คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ.2549 งบกลาง จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจและออกแบบเส้นทางสาย เมียวดี — กอกกะเร็ก ในสหภาพพม่า ช่วงกิโลเมตรที่ 18 (เชิงเขาตะนาวศรี) — กอกะเร็ก ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. เส้นทางสาย เมียวดี — กอกะเร็ก เป็นช่วงต้นของเส้นทางสายแม่สอด — ย่างกุ้ง ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาเส้นทางถนนเพื่อเชื่อมโยงไทย — พม่า — อินเดีย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการส่งสินค้าไทยไปยังอินเดีย ภูฏาน และบังกลาเทศ แต่เนื่องจากปัจจุบันถนนช่วงนี้ผ่านพื้นที่ภูเขาสูงและมีผิวจราจรกว้างเพียง 3 — 4 เมตร เท่านั้นการจราจรต้องเดินทางสลับวันคู่ วันคี่ ในขณะที่มีการติดต่อค้าขายกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
2. ในการเดินทางเยือนสหภาพพม่าของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ซึ่งการหารือกับพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐแห่งสหภาพพม่า ผู้นำพม่าได้ตอบรับข้อเสนอของไทยที่จะให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับ การก่อสร้างถนนช่วงต่อจากกิโลเมตรที่ 18 ที่ไทยให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในขณะนี้ จนถึงเมืองกอกะเร็ก ซึ่งเป็นช่วงคอขวด (bottleneck) ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
3. กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงพิจารณาแล้วเห็นว่า ทางสายนี้ตัดผ่านภูเขาสูงชันเป็นพื้นที่ป่าทึบ ดังนั้น ในการสำรวจและออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมจำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษาให้ดำเนินการ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 15 ล้านบาท แต่เนื่องจากโครงการสำรวจและออกแบบเส้นทางสายนี้ไม่ได้อยู่ในแผนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ของกรมทางหลวง เพื่อให้มีการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในการพัฒนาเส้นทางดังกล่าว กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี พ.ศ.2549 งบกลาง ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการสำรวจออกแบบแล้วเสร็จ และมีรายละเอียดค่าก่อสร้างที่ชัดเจนแล้ว กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. เส้นทางสาย เมียวดี — กอกะเร็ก เป็นช่วงต้นของเส้นทางสายแม่สอด — ย่างกุ้ง ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาเส้นทางถนนเพื่อเชื่อมโยงไทย — พม่า — อินเดีย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการส่งสินค้าไทยไปยังอินเดีย ภูฏาน และบังกลาเทศ แต่เนื่องจากปัจจุบันถนนช่วงนี้ผ่านพื้นที่ภูเขาสูงและมีผิวจราจรกว้างเพียง 3 — 4 เมตร เท่านั้นการจราจรต้องเดินทางสลับวันคู่ วันคี่ ในขณะที่มีการติดต่อค้าขายกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
2. ในการเดินทางเยือนสหภาพพม่าของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ซึ่งการหารือกับพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐแห่งสหภาพพม่า ผู้นำพม่าได้ตอบรับข้อเสนอของไทยที่จะให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับ การก่อสร้างถนนช่วงต่อจากกิโลเมตรที่ 18 ที่ไทยให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในขณะนี้ จนถึงเมืองกอกะเร็ก ซึ่งเป็นช่วงคอขวด (bottleneck) ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
3. กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงพิจารณาแล้วเห็นว่า ทางสายนี้ตัดผ่านภูเขาสูงชันเป็นพื้นที่ป่าทึบ ดังนั้น ในการสำรวจและออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมจำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษาให้ดำเนินการ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 15 ล้านบาท แต่เนื่องจากโครงการสำรวจและออกแบบเส้นทางสายนี้ไม่ได้อยู่ในแผนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ของกรมทางหลวง เพื่อให้มีการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในการพัฒนาเส้นทางดังกล่าว กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี พ.ศ.2549 งบกลาง ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการสำรวจออกแบบแล้วเสร็จ และมีรายละเอียดค่าก่อสร้างที่ชัดเจนแล้ว กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--