แท็ก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง
ทำเนียบรัฐบาล--14 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง 7 ฉบับ ที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2520
ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำนวน 7 ฉบับ มีดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยประเภทนายจ้างที่พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานปกติของแต่ละประเภทงาน
3. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
4. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้
5. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและชั่วโมงทำงานในวันหยุด
6. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถของลูกจ้าง
7. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยงานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำ
โดยที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้บังคับแทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป และต้องออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจำแนกเป็นกลุ่มตามช่วงเวลาในการดำเนินการได้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นกฎกระทรวงซึ่งจะต้องออกใช้พร้อมกับพระราชบัญญัติมีจำนวน 7 ฉบับ
กลุ่มที่ 2 เป็นกฎกระทรวงเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานเป็นพิเศษแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติ
กลุ่มที่ 3 เป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสวัสดิการตามมาตรา 95 และกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามมาตรา 103 และมาตรา 107 อันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน และคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคี (ที่มีการจัดตั้งได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับแล้ว) เป็นผู้เสนอความเห็นในการออกกฎกระทรวงดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
กลุ่มที่ 4 เป็นการออกกฎกระทรวงในภายหน้า ได้แก่ กฎกระทรวงที่ออกตามหมวด 13 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างส่งเข้ากองทุนฯ ซึ่งมีบทเฉพาะกาลกำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้มีสภาพความพร้อมก่อน และในส่วนที่มีบทบัญญัติบางมาตรา ซึ่งได้กำหนดหลักการไว้สมบูรณ์แล้ว แต่เผื่อให้ออกกฎกระทรวงในภายหน้าเพื่อเพิ่มเติมข้อกำหนดนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้แล้วในภายหน้าได้ โดยไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่ากฎกระทรวงกลุ่มที่ 1 จำนวน 7 ฉบับ จะต้องมีผลใช้บังคับพร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สมควรขอความเห็นชอบในหลักการต่อคณะรัฐมนตรี และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อน สำหรับกฎกระทรวงกลุ่มที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ เมื่อได้ข้อยุติแล้ว จะเสนอร่างกฎกระทรวงกลุ่มนี้ในคราวต่อไป ส่วนกฎกระทรวงกลุ่มที่ 3 เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีและพิจารณาเสนอความเห็นต่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแล้ว ก็จะนำเสนอร่างกฎกระทรวงเพื่อพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง 7 ฉบับ ที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2520
ร่างกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำนวน 7 ฉบับ มีดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยประเภทนายจ้างที่พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานปกติของแต่ละประเภทงาน
3. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
4. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้
5. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและชั่วโมงทำงานในวันหยุด
6. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถของลูกจ้าง
7. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยงานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำ
โดยที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้บังคับแทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป และต้องออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจำแนกเป็นกลุ่มตามช่วงเวลาในการดำเนินการได้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นกฎกระทรวงซึ่งจะต้องออกใช้พร้อมกับพระราชบัญญัติมีจำนวน 7 ฉบับ
กลุ่มที่ 2 เป็นกฎกระทรวงเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานเป็นพิเศษแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติ
กลุ่มที่ 3 เป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสวัสดิการตามมาตรา 95 และกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามมาตรา 103 และมาตรา 107 อันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน และคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคี (ที่มีการจัดตั้งได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับแล้ว) เป็นผู้เสนอความเห็นในการออกกฎกระทรวงดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
กลุ่มที่ 4 เป็นการออกกฎกระทรวงในภายหน้า ได้แก่ กฎกระทรวงที่ออกตามหมวด 13 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างส่งเข้ากองทุนฯ ซึ่งมีบทเฉพาะกาลกำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้มีสภาพความพร้อมก่อน และในส่วนที่มีบทบัญญัติบางมาตรา ซึ่งได้กำหนดหลักการไว้สมบูรณ์แล้ว แต่เผื่อให้ออกกฎกระทรวงในภายหน้าเพื่อเพิ่มเติมข้อกำหนดนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้แล้วในภายหน้าได้ โดยไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่ากฎกระทรวงกลุ่มที่ 1 จำนวน 7 ฉบับ จะต้องมีผลใช้บังคับพร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สมควรขอความเห็นชอบในหลักการต่อคณะรัฐมนตรี และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อน สำหรับกฎกระทรวงกลุ่มที่ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ เมื่อได้ข้อยุติแล้ว จะเสนอร่างกฎกระทรวงกลุ่มนี้ในคราวต่อไป ส่วนกฎกระทรวงกลุ่มที่ 3 เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีและพิจารณาเสนอความเห็นต่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแล้ว ก็จะนำเสนอร่างกฎกระทรวงเพื่อพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กรกฎาคม 2541--