คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สธ.เสนอว่า
1. เนื่องจากพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 ได้กำหนดสาขาการประกอบโรคศิลปะเป็น 7 สาขา วิชาชีพ คือ สาขากิจกรรมบำบัด สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก สาขารังสีเทคนิค สาขาจิตวิทยาคลินิก สาขากายอุปกรณ์ และสาขาการแพทย์แผนจีน ประกอบกับการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ได้มีการยกเลิกและนำไปบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว
2. สธ. ได้ตรวจสอบกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พบว่ากฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2545 ยังไม่มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการโรคศิลปะ พ.ศ. ....
3. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 22 มกราคม 2557 ได้มีมติรับรองร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. .... แล้ว
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1 มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2545
2. กำหนดค่าธรรมเนียม มีดังนี้
ค่าธรรมเนียม อัตราตามกฎกระทรวงเดิม อัตราที่ขอปรับปรุง ฉบับละ/บาท ฉบับละ/บาท - ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ (ก) สาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (เดิม) 500 - (ข) สาขากายภาพบำบัด สาขาเทคนิคการแพทย์และสาขาอื่น (เดิม) 1,000 - (ก) สาขากิจกรรมบำบัด 1,000 (ข) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย 1,000 (ค) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก 1,000 (ง) สาขารังสีเทคนิค 1,000 (จ) สาขาจิตวิทยาคลินิก 1,000 (ฉ) สาขากายอุปกรณ์ 1,000 (ช) สาขาการแพทย์แผนจีน 1,000 (ซ) สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 1,000 - ค่าต่ออายุใบอนุญาต 200 500 - ค่าแก้ไขหรือเพิ่มเติมทะเบียนและใบอนุญาต 100 300 - ค่าหนังสือรับรอง (ก) หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ 100 500 (ข) หนังสือรับรองอย่างอื่น 100 500 - ค่าสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ดังต่อไปนี้ (ก) สาขาแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (เดิม) (ข) สาขากายภาพบำบัด สาขาเทคนิคการแพทย์และสาขาอื่น (เดิม) 500 - (ก) สาขากิจกรรมบำบัด 1,000 - (ข) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย 1,000 (ค) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก 1,000 (ง) สาขารังสีเทคนิค 1,000 (จ) สาขาจิตวิทยาคลินิก 1,000 (ฉ) สาขากายอุปกรณ์ 1,000 (ช) สาขาการแพทย์แผนจีน 1,000 (ซ) สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 1,000 - ค่าหนังสืออนุมัติให้แสดงว่าเป็นผู้มีความชำนาญในการประกอบโรคศิลปะ 1,000 - ค่าใบแทนใบอนุญาต 500 1,000 - ค่าแปลใบอนุญาตของผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นภาษาต่างประเทศ 200 300 - ค่าคำร้องต่าง ๆ 300 500 20 50
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 ธันวาคม 2557--