ทำเนียบรัฐบาล--27 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2542ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดทำดัชนีชี้นำเศรษฐกิจรายเดือนเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า
1.1 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ เดือนเมษายนและพฤษภาคมอยู่ในระดับ 111.5 และ 110.6 ตามลำดับ ลดลงจากเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ในระดับ 112.3 คิดเป็นลดลงร้อยละ 0.7 และ 0.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังคงสูงกว่าดัชนีชี้นำต่ำสุดเดือนพฤษภาคม2541 ซึ่งอยู่ในระดับ 108.3
1.2 การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรชี้นำเดือนเมษายนและพฤษภาคม เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เป็นดังนี้
1) ตัวแปรชี้นำที่ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ (1) วงเงินลงทุนกิจการเปิดดำเนินการใหม่และขยายกิจการที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ลดลงมากในเดือนพฤษภาคม (2) มูลค่าทุนจดทะเบียนใหม่กับกระทรวงพาณิชย์ ลดลงต่อเนื่องในเดือนเมษายนและพฤษภาคม (3) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ลดลงต่อเนื่องจากเดือนมีนาคม (4) ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ลดลงในเดือนพฤษภาคม และ (5) น้ำมันดิบซึ่งส่งผลต่อดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในทางผกผันมีการปรับตัวเพิ่มต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมเป็นต้นมา
2) ตัวแปรชี้นำที่ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในประเทศ เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม และ (2) ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม
2. กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งวัดโดย ดัชนีพ้องวัฏจักรธุรกิจ (Coincident index) จนถึงเดือนพฤษภาคม 2542 เท่ากับ 100.9 (ปี 2533=100) ลดลงจากเดือนเมษายนร้อยละ 0.9 แต่ยังคงปรับตัวดีขึ้นจากจุดต่ำสุด (ในเดือนสิงหาคม 2541 ที่มีค่าเท่ากับ 96.8) ร้อยละ 4.2 ส่งผลให้อัตราเจริญเติบโต (six - month smoothed annualized growth rate) ของ ดัชนีพ้องวัฏจักรธุรกิจ มีทิศทางเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ขณะที่ดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจ(Leading Index) ในเดือนพฤษภาคม 2542 เท่ากับ 105.6 (ปี 2533=100) ลดลงจากเดือนเมษายนเล็กน้อย ร้อยละ 0.5 แต่เทียบกับจุดต่ำสุด (ในเดือนพฤษภาคม 2541 ที่มีค่าเท่ากับ 101.4) ยังคงสูงขึ้นร้อยละ 4.1 สำหรับอัตราเจริญเติบโต (six - month smoothed annualized growth rate) ของ ดัชนีขี้นำวัฏจักรธุรกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
ตัวแปรพ้องวัฏจักรธุรกิจ (Coincident indicators) ในเดือนพฤษภาคม 2542 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2542เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการผลิตยานพาหนะที่ใช้ในการพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ส่วนตัวแปรที่ลดลง ได้แก่ปริมาณการผลิตเบียร์ ลดลงร้อยละ 28.3 ยอดขายห้างสรรพสินค้า ลดลงร้อยละ 13.8 ภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงร้อยละ 9.9มูลค่าการนำเข้า ลดลงร้อยละ 7.4 และภาษีศุลกากร ลดลงร้อยละ 2.2 ตัวแปรชี้นำวัฏจักรธุรกิจ (Leading indicators) ในเดือนพฤษภาคม 2542 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2542 ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ดัชนีราคาหุ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ส่วนตัวแปรที่ลดลง ได้แก่ เงินทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่ ลดลงร้อยละ 60.3 และจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 10.4
3. โดยสรุปทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจของทั้งสองหน่วยงานยังอยู่ในระดับสูงกว่าจุดต่ำสุด ณ เดือนพฤษภาคม 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 กรกฎาคม 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2542ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดทำดัชนีชี้นำเศรษฐกิจรายเดือนเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า
1.1 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ เดือนเมษายนและพฤษภาคมอยู่ในระดับ 111.5 และ 110.6 ตามลำดับ ลดลงจากเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ในระดับ 112.3 คิดเป็นลดลงร้อยละ 0.7 และ 0.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังคงสูงกว่าดัชนีชี้นำต่ำสุดเดือนพฤษภาคม2541 ซึ่งอยู่ในระดับ 108.3
1.2 การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรชี้นำเดือนเมษายนและพฤษภาคม เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เป็นดังนี้
1) ตัวแปรชี้นำที่ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ (1) วงเงินลงทุนกิจการเปิดดำเนินการใหม่และขยายกิจการที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ลดลงมากในเดือนพฤษภาคม (2) มูลค่าทุนจดทะเบียนใหม่กับกระทรวงพาณิชย์ ลดลงต่อเนื่องในเดือนเมษายนและพฤษภาคม (3) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ลดลงต่อเนื่องจากเดือนมีนาคม (4) ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ลดลงในเดือนพฤษภาคม และ (5) น้ำมันดิบซึ่งส่งผลต่อดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในทางผกผันมีการปรับตัวเพิ่มต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมเป็นต้นมา
2) ตัวแปรชี้นำที่ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในประเทศ เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม และ (2) ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม
2. กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งวัดโดย ดัชนีพ้องวัฏจักรธุรกิจ (Coincident index) จนถึงเดือนพฤษภาคม 2542 เท่ากับ 100.9 (ปี 2533=100) ลดลงจากเดือนเมษายนร้อยละ 0.9 แต่ยังคงปรับตัวดีขึ้นจากจุดต่ำสุด (ในเดือนสิงหาคม 2541 ที่มีค่าเท่ากับ 96.8) ร้อยละ 4.2 ส่งผลให้อัตราเจริญเติบโต (six - month smoothed annualized growth rate) ของ ดัชนีพ้องวัฏจักรธุรกิจ มีทิศทางเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ขณะที่ดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจ(Leading Index) ในเดือนพฤษภาคม 2542 เท่ากับ 105.6 (ปี 2533=100) ลดลงจากเดือนเมษายนเล็กน้อย ร้อยละ 0.5 แต่เทียบกับจุดต่ำสุด (ในเดือนพฤษภาคม 2541 ที่มีค่าเท่ากับ 101.4) ยังคงสูงขึ้นร้อยละ 4.1 สำหรับอัตราเจริญเติบโต (six - month smoothed annualized growth rate) ของ ดัชนีขี้นำวัฏจักรธุรกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
ตัวแปรพ้องวัฏจักรธุรกิจ (Coincident indicators) ในเดือนพฤษภาคม 2542 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2542เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการผลิตยานพาหนะที่ใช้ในการพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ส่วนตัวแปรที่ลดลง ได้แก่ปริมาณการผลิตเบียร์ ลดลงร้อยละ 28.3 ยอดขายห้างสรรพสินค้า ลดลงร้อยละ 13.8 ภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงร้อยละ 9.9มูลค่าการนำเข้า ลดลงร้อยละ 7.4 และภาษีศุลกากร ลดลงร้อยละ 2.2 ตัวแปรชี้นำวัฏจักรธุรกิจ (Leading indicators) ในเดือนพฤษภาคม 2542 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2542 ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ดัชนีราคาหุ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ส่วนตัวแปรที่ลดลง ได้แก่ เงินทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่ ลดลงร้อยละ 60.3 และจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 10.4
3. โดยสรุปทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจของทั้งสองหน่วยงานยังอยู่ในระดับสูงกว่าจุดต่ำสุด ณ เดือนพฤษภาคม 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 กรกฎาคม 2542--