ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกรอบชี้นำการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย และรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน
1.2 เป้าหมาย คือ
1) ลดจำนวนอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุลงร้อยละ 10 ในช่วงระยะเวลาดำเนินการ 5 ปีตามแผนแม่บทฯ
2) ให้มีกระบวนการพัฒนาความปลอดภัยและแก้ไขปัญหาอุบัติหตุทางถนนอย่างเป็นระบบ
1.3 ระยะเวลาการดำเนินการ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 - 2545 ส่วนแผนปฏิบัติการฯ ได้จัดทำเฉพาะช่วง3 ปีแรกของแผนแม่บทฯ (ปี 2541 - 2543)
1.4 แผนการดำเนินงาน มี
1) แผนแม่บทฯ (Master Plan) การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปีระยะที่ 2 มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี และระยะที่ 3 มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ซึ่งมีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการจำนวน 9 แผนงาน ได้แก่ การจัดตั้งองค์กรและการกำหนดนโยบายการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และการบังคับใช้กฎหมายการวิเคราะห์และวิจัยการเกิดอุบัติเหตุ การฝึกอบรมและการปรับปรุงวิธีการออกใบอนุญาตขับรถ การฝึกอบรมเยาวชนในสถานศึกษาการรณรงค์และการประชาสัมพันธ์ การกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ การปรับปรุงถนนให้เกิดความปลอดภัย การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ
2) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการฯ เฉพาะช่วง 3 ปีแรก ของแผนแม่บทฯ มีสาระสำคัญประกอบด้วย
(1) รายละเอียดและหน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนงานที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ
(2) การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม (Priority of Actions)
(3) หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) งบประมาณในการดำเนินงาน
1.5 งบประมาณ คาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 9,850 ล้านบาท กระจายอยู่ในทุกส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามความจำเป็น โดยการดำเนินการในระยะแรกจะใช้จากงบประมาณแผ่นดินและการสนับสนุนจากภาคเอกชน ส่วนในระยะยาวจะมีการจัดตั้งกองทุนโดยใช้เงินที่เรียกเก็บจากผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น ภาษีน้ำมัน ค่าธรรมเนียมและภาษีรถประจำปี ค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตขับรถ และภาษีจากตัวรถ เป็นต้น
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบ 23 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ 6 ประการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้คือ
1) กำหนดนโยบายและแผนด้านความปลอดภัยการขนส่งทุกสาขา
2) ประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรับนโยบายและแผนแม่บทที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วไปดำเนินการ
3) ประสานงานและติดต่อขอความช่วยเหลือทั้งในประเทศและต่างประเทศในการดำเนินการด้านความปลอดภัยการขนส่งทุกสาขา
4) พิจารณาความเหมาะสมในการขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามแผนด้านความปลอดภัยฯ
5) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนด้านความปลอดภัยฯ
6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกรอบชี้นำการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย และรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน
1.2 เป้าหมาย คือ
1) ลดจำนวนอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุลงร้อยละ 10 ในช่วงระยะเวลาดำเนินการ 5 ปีตามแผนแม่บทฯ
2) ให้มีกระบวนการพัฒนาความปลอดภัยและแก้ไขปัญหาอุบัติหตุทางถนนอย่างเป็นระบบ
1.3 ระยะเวลาการดำเนินการ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 - 2545 ส่วนแผนปฏิบัติการฯ ได้จัดทำเฉพาะช่วง3 ปีแรกของแผนแม่บทฯ (ปี 2541 - 2543)
1.4 แผนการดำเนินงาน มี
1) แผนแม่บทฯ (Master Plan) การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปีระยะที่ 2 มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี และระยะที่ 3 มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ซึ่งมีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการจำนวน 9 แผนงาน ได้แก่ การจัดตั้งองค์กรและการกำหนดนโยบายการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และการบังคับใช้กฎหมายการวิเคราะห์และวิจัยการเกิดอุบัติเหตุ การฝึกอบรมและการปรับปรุงวิธีการออกใบอนุญาตขับรถ การฝึกอบรมเยาวชนในสถานศึกษาการรณรงค์และการประชาสัมพันธ์ การกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ การปรับปรุงถนนให้เกิดความปลอดภัย การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ
2) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการฯ เฉพาะช่วง 3 ปีแรก ของแผนแม่บทฯ มีสาระสำคัญประกอบด้วย
(1) รายละเอียดและหน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนงานที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ
(2) การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม (Priority of Actions)
(3) หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) งบประมาณในการดำเนินงาน
1.5 งบประมาณ คาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 9,850 ล้านบาท กระจายอยู่ในทุกส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามความจำเป็น โดยการดำเนินการในระยะแรกจะใช้จากงบประมาณแผ่นดินและการสนับสนุนจากภาคเอกชน ส่วนในระยะยาวจะมีการจัดตั้งกองทุนโดยใช้เงินที่เรียกเก็บจากผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น ภาษีน้ำมัน ค่าธรรมเนียมและภาษีรถประจำปี ค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตขับรถ และภาษีจากตัวรถ เป็นต้น
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบ 23 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ 6 ประการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้คือ
1) กำหนดนโยบายและแผนด้านความปลอดภัยการขนส่งทุกสาขา
2) ประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรับนโยบายและแผนแม่บทที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วไปดำเนินการ
3) ประสานงานและติดต่อขอความช่วยเหลือทั้งในประเทศและต่างประเทศในการดำเนินการด้านความปลอดภัยการขนส่งทุกสาขา
4) พิจารณาความเหมาะสมในการขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามแผนด้านความปลอดภัยฯ
5) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนด้านความปลอดภัยฯ
6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กันยายน 2541--