ทำเนียบรัฐบาล--3 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม
2541 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์เดือนที่แล้ว (มิถุนายน)
- ดัชนีผู้บริโภคเดือนมิถุนายนเท่ากับ 128.8 เทียบกับ 128.1 ในเดือนพฤษภาคม หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 10.7
- เงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรกของปีเท่ากับร้อยละ 9.7
อัตราเพิ่มดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
สัดส่วนน้ำหนัก 2541 เฉลี่ยครึ่งแรกของปี
ปีฐาน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. 2540 2541
ดัชนีราคาผู้บริโภค 100.0 1.1 0.7 1.1 0.7 0.5 0.5 0.3 0.8
- อาหาร 35.28 1.7 1.6 1.6 0.8 0.8 0.6 0.4 1.2
- มิใช่อาหาร 64.72 0.8 0.3 0.7 0.7 0.5 0.4 0.3 0.7
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
อัตราเพิ่มดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สัดส่วนน้ำหนัก 2541 เฉลี่ยครึ่งแรกของปี IMF*
ปีฐาน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. 2540 2541
ดัชนีราคาผู้บริโภค 100.0 8.6 8.9 9.5 10.1 10.2 10.7 4.4 9.7 10.5
- อาหาร 35.28 9.7 10.4 11.6 12.1 13.1 13.6 5.6 11.8 n.a.
- มิใช่อาหาร 64.72 7.8 8.0 8.2 8.7 8.6 8.8 3.4 8.4 n.a.
* ตัวเลขเฉลี่ยทั้งปีที่กำหนดไว้ในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 4
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2541 โดยสรุปดังนี้
2.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนกรกฎาคม 2541 ในปี 2537 ดัชนี
ราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกรกฎาคม 2541 เท่ากับ 128.9 สำหรับเดือน
มิถุนายน 2541 เท่ากับ 128.8
2.2 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกรกฎาคม 2541
1) เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2541 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
2) เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 10.0
3) เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2541 กับช่วงเดียวกัน
ของปี 2540 สูงขึ้นร้อยละ 9.7
2.3 เหตุผล ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนกรกฎาคม 2541 สูงขึ้นจากเดือนมิถุนายน
2541 ร้อยละ 0.1 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 เป็นต้นมา
เป็นผลจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือนกรกฎาคม 2541 ลดลงร้อยละ 0.1 สำหรับสินค้า
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวคือจากร้อยละ 0.4 ในเดือนมิถุนายน เป็นร้อย
ละ 0.2 ในเดือนกรกฎาคม 2541
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ จากการปรับราคาลดลงของผู้ค้าในบางตลาด
- ผักสด ได้แก่ ผักชี กะหล่ำปลี คะน้า พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู ผักกาดขาวลุ้ย ฟักเขียว
แตงกวา ถั่วฝักยาว มะนาวและมะเขือเจ้าพระยา เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญ
เติบโต ปริมาณผักสดเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
- แก๊สหุงต้ม จากการที่คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานมีมติให้ปรับลดราคาลง
เมื่อ 1 กรกฎาคม 2541
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน เป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและ
น้ำมันสำเร็จรูปในสิงคโปร์
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
ค่ากระแสไฟฟ้า การสื่อสารและการขนส่งสาธารณะ การอ่านและการศึกษา ค่า
ตรวจโรค และค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะม่วง เงาะ กล้วยน้ำว้าและมะละกอสุก เนื่องจาก
เป็นช่วงปลายฤดูกาล ผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง
- ไก่สด ความต้องการของโรงงานผลิตเพื่อส่งออกมีมาก ในขณะที่ปริมาณไก่ที่ได้ขนาด
ยังมีไม่มากและต้นทุนการเลี้ยงสูง
- หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้งและมะเขือเทศสีดา ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง
- ค่าน้ำประปา จากการที่การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคปรับอัตราค่า
น้ำสูงขึ้น 25 และ 50 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ
- สิ่งที่ใช้ทำความสะอาดในบ้าน ได้แก่ น้ำยาปรับผ้านุ่มและน้ำยาล้างห้องน้ำ ผู้ผลิตลด
ปริมาณการบรรจุแทนการปรับราคาสูงขึ้น
- ของใช้และบริการส่วนบุคคล ได้แก่ แป้งฝุ่น ผ้าอนามัย ยาสีฟัน แปรงสีฟันและค่าตัด
ผมชาย ตามต้นทุนที่สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 สิงหาคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม
2541 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์เดือนที่แล้ว (มิถุนายน)
- ดัชนีผู้บริโภคเดือนมิถุนายนเท่ากับ 128.8 เทียบกับ 128.1 ในเดือนพฤษภาคม หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 10.7
- เงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรกของปีเท่ากับร้อยละ 9.7
อัตราเพิ่มดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
สัดส่วนน้ำหนัก 2541 เฉลี่ยครึ่งแรกของปี
ปีฐาน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. 2540 2541
ดัชนีราคาผู้บริโภค 100.0 1.1 0.7 1.1 0.7 0.5 0.5 0.3 0.8
- อาหาร 35.28 1.7 1.6 1.6 0.8 0.8 0.6 0.4 1.2
- มิใช่อาหาร 64.72 0.8 0.3 0.7 0.7 0.5 0.4 0.3 0.7
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
อัตราเพิ่มดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สัดส่วนน้ำหนัก 2541 เฉลี่ยครึ่งแรกของปี IMF*
ปีฐาน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. 2540 2541
ดัชนีราคาผู้บริโภค 100.0 8.6 8.9 9.5 10.1 10.2 10.7 4.4 9.7 10.5
- อาหาร 35.28 9.7 10.4 11.6 12.1 13.1 13.6 5.6 11.8 n.a.
- มิใช่อาหาร 64.72 7.8 8.0 8.2 8.7 8.6 8.8 3.4 8.4 n.a.
* ตัวเลขเฉลี่ยทั้งปีที่กำหนดไว้ในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 4
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2541 โดยสรุปดังนี้
2.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนกรกฎาคม 2541 ในปี 2537 ดัชนี
ราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกรกฎาคม 2541 เท่ากับ 128.9 สำหรับเดือน
มิถุนายน 2541 เท่ากับ 128.8
2.2 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกรกฎาคม 2541
1) เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2541 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
2) เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 10.0
3) เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2541 กับช่วงเดียวกัน
ของปี 2540 สูงขึ้นร้อยละ 9.7
2.3 เหตุผล ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนกรกฎาคม 2541 สูงขึ้นจากเดือนมิถุนายน
2541 ร้อยละ 0.1 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 เป็นต้นมา
เป็นผลจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือนกรกฎาคม 2541 ลดลงร้อยละ 0.1 สำหรับสินค้า
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวคือจากร้อยละ 0.4 ในเดือนมิถุนายน เป็นร้อย
ละ 0.2 ในเดือนกรกฎาคม 2541
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ จากการปรับราคาลดลงของผู้ค้าในบางตลาด
- ผักสด ได้แก่ ผักชี กะหล่ำปลี คะน้า พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู ผักกาดขาวลุ้ย ฟักเขียว
แตงกวา ถั่วฝักยาว มะนาวและมะเขือเจ้าพระยา เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญ
เติบโต ปริมาณผักสดเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
- แก๊สหุงต้ม จากการที่คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานมีมติให้ปรับลดราคาลง
เมื่อ 1 กรกฎาคม 2541
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน เป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและ
น้ำมันสำเร็จรูปในสิงคโปร์
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
ค่ากระแสไฟฟ้า การสื่อสารและการขนส่งสาธารณะ การอ่านและการศึกษา ค่า
ตรวจโรค และค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล
สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะม่วง เงาะ กล้วยน้ำว้าและมะละกอสุก เนื่องจาก
เป็นช่วงปลายฤดูกาล ผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง
- ไก่สด ความต้องการของโรงงานผลิตเพื่อส่งออกมีมาก ในขณะที่ปริมาณไก่ที่ได้ขนาด
ยังมีไม่มากและต้นทุนการเลี้ยงสูง
- หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้งและมะเขือเทศสีดา ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง
- ค่าน้ำประปา จากการที่การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคปรับอัตราค่า
น้ำสูงขึ้น 25 และ 50 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ
- สิ่งที่ใช้ทำความสะอาดในบ้าน ได้แก่ น้ำยาปรับผ้านุ่มและน้ำยาล้างห้องน้ำ ผู้ผลิตลด
ปริมาณการบรรจุแทนการปรับราคาสูงขึ้น
- ของใช้และบริการส่วนบุคคล ได้แก่ แป้งฝุ่น ผ้าอนามัย ยาสีฟัน แปรงสีฟันและค่าตัด
ผมชาย ตามต้นทุนที่สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 สิงหาคม 2541--