แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
ข้าราชการ
ทำเนียบรัฐบาล--13 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส โดยกำหนดให้
1.1 มีตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลชั้นต้น ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว
1.2 ข้าราชการตุลาการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ได้รับอยู่ก่อนมีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยให้เลื่อนชั้นเงินเดือนได้จนถึงชั้น 9
1.3 ห้ามมิให้แต่งตั้งข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว ไปดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และมาตรา 13 วรรคหนึ่ง แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
1.4 ห้ามมิให้สั่งให้ข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว ไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
1.5 ห้ามมิให้โอนข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไปเป็นข้าราชการฝ่ายอื่น หรือไปทำงานในตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอื่น
1.6 ห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสเป็นกรรมการตุลาการ
2. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมการพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการ โดย
2.1 เพิ่มเติมมาตรา 19 ทวิ ขึ้นใหม่ โดยให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการนั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และหากผ่านการประเมินแล้วว่ายังมีสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการนั้นมีอายุครบเจ็บสิบปีบริบูรณ์ ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพนั้นให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนด
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการตามมาตรา 20 ยื่นบัญชีรายชื่อข้าราชการตุลาการผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จบำนาญซึ่งมีอายุจะครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณถัดไปต่อ ก.ต. เพื่อดำเนินการตามมาตรา 19 ทวิและเมื่อได้ขยายเวลาราชการให้แก่ข้าราชการตุลาการแล้ว ให้ ก.ต. เป็นผู้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุทราบและให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุแจ้งต่อไปยังกระทรวงการคลัง
3. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลชั้นต้น โดยมิให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกจากการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น
ทั้งนี้ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 334 (2) บัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษานั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และหากผู้พิพากษาอาวุโสผู้ใดผ่านการประเมินตามที่กฎหมายบัญญัติว่ายังมีสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาผู้นั้นมีอายุครบเจ็บสิบปีบริบูรณ์ ภายในสองปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ นั้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 พฤษภาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส โดยกำหนดให้
1.1 มีตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลชั้นต้น ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว
1.2 ข้าราชการตุลาการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ได้รับอยู่ก่อนมีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยให้เลื่อนชั้นเงินเดือนได้จนถึงชั้น 9
1.3 ห้ามมิให้แต่งตั้งข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว ไปดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และมาตรา 13 วรรคหนึ่ง แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
1.4 ห้ามมิให้สั่งให้ข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว ไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
1.5 ห้ามมิให้โอนข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไปเป็นข้าราชการฝ่ายอื่น หรือไปทำงานในตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอื่น
1.6 ห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสเป็นกรรมการตุลาการ
2. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมการพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการ โดย
2.1 เพิ่มเติมมาตรา 19 ทวิ ขึ้นใหม่ โดยให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการนั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และหากผ่านการประเมินแล้วว่ายังมีสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการนั้นมีอายุครบเจ็บสิบปีบริบูรณ์ ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพนั้นให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนด
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการตามมาตรา 20 ยื่นบัญชีรายชื่อข้าราชการตุลาการผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จบำนาญซึ่งมีอายุจะครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณถัดไปต่อ ก.ต. เพื่อดำเนินการตามมาตรา 19 ทวิและเมื่อได้ขยายเวลาราชการให้แก่ข้าราชการตุลาการแล้ว ให้ ก.ต. เป็นผู้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุทราบและให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุแจ้งต่อไปยังกระทรวงการคลัง
3. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลชั้นต้น โดยมิให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกจากการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น
ทั้งนี้ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 334 (2) บัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษานั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และหากผู้พิพากษาอาวุโสผู้ใดผ่านการประเมินตามที่กฎหมายบัญญัติว่ายังมีสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาผู้นั้นมีอายุครบเจ็บสิบปีบริบูรณ์ ภายในสองปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ นั้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 พฤษภาคม 2541--