2541 ด้วย
4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงิน และเอกสารที่เกี่ยวข้องในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
5. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดเตรียมทำความเห็นทางกฎหมายโดยด่วนต่อไป ทั้งนี้ความเห็นทางกฎหมายจะต้องส่งถึงธนาคารโลกภายในวันที่ 23 ธันวาคม 2540
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานผลการดำเนินการกู้เงินจากธนาคารโลกภายใต้กรอบการรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดังนี้
1. ธนาคารโลกได้ผูกพันที่จะให้เงินกู้แก่ประเทศไทยในวงเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นเงินกู้สำหรับโครงการที่ได้ผูกพันแล้ว (Ongoing Projects) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นเงินกู้ที่จะผูกพันใหม่ภายใต้กรอบความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loans - SAL) จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. สำหรับเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากธนาคารโลก จำนวน 900 ล้านเหรียญสหรัฐ แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.1 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างและปฏิรูประบบการเงิน วงเงินกู้ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะแบ่งการกู้เงินออกเป็น 2 โครงการ ประกอบด้วย
1) โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน (Finance Companies Restructuring Project) วงเงินกู้ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ
2) โครงการเงินกู้เพื่อปฏิรูปภาคการเงิน (Financial Sector Reform Project) วงเงินกู้ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 โครงการเงินกู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเศรษฐกิจมหภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย วงเงินกู้ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในชั้นแรก ได้กำหนดจะกู้เงินสำหรับโครงการที่ 1) ก่อน โดยกระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย มีพันธะที่จะต้องจัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (Letter of Development Policy - LDP) เพื่อแสดงความตั้งใจจริงของฝ่ายไทยที่จะดำเนินการตามนโยบายและมาตรการในการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารโลกจะใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติเงินกู้และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินด้วย
3. โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนดุลการชำระเงินตามกรอบการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในขั้นแรกรัฐบาลต้องมีนโยบายและมาตรการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ และเสริมสร้างประสิทธิภาพตลอดจนความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการอยู่
4. โดยที่กระทรวงการคลังมีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้ดังกล่าวโดยด่วน จึงได้ประสานงานกับธนาคารโลกเพื่อให้สามารถเสนอคณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกพิจารณาอนุมัติเงินกู้นี้ได้ในโอกาสแรก คือวันที่ 23 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมคณะกรรมการบริหารธนาคารโลกในปี 2540 ดังนั้น ธนาคารโลกจึงได้กำหนดการเจรจาในรายละเอียดของหนังสือแสดงเจตจำนง (LDP) และสัญญากู้เงินดังกล่าวในวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2540 ณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
5. ในการนี้ กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เจรจากับธนาคารโลกในรายละเอียดของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) และร่างสัญญากู้เงินโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 8 - 10 ธันวาคม ศกนี้
สำหรับร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) ด้านการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน นั้น กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยโดยการหารือกับธนาคารโลกได้พิจารณาจัดทำร่างหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารโลก ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลไทยจะต้องพึงปฏิบัติต่อไป สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการเร่งรัดแก้ปัญหาบริษัทเงินทุนที่ถูกปิดกิจการ
1) องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อประสานงานกับผู้จัดการพิเศษและกรรมการที่ ปรส. แต่งตั้งให้ดูแลการแยกทรัพย์สินที่ดีและที่ด้อยคุณภาพของบริษัทเงินทุนที่ต้องเลิกกิจการ โดยจะต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541
2) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ต้องเริ่มดำเนินการและมีเจ้าหน้าที่ประจำการ รวมทั้งต้องมีเงินทุนสำหรับการดำเนินงานอย่างเพียงพอ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2541 ซึ่งทางการได้กำหนดเงินทุนขั้นแรกให้ 1,000 ล้านบาท และได้จ่ายชำระแล้ว 250 ล้านบาท ทั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนใน บบส. ได้ด้วย
2. มาตรการเสริมสร้างความมั่นคงให้บริษัทเงินทุนที่เปิดดำเนินการอยู่
1) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการตามแผนเสริมสร้างความมั่นคง โดยจะวิเคราะห์ฐานะของบริษัทเงินทุนจากแบบรายงาน ประกอบกับการเข้าตรวจสอบ เพื่อจำแนกกลุ่มตามลักษณะของปัญหาที่อาจมี เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดมาตรการแก้ไขที่ชัดเจนทันท่วงที ซึ่งรวมถึงการเข้าแทรกแซงบริษัทด้วย
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดให้บริษัทเงินทุนที่จำเป็นต้องเพิ่มทุนลงนามในบันทึกความเข้าใจภายในเดือนธันวาคม 2540 และจะติดตามให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกความเข้าใจอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจในความเพียงพอของจำนวนเงินที่ต้องเพิ่มทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญอิสระจะเข้าไปตรวจสอบฐานะของบริษัทเหล่านี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ตามขอบเขตการตรวจสอบที่จะได้กำหนดขึ้นในเดือนมกราคม 2541
3) ทางการมีแผนจะปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคงของบริษัทเงินทุนเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้กับธนาคารพาณิชย์ โดยจะค่อย ๆ ทยอยบังคับใช้เป็นลำดับ
4) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ที่เข้มงวดขึ้น โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม และกรกฎาคม 2541 จะค่อย ๆ ทยอยบังคับใช้กฎเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนให้เข้มงวดขึ้นทัดเทียมกับธนาคารพาณิชย์ ดังนี้
- กำหนดอัตราส่วนสูงสุดของเงินลงทุนในหุ้นไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุน
- กำหนดอัตราส่วนลูกหนี้รายใหญ่แต่ละรายไม่ให้เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน
- กำหนดฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิทางด้านสินทรัพย์และหนี้สินไม่ให้เกินร้อยละ 25 และร้อยละ 20 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามลำดับ
- ให้บริษัทเงินทุนส่งแผนสินเชื่อต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทุกงวด 6 เดือน
5) ผู้บริหารของบริษัทเงินทุนทุกบริษัทมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นงดการจ่ายเงินปันผลในงวดธันวาคม 2540 และมิถุนายน 2541
6) ทางการได้กำหนดนโยบายในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศเข้าถือหุ้นของบริษัทเงินทุนได้เต็มที่จนถึงร้อยละ 100
3. มาตรการอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่ภาคเศรษฐกิจการเงิน
1) ทางการจะทำการปฏิรูปการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และลดภาระการเข้ารับผิดชอบทางการเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ ลง โดยทางการจะทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุนฟื้นฟูฯ อย่างรอบคอบ ซึ่งการทบทวนคาดว่าจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2541 และจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2541 ผลของการทบทวนนี้จะเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกองทุนฟื้นฟูฯ กับธนาคารแห่งประเทศไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยในการประเมินความเหมาะสมของผู้บริหาร กรรมการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน ทั้งที่ทำธุรกิจอยู่แล้วและที่จะได้รับอนุญาตใหม่
3) ทางการมีนโยบายชัดเจนที่จะเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ด้วยการเปลี่ยนผู้บริหาร หรือให้ลดทุนตัดส่วนสูญเสีย ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการบริหารงานมากขึ้น
4) ทางการจะปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินในด้านที่จะก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารเกี่ยวกับ การให้กู้ยืมแก่ผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กฎเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการกำกับสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม โดยจะทยอยใช้บังคับเป็นลำดับภายในเวลาที่กำหนดไว้
5) ทางการจะพัฒนาขั้นตอนการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะใช้ในการให้ใบอนุญาตสถาบันการเงินรายใหม่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของสถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว
6) เพื่อให้สถาบันการเงินทุกแห่งอยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อจำกัดขอบเขตภาระของรัฐบาลจากผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทางการจะประกาศกำหนดมาตรฐานการบัญชีและกฎเกณฑ์ในการดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในลักษณะที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่ของธนาคารพาณิชย์ โดยจะให้เริ่มการปฏิบัติขั้นต้นภายในวันที่ 30 กันยายน 2541
7) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินอย่างเฉียบพลัน ภายใต้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารโลก และจะประกาศให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนรับทราบภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2541 หลังจากนั้น จะเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์ เพื่อบรรจุขั้นตอนการแก้ไขเฉียบพลันดังกล่าวไว้ในกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541
8) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเตรียมแผนการพัฒนาโครงสร้างสถาบันการเงินภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจะเน้นในเรื่องการเข้าตรวจสอบและการวิเคราะห์ฐานะสถาบันการเงินจากแบบรายงาน ตลอดจนการบังคับใช้กฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ทางการจะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ในการกำกับสถาบันการเงินขององค์กรต่าง ๆ และพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่จำเป็นเพื่อกำหนดโครงสร้างและความรับผิดชอบของงานกำกับตรวจสอบ รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำในหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลต่าง ๆ
9) ทางการยืนยันที่จะดำเนินมาตรการในการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลที่กำกับดูแล และสาธารณชนจำเป็นต้องใช้ในการประเมินสถานะทางการเงินและความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินดังนี้
- การปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดชั้นสินเชื่อให้เข้มงวดขึ้น โดยกำหนดให้สถาบันการเงินทุกแห่งกันสำรองสำหรับลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2540
- เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป ห้ามไม่ให้สถาบันการเงินรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเกินกว่า 6 เดือน เข้าเป็นรายได้ของบริษัท ซึ่งเข้มงวดกว่าเกณฑ์ปัจจุบันที่ให้นับดอกเบี้ยค้างชำระได้ 12 เดือน
- การออกกฎเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อและการกันสำรองอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรฐานสากลภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ข้อบังคับใหม่นี้จะทยอยมีผลบังคับใช้ และจะมีผลอย่างเต็มที่ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2543
10) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลที่เผยแพร่ต่อผู้ลงทุนและสาธารณชน ทางการจะดำเนินขั้นตอนการปรับปรุงดังนี้
- ภายในวันที่ 15 มกราคม 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศคำจำกัดความของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินประจำงวดธันวาคม 2540 ภายใต้คำจำกัดความใหม่นี้ สินเชื่อที่ค้างชำระเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงหลักประกัน รวมทั้งจะไม่อนุญาตให้หักสินเชื่อทีได้ปรับโครงสร้างใหม่แล้วออกจากยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดังเช่นในงวดที่ผ่านมา
- ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดส่งร่างประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้สถาบันการเงินพิจารณาออกความเห็น
- หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะประกาศใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ซึ่งรวมถึงตารางเวลาในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับยอดสินเชื่อที่มีการปรับโครงสร้างใหม่ สินเชื่อที่มีการต่ออายุสัญญาออกไป การสำรองเผื่อหนี้สูญ และการให้กู้ยืมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็ง และการบังคับใช้กฎเกณฑ์ทางการบัญชี การตรวจสอบบัญชี และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 หลังจากนั้นก็จะดำเนินการปรับปรุงในลักษณะเดียวกันสำหรับธุรกิจเอกชนอื่น ๆ ต่อไป
11) ทางการยืนยันที่จะยกเลิกการรับประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้อย่างเต็มจำนวนที่ใช้อยในภาวะฉุกเฉิน และจะทดแทนด้วยระบบการประกันเงินฝากแบบจำกัดจำนวน โดยจะทำการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2541
12) ทางการจะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายล้มละลายให้เสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 เพื่ออนุญาตให้ลูกหนี้ดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการได้เร่งรัดการบังคับหลักประกัน และเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้เข้าร่วมฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ธันวาคม 2540--