คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรระยะเวลาโครงการ 4 ปี (พ.ศ. 2549-2552) ในวงเงิน 828.35 ล้านบาท ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ โดยให้ตกลงรายละเอียดงบประมาณกับสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3.2 เดิม (ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธานในขณะนั้น ไปประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3.2 (ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) พิจารณาเห็นว่า โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร เป็นโครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่มีคุณภาพ และมีปริมาณต่อสัดส่วนประชากรที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มการสร้างนวัตกรรมและขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
1. ควรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ รวมทั้งองค์ประกอบของอาคาร เช่น การตกแต่งและครุภัณฑ์ที่สามารถดำเนินการไปพร้อมกับการก่อสร้าง (Parallel) เท่าที่สามารถดำเนินการได้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้กำหนดรายการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องมือเครื่องใช้ตามโครงการที่ชัดเจน ทันสมัย และเหมาะสมกับระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กและรองรับเด็กอัจฉริยะได้อย่างแท้จริง โดยหากจำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นในอนาคต ก็ให้รายงานขออนุมัติต่อไป
2. กิจกรรมในโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรยังขาดความชัดเจนในรายละเอียดว่ามีโครงการที่จะสร้างเสริมความเป็นอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างไร จึงควรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ปรับปรุงรายละเอียดกิจกรรมของโครงการดังกล่าวให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นว่า นอกจากกิจกรรมสร้างแรงจูงใจให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว มีกิจกรรมหรือโครงการใดที่จะส่งเสริมความสามารถด้านอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ อาจศึกษาเทียบเคียงกับวิธีดำเนินการที่ดีของประเทศที่ประสบความสำเร็จประกอบ ขณะเดียวกันควรแสดงเป้าหมายด้านคุณภาพที่สามารถวัดผลได้ว่าจะดำเนินการให้ได้ผลที่ดีได้อย่างใดด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3.2 (ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) พิจารณาเห็นว่า โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร เป็นโครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่มีคุณภาพ และมีปริมาณต่อสัดส่วนประชากรที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มการสร้างนวัตกรรมและขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
1. ควรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ รวมทั้งองค์ประกอบของอาคาร เช่น การตกแต่งและครุภัณฑ์ที่สามารถดำเนินการไปพร้อมกับการก่อสร้าง (Parallel) เท่าที่สามารถดำเนินการได้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้กำหนดรายการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องมือเครื่องใช้ตามโครงการที่ชัดเจน ทันสมัย และเหมาะสมกับระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กและรองรับเด็กอัจฉริยะได้อย่างแท้จริง โดยหากจำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นในอนาคต ก็ให้รายงานขออนุมัติต่อไป
2. กิจกรรมในโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรยังขาดความชัดเจนในรายละเอียดว่ามีโครงการที่จะสร้างเสริมความเป็นอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างไร จึงควรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ปรับปรุงรายละเอียดกิจกรรมของโครงการดังกล่าวให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นว่า นอกจากกิจกรรมสร้างแรงจูงใจให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว มีกิจกรรมหรือโครงการใดที่จะส่งเสริมความสามารถด้านอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ อาจศึกษาเทียบเคียงกับวิธีดำเนินการที่ดีของประเทศที่ประสบความสำเร็จประกอบ ขณะเดียวกันควรแสดงเป้าหมายด้านคุณภาพที่สามารถวัดผลได้ว่าจะดำเนินการให้ได้ผลที่ดีได้อย่างใดด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--