ทำเนียบรัฐบาล--7 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้าเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้ของสถาบันการเงิน ตามที่ ปรส. เสนอ ดังนี้
1. สรุปความคืบหน้าของการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จากรายงานที่สถาบันการเงินส่งให้ธนาคาร ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2541 สถาบันการเงินได้ดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมียอดหนี้คงค้างที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วจำนวนทั้งสิ้นรวม9,276.92 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม 4,247.95 ล้านบาท การก่อสร้าง 272.73 ล้านบาท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 777.72 ล้านบาทการส่งออก 77.15 ล้านบาท และอื่น ๆ 3,901.37 ล้านบาท รวมจำนวนลูกหนี้ทั้งสิ้น 110 ราย ส่วนยอดหนี้ที่ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีทั้งสิ้น 271,090.94 ล้านบาท รวมจำนวนลูกหนี้ทั้งสิ้น 1,104 ราย
2. การรวบรวมข้อมูลของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรค หลังจากคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รับรายชื่อลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย ประมาณ 280 รายจากสมาคม 5 แห่ง (สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุน สมาคมธนาคารต่างชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมหอการค้าไทย) คณะกรรมการฯ ก็ได้ดำเนินการติดต่อขอข้อมูลจากลูกหนี้และติดต่อเจ้าหนี้รายใหญ่โดยจัดทำ company profile เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการประนอมหนี้ ซึ่งพอสรุปในเบื้องต้นได้ ดังนี้
2.1 กรณีลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายราย และบางรายเป็นสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ปรส. ปัญหาที่พบคือ ปรส. ไม่สามารถประนอมหนี้ในลักษณะที่มีการลดต้นเงิน ลดดอกเบี้ยหรือให้สินเชื่อเพิ่มเติมได้ เนื่องจากพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ได้เปิดช่องให้ ปรส. ทำการประนอมหนี้ในลักษณะนี้ได้ ทำให้กระบวนการประนอมหนี้ติดขัด
วิธีดำเนินการที่พอเป็นไปได้ขณะนี้มี 2 วิธีคือ
1) ปรส. เปิดช่องทาง Fast Lane เพื่อให้เจ้าหนี้ที่ตกลงกันได้แล้วประมูลเฉพาะลูกหนี้รายที่มีปัญหาเป็นการเฉพาะเจาะจงออกไปจาก ปรส. ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก ปรส. มีตารางเวลาจำกัดทำให้ต้องเร่งประมูลขายลูกหนี้ ในขณะที่ลูกหนี้เพิ่งจะเริ่มติดต่อกับเจ้าหนี้รายอื่นเพื่อขอประนอมหนี้ จึงอาจไม่สามารถติดต่อกับ ปรส. ได้ทันก่อนที่ ปรส. จะประมูลหนี้ออกไป
2) ต้องยกเรื่องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย และหากเจ้าหนี้ส่วนใหญ่มีมติให้ดำเนินการเช่นใด ปรส. ก็จะต้องปฏิบัติตามด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้มีข้อติดขัดคือ กรณีที่ ปรส. เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่สูงเกิน 75% ของมูลหนี้รวม หรือลูกหนี้ติดหนี้อยู่กับบริษัทเงินทุน 56 แห่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนรายของเจ้าหนี้ กรณีเช่นนี้ก็จะอาศัยกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายไม่ได้ และจะใช้ช่องทาง Fast Lane ก็ไม่ได้
แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ ควรเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ ปรส. สามารถออกเสียงในกระบวนการประนอมหนี้ได้ด้วย นอกเหนือจากการทำหน้าที่เพียงประมูลขายลูกหนี้เพียงอย่างเดียว
2.2 วิธีการมูลหนี้ของ ปรส. โดยจัดการประมูลขายลูกหนี้แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือแยกตามประเภทหนี้ เป็นอุปสรรคหรือสร้างความล่าช้าในการประนอมหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีบริษัทในเครือกระจายไปในหลายอุตสาหกรรม หนี้ของบริษัทในเครืออาจถูกประมูลขายออกไปอยู่กับเจ้าหนี้หลายราย ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้ต้องเจรจาขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ใหม่จำนวนหลายราย ปัญหานี้จะยิ่งซับซ้อนและสร้างความล่าช้าเกิดขึ้นหากหนี้ถูกประมูลขายออกไปในขณะที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้อื่นกำลังอยู่ระหว่างกลางของการเจรจาประนอมหนี้
3. สถาบันการเงินยังคงรอผลการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายรายตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้แล้ว โดยการจะโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้บางส่วนหรือทั้งหมด แต่ยังไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้เนื่องจากรอผลการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินจากทางการ
4. เรื่องอื่น ๆ
4.1 จะมีการจัดให้สถาบันการเงินร่วมลงนามในหลักการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Corporate Debt RestructuringFramework) ตามที่ระบุไว้หนังสือแสดงความจำนองฉบับที่ 5 โดยผู้แทนจาก 5 สมาคมจะจัดให้สถาบันการเงินทุกแห่งร่วมลงนามด้วย ทั้งนี้ แต่ละสมาคมรับจะจัดให้มีการลงนามประมาณวันที่ 10 กันยายน 2541
4.2 การยกเว้นภาษีเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการลงพระปรมาภิไธย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบความคืบหน้าเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้ของสถาบันการเงิน ตามที่ ปรส. เสนอ ดังนี้
1. สรุปความคืบหน้าของการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จากรายงานที่สถาบันการเงินส่งให้ธนาคาร ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2541 สถาบันการเงินได้ดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมียอดหนี้คงค้างที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วจำนวนทั้งสิ้นรวม9,276.92 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม 4,247.95 ล้านบาท การก่อสร้าง 272.73 ล้านบาท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 777.72 ล้านบาทการส่งออก 77.15 ล้านบาท และอื่น ๆ 3,901.37 ล้านบาท รวมจำนวนลูกหนี้ทั้งสิ้น 110 ราย ส่วนยอดหนี้ที่ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีทั้งสิ้น 271,090.94 ล้านบาท รวมจำนวนลูกหนี้ทั้งสิ้น 1,104 ราย
2. การรวบรวมข้อมูลของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรค หลังจากคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รับรายชื่อลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย ประมาณ 280 รายจากสมาคม 5 แห่ง (สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุน สมาคมธนาคารต่างชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมหอการค้าไทย) คณะกรรมการฯ ก็ได้ดำเนินการติดต่อขอข้อมูลจากลูกหนี้และติดต่อเจ้าหนี้รายใหญ่โดยจัดทำ company profile เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการประนอมหนี้ ซึ่งพอสรุปในเบื้องต้นได้ ดังนี้
2.1 กรณีลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายราย และบางรายเป็นสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ปรส. ปัญหาที่พบคือ ปรส. ไม่สามารถประนอมหนี้ในลักษณะที่มีการลดต้นเงิน ลดดอกเบี้ยหรือให้สินเชื่อเพิ่มเติมได้ เนื่องจากพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ได้เปิดช่องให้ ปรส. ทำการประนอมหนี้ในลักษณะนี้ได้ ทำให้กระบวนการประนอมหนี้ติดขัด
วิธีดำเนินการที่พอเป็นไปได้ขณะนี้มี 2 วิธีคือ
1) ปรส. เปิดช่องทาง Fast Lane เพื่อให้เจ้าหนี้ที่ตกลงกันได้แล้วประมูลเฉพาะลูกหนี้รายที่มีปัญหาเป็นการเฉพาะเจาะจงออกไปจาก ปรส. ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก ปรส. มีตารางเวลาจำกัดทำให้ต้องเร่งประมูลขายลูกหนี้ ในขณะที่ลูกหนี้เพิ่งจะเริ่มติดต่อกับเจ้าหนี้รายอื่นเพื่อขอประนอมหนี้ จึงอาจไม่สามารถติดต่อกับ ปรส. ได้ทันก่อนที่ ปรส. จะประมูลหนี้ออกไป
2) ต้องยกเรื่องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย และหากเจ้าหนี้ส่วนใหญ่มีมติให้ดำเนินการเช่นใด ปรส. ก็จะต้องปฏิบัติตามด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้มีข้อติดขัดคือ กรณีที่ ปรส. เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่สูงเกิน 75% ของมูลหนี้รวม หรือลูกหนี้ติดหนี้อยู่กับบริษัทเงินทุน 56 แห่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนรายของเจ้าหนี้ กรณีเช่นนี้ก็จะอาศัยกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายไม่ได้ และจะใช้ช่องทาง Fast Lane ก็ไม่ได้
แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ ควรเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ ปรส. สามารถออกเสียงในกระบวนการประนอมหนี้ได้ด้วย นอกเหนือจากการทำหน้าที่เพียงประมูลขายลูกหนี้เพียงอย่างเดียว
2.2 วิธีการมูลหนี้ของ ปรส. โดยจัดการประมูลขายลูกหนี้แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือแยกตามประเภทหนี้ เป็นอุปสรรคหรือสร้างความล่าช้าในการประนอมหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีบริษัทในเครือกระจายไปในหลายอุตสาหกรรม หนี้ของบริษัทในเครืออาจถูกประมูลขายออกไปอยู่กับเจ้าหนี้หลายราย ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้ต้องเจรจาขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ใหม่จำนวนหลายราย ปัญหานี้จะยิ่งซับซ้อนและสร้างความล่าช้าเกิดขึ้นหากหนี้ถูกประมูลขายออกไปในขณะที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้อื่นกำลังอยู่ระหว่างกลางของการเจรจาประนอมหนี้
3. สถาบันการเงินยังคงรอผลการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายรายตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้แล้ว โดยการจะโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้บางส่วนหรือทั้งหมด แต่ยังไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้เนื่องจากรอผลการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินจากทางการ
4. เรื่องอื่น ๆ
4.1 จะมีการจัดให้สถาบันการเงินร่วมลงนามในหลักการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Corporate Debt RestructuringFramework) ตามที่ระบุไว้หนังสือแสดงความจำนองฉบับที่ 5 โดยผู้แทนจาก 5 สมาคมจะจัดให้สถาบันการเงินทุกแห่งร่วมลงนามด้วย ทั้งนี้ แต่ละสมาคมรับจะจัดให้มีการลงนามประมาณวันที่ 10 กันยายน 2541
4.2 การยกเว้นภาษีเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการลงพระปรมาภิไธย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2541--