ทำเนียบรัฐบาล--24 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 8 - 10 กันยายน 2540 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ และผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 17 - 18 กันยายน 2540 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ตามข้อเสนอของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยมีประเด็นสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. เห็นชอบต่อการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรฐานสำหรับเป้าหมายระยะยาว ในประเทศสมาชิกอาเซียน คือ
1) คุณภาพอากาศ กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศต่ำกว่า 100 หน่วย PSI (Pollutant Standards Index)ภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) โดยให้ความสำคัญต่อเขตเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นลำดับแรก
2) คุณภาพน้ำ กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำเป็น 4 ระดับ คือ น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค น้ำเพื่อสันทนาการ น้ำเพื่อการประมง และน้ำเพื่อการชลประทาน ภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) โดยให้ความสำคัญต่อเขตเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นลำดับแรก
2. เห็นชอบต่อโครงการ ASOEN (ASEAN Senior Officials on the Environment) Flagship Project 3 โครงการ คือ
1) ASEAN Environment Year (AEY) ซึ่งกำหนดให้ปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นปีสิ่งแวดล้อมอาเซียนและจะจัดให้มีขึ้นทุก 3 ปี
2) ASEAN Environment Award เพื่อมอบให้แก่หน่วยงานและบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
3) ASEAN Regional Center for Biodiversity Conservation โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์และมีหน่วยงานของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นเครือข่ายของศูนย์
3. เห็นชอบต่อปฏิญญาจาการ์ตาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Jakarta Declaration on Environmentand Development) ซึ่งมีประเด็นสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1) จะร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อป้องกันและควบคุมมลภาวะจากแหล่งกำเนิดในประเทศที่อาจมีผลกระทบไปยังประเทศอื่น ๆ และประเทศอาเซียนยินดีรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในการเสริมสร้างสมรรถนะของอาเซียนในการต่อสู้กับปัญหามลภาวะข้ามแดน รวมทั้งปัญหาหมอกควัน
2) จะเสริมสร้างความตระหนักและสนับสนุนความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสำหรับอาเซียนที่กำหนดให้ปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เป็นปีที่ประชาชนในภูมิภาคนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3) ในกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เห็นชอบการกำหนดท่าทีร่วมกันของอาเซียนในการเร่งรัดให้ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินการตามพันธกรณีในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4) ในกรอบอนุสัญญาบาเซลได้เร่งรัดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับแก้ไขในเรื่องการห้ามส่งของเสียที่เป็นอันตรายไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ธันวาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 8 - 10 กันยายน 2540 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ และผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 17 - 18 กันยายน 2540 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ตามข้อเสนอของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยมีประเด็นสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. เห็นชอบต่อการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรฐานสำหรับเป้าหมายระยะยาว ในประเทศสมาชิกอาเซียน คือ
1) คุณภาพอากาศ กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศต่ำกว่า 100 หน่วย PSI (Pollutant Standards Index)ภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) โดยให้ความสำคัญต่อเขตเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นลำดับแรก
2) คุณภาพน้ำ กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำเป็น 4 ระดับ คือ น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค น้ำเพื่อสันทนาการ น้ำเพื่อการประมง และน้ำเพื่อการชลประทาน ภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) โดยให้ความสำคัญต่อเขตเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นลำดับแรก
2. เห็นชอบต่อโครงการ ASOEN (ASEAN Senior Officials on the Environment) Flagship Project 3 โครงการ คือ
1) ASEAN Environment Year (AEY) ซึ่งกำหนดให้ปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นปีสิ่งแวดล้อมอาเซียนและจะจัดให้มีขึ้นทุก 3 ปี
2) ASEAN Environment Award เพื่อมอบให้แก่หน่วยงานและบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
3) ASEAN Regional Center for Biodiversity Conservation โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์และมีหน่วยงานของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นเครือข่ายของศูนย์
3. เห็นชอบต่อปฏิญญาจาการ์ตาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Jakarta Declaration on Environmentand Development) ซึ่งมีประเด็นสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1) จะร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อป้องกันและควบคุมมลภาวะจากแหล่งกำเนิดในประเทศที่อาจมีผลกระทบไปยังประเทศอื่น ๆ และประเทศอาเซียนยินดีรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในการเสริมสร้างสมรรถนะของอาเซียนในการต่อสู้กับปัญหามลภาวะข้ามแดน รวมทั้งปัญหาหมอกควัน
2) จะเสริมสร้างความตระหนักและสนับสนุนความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสำหรับอาเซียนที่กำหนดให้ปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เป็นปีที่ประชาชนในภูมิภาคนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3) ในกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เห็นชอบการกำหนดท่าทีร่วมกันของอาเซียนในการเร่งรัดให้ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินการตามพันธกรณีในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4) ในกรอบอนุสัญญาบาเซลได้เร่งรัดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับแก้ไขในเรื่องการห้ามส่งของเสียที่เป็นอันตรายไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ธันวาคม 2540--