คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รายงานผลการติดตามดูแลและแก้ไขปัญหาภัยแล้งของประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ได้เดินทางไปตรวจราชการและติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2548 ดังนี้
1. จังหวัดชุมพร
1.1 สภาพทั่วไป
ปัจจุบัน มีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 596 หมู่บ้าน ใน 8 อำเภอ 69 ตำบล มีราษฎร ได้รับความเดือดร้อนประมาณ 54,251 ครัวเรือน ประชากร 243,282 คน พื้นที่เกษตรเสียหาย 458,757 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นา 370 ไร่ พื้นที่ไร่ 302,762 ไร่ และพื้นที่สวน 155,625 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2548)
1.2 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) มีการประกาศให้ทุกอำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง
2) จัดตั้งศูนย์ดำเนินการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร และศูนย์ฯระดับอำเภอทุกอำเภอ
3) จัดรถบรรทุกน้ำ 49 คัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคในทุกอำเภออย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณน้ำสะสมรวม 34,482,000 ลิตร
4) จัดรถบรรทุกน้ำ 5 คัน แจกจ่ายน้ำให้พื้นที่การเกษตร จำนวน 304,500 ลิตร
5) ขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขิน รวม 55 แห่ง
6) ซ่อมสร้างฝาย/ทำนบ จำนวน 53 แห่ง
7) กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล 204 บ่อ ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ 24 เครื่อง และตั้งจุดจ่ายน้ำ 9 จุด
8) เกษตรกรพื้นที่อำเภอเมือง ท่าแซะ สวี และหลังสวน จำนวน 77 ราย โคเนื้อ และโคนมขาดแคลนพืชอาหาร ปศุสัตว์ได้ช่วยเหลือหญ้าแห้ง 1,400 ฟ่อน
9) ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ออกปฏิบัติการจัดทำฝนหลวงตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2548 แต่เนื่องจากความชื้นในอากาศมีน้อยและมีลมฝ่ายตะวันออกกำลังแรงพัดกลุ่มเมฆฝนไปตกในพื้นที่จังหวัดข้างเคียง ทำให้มีฝนตกปริมาณน้อยในจังหวัดชุมพร ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอการสนับสนุนให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาจัดตั้งฐานปฏิบัติการฝนหลวงที่สนามบินจังหวัดชุมพร เพื่อปฏิบัติการทำฝนหลวง โดยมาจัดตั้งฐานบินตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2548 ปัจจุบันมีเครื่องบินประจำ จำนวน 5 ลำ คือ เครื่องบิน CN 235 บรรทุกสารเคมีได้ 2 ตัน จำนวน 1 ลำและเครื่องบินปอร์ตเตอร์ บรรทุกสารเคมีได้ 0.6 ตัน จำนวน 4 ลำ โดยมีการปฏิบัติการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง
10) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนประหยัดน้ำและให้เตรียมจัดหาภาชนะเก็บน้ำไว้ทุกครัวเรือนในพื้นที่ประสบภัย เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้และรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันรักษาป่าไม้
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1) ปัจจุบันฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพรมีการจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่องทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 5 — 6 พฤษภาคม 2548 ทำให้สามารถบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งลงได้บ้าง แต่ปริมาณน้ำฝนยังไม่พอเพียงในบางพื้นที่ เนื่องจากมีลมฝ่ายตะวันออกที่พัดกลุ่มเมฆฝนไปตกในพื้นที่ต่อเนื่องกับจังหวัดระนอง ซึ่งขณะนี้ยังมีการออกปฏิบัติการทำฝนหลวงทุกวัน ตามสภาพอากาศที่เหมาะสม
2) รถบรรทุกน้ำจากหน่วยงานต่าง ๆ ยังแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ แต่พื้นที่สวนผลไม้หลายแห่งยังขาดแคลนน้ำ
2. จังหวัดระนอง
2.1 สภาพทั่วไป
ปัจจุบันมีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 159 หมู่บ้าน ใน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 28 ตำบล มีราษฎรได้รับเดือดร้อนประมาณ 31,126 ครัวเรือน ประชากร 102,733 คน พื้นที่เกษตรเสียหาย 46,075 ไร่ แยกเป็นพื้นที่นา 4 ไร่ พื้นที่ 848 ไร่ พื้นที่สวน 45,223 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2548)
2.2 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) มีการประกาศให้ 4 อำเภอและ 1 กิ่งอำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัย
2) จัดตั้งศูนย์ดำเนินการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง
3) จัดรถบรรทุกน้ำ 27 คัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคทุกอำเภออย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณน้ำรวม 18,944,000 ลิตร
4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเจาะบ่อบาดาล 10 บ่อ เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล 36 บ่อ ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ 31 เครื่อง และตั้งจุดจ่ายน้ำ 6 จุด
5) มีการปฏิบัติการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ฝนตกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต่อเนื่องกับจังหวัดชุมพร
6) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนประหยัดน้ำ และให้เตรียมจัดหาภาชนะเก็บน้ำไว้ทุกครัวเรือนในพื้นที่ประสบภัย เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้และรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันรักษาป่าไม้
2.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1) ปัจจุบันฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพรส่งเครื่องบินมาช่วยจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่ ปัญหาภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย
2) รถบรรทุกน้ำจากหน่วยงานต่างๆ ยังแจกจ่ายน้ำอุปโภคและบริโภค ให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. จังหวัดชุมพร
1.1 สภาพทั่วไป
ปัจจุบัน มีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 596 หมู่บ้าน ใน 8 อำเภอ 69 ตำบล มีราษฎร ได้รับความเดือดร้อนประมาณ 54,251 ครัวเรือน ประชากร 243,282 คน พื้นที่เกษตรเสียหาย 458,757 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นา 370 ไร่ พื้นที่ไร่ 302,762 ไร่ และพื้นที่สวน 155,625 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2548)
1.2 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) มีการประกาศให้ทุกอำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง
2) จัดตั้งศูนย์ดำเนินการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร และศูนย์ฯระดับอำเภอทุกอำเภอ
3) จัดรถบรรทุกน้ำ 49 คัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคในทุกอำเภออย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณน้ำสะสมรวม 34,482,000 ลิตร
4) จัดรถบรรทุกน้ำ 5 คัน แจกจ่ายน้ำให้พื้นที่การเกษตร จำนวน 304,500 ลิตร
5) ขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขิน รวม 55 แห่ง
6) ซ่อมสร้างฝาย/ทำนบ จำนวน 53 แห่ง
7) กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล 204 บ่อ ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ 24 เครื่อง และตั้งจุดจ่ายน้ำ 9 จุด
8) เกษตรกรพื้นที่อำเภอเมือง ท่าแซะ สวี และหลังสวน จำนวน 77 ราย โคเนื้อ และโคนมขาดแคลนพืชอาหาร ปศุสัตว์ได้ช่วยเหลือหญ้าแห้ง 1,400 ฟ่อน
9) ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ออกปฏิบัติการจัดทำฝนหลวงตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2548 แต่เนื่องจากความชื้นในอากาศมีน้อยและมีลมฝ่ายตะวันออกกำลังแรงพัดกลุ่มเมฆฝนไปตกในพื้นที่จังหวัดข้างเคียง ทำให้มีฝนตกปริมาณน้อยในจังหวัดชุมพร ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอการสนับสนุนให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาจัดตั้งฐานปฏิบัติการฝนหลวงที่สนามบินจังหวัดชุมพร เพื่อปฏิบัติการทำฝนหลวง โดยมาจัดตั้งฐานบินตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2548 ปัจจุบันมีเครื่องบินประจำ จำนวน 5 ลำ คือ เครื่องบิน CN 235 บรรทุกสารเคมีได้ 2 ตัน จำนวน 1 ลำและเครื่องบินปอร์ตเตอร์ บรรทุกสารเคมีได้ 0.6 ตัน จำนวน 4 ลำ โดยมีการปฏิบัติการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง
10) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนประหยัดน้ำและให้เตรียมจัดหาภาชนะเก็บน้ำไว้ทุกครัวเรือนในพื้นที่ประสบภัย เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้และรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันรักษาป่าไม้
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1) ปัจจุบันฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพรมีการจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่องทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 5 — 6 พฤษภาคม 2548 ทำให้สามารถบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งลงได้บ้าง แต่ปริมาณน้ำฝนยังไม่พอเพียงในบางพื้นที่ เนื่องจากมีลมฝ่ายตะวันออกที่พัดกลุ่มเมฆฝนไปตกในพื้นที่ต่อเนื่องกับจังหวัดระนอง ซึ่งขณะนี้ยังมีการออกปฏิบัติการทำฝนหลวงทุกวัน ตามสภาพอากาศที่เหมาะสม
2) รถบรรทุกน้ำจากหน่วยงานต่าง ๆ ยังแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ แต่พื้นที่สวนผลไม้หลายแห่งยังขาดแคลนน้ำ
2. จังหวัดระนอง
2.1 สภาพทั่วไป
ปัจจุบันมีหมู่บ้านประสบภัยแล้ง 159 หมู่บ้าน ใน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 28 ตำบล มีราษฎรได้รับเดือดร้อนประมาณ 31,126 ครัวเรือน ประชากร 102,733 คน พื้นที่เกษตรเสียหาย 46,075 ไร่ แยกเป็นพื้นที่นา 4 ไร่ พื้นที่ 848 ไร่ พื้นที่สวน 45,223 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2548)
2.2 การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) มีการประกาศให้ 4 อำเภอและ 1 กิ่งอำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัย
2) จัดตั้งศูนย์ดำเนินการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง
3) จัดรถบรรทุกน้ำ 27 คัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคทุกอำเภออย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณน้ำรวม 18,944,000 ลิตร
4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเจาะบ่อบาดาล 10 บ่อ เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล 36 บ่อ ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ 31 เครื่อง และตั้งจุดจ่ายน้ำ 6 จุด
5) มีการปฏิบัติการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ฝนตกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต่อเนื่องกับจังหวัดชุมพร
6) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนประหยัดน้ำ และให้เตรียมจัดหาภาชนะเก็บน้ำไว้ทุกครัวเรือนในพื้นที่ประสบภัย เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้และรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันรักษาป่าไม้
2.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
1) ปัจจุบันฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพรส่งเครื่องบินมาช่วยจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่ ปัญหาภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย
2) รถบรรทุกน้ำจากหน่วยงานต่างๆ ยังแจกจ่ายน้ำอุปโภคและบริโภค ให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--