ทำเนียบรัฐบาล--10 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อความมั่นคงของชาติ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี(นายพิชัย รัตตกุล) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบให้จัดทำแผนทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการและองค์การเอกชนต่าง ๆ ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดเอกภาพ โดยเสนอข้อปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงของชาติ (พ.ศ. 2540 - 2544) ด้านสังคมจิตวิทยา และขอความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะรัฐบาลและหน่วยราชการ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติรายงานว่า คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2541 และสัมมนาเรื่อง "ศาสนาและจริยธรรมกับความมั่นคงของชาติ"เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 โดยมีสาระสำคัญที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติ ดังนี้
1. ควรมีการจัดทำแผนทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการและองค์การเอกชนต่าง ๆ ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบติเพื่อให้เกิดเอกภาพ
2. ในการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อความมั่นคงของชาติ ควรปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงชองชาติ พ.ศ. 2540 - 2544) ด้านสังคมจิตวิทยาที่เกี่ยวกับศาสนาและจริยธรรม ดังนี้ คนในชาติมีค่านิยมที่ถูกต้องและดีงาม มีการเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาอย่างถูกต้อง ผู้นำทุกระดับและทุกวงการจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่าง จะต้องยึดมั่นคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงาม มีระเบียบวินัย การประหยัด การรู้จักและเคารพสิทธิหน้าที่ทั้งของตนเองและผู้อื่น ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัวให้มีความมั่นคง
3. ในการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อความมั่นคงของชาติ จะต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะ
3.1 รัฐบาลและหน่วยราชการ ควรมีบทบาท ดังนี้
1) รัฐต้องกำหนดนโยบายของรัฐทางด้านส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมให้ชัดเจน โดยหน่วยราชการต้องเป็นแม่แบบที่ดีในการปฏิบัติตามนโยบายให้เกิดสำนึกผลจริง
2) รัฐต้องจัดงบประมาณและบุคลากรในการดำเนินนโยบายดังกล่าวข้างต้นได้อย่างเพียงพอ
3) จัดกิจกรรมการอบรมศาสนาและจริยธรรมอย่างต่อเนื่องและแทรกลงในทุกหลักสูตรการอบรมและทุกรูปแบบของการสอบเลื่อนขั้น โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรของสถาบันศาสนาเข้ามีส่วนร่วมด้วย
4) รัฐต้องกระตุ้นและส่งเสริมสื่อมวลชนทุกชนิดให้ส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมอย่างจริงจัง
5) จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำทุกปี และวันสำคัญทางศาสนาประจำสัปดาห์
3.2 สถาบันทางศาสนา ควรมีบทบาทในการ พัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา
3.3 สถาบันการศึกษา ควรมีบทบาทดังนี้
1) ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยการสอนจริยธรรมอย่างจริงจัง
2) ครู อาจารย์ ควรมีการพบปะสัมมนา เพื่อให้เกิดแนวคิดในการสอนจริยธรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศรัทธาให้แก่นักเรียนนักศึกษาให้มากขึ้น
4) ควรจัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมด้านศาสนาและจริยธรรม และควรได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนเพื่อขยายผลให้มากขึ้น
5) บุคลากรผู้สอนด้านจริยธรรม ควรเกาะติดสถานการณ์ปัจจุบันและทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา
6) เลือกสรรและรับสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3.4 ภาคเอกชน ควรมีบทบาทดังนี้
1) องค์การเอกชนควรร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกัน
2) ส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือเผยแผ่ศีลธรรมและคุณธรรม เปิดหลักสูตรอบรมวิทยากรที่จะเผยแพร่ศีลธรรมและมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
3) สถาบันการศึกษาควรให้การยกย่องส่งเสริมผู้ปฏิบัติธรรมดีเด่น ยกย่องคนดีเป็นตัวอย่าง
4) ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ กันให้เกิดความสมานฉันท์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 สิงหาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อความมั่นคงของชาติ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี(นายพิชัย รัตตกุล) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบให้จัดทำแผนทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการและองค์การเอกชนต่าง ๆ ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดเอกภาพ โดยเสนอข้อปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงของชาติ (พ.ศ. 2540 - 2544) ด้านสังคมจิตวิทยา และขอความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะรัฐบาลและหน่วยราชการ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติรายงานว่า คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2541 และสัมมนาเรื่อง "ศาสนาและจริยธรรมกับความมั่นคงของชาติ"เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 โดยมีสาระสำคัญที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติ ดังนี้
1. ควรมีการจัดทำแผนทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการและองค์การเอกชนต่าง ๆ ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบติเพื่อให้เกิดเอกภาพ
2. ในการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อความมั่นคงของชาติ ควรปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงชองชาติ พ.ศ. 2540 - 2544) ด้านสังคมจิตวิทยาที่เกี่ยวกับศาสนาและจริยธรรม ดังนี้ คนในชาติมีค่านิยมที่ถูกต้องและดีงาม มีการเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาอย่างถูกต้อง ผู้นำทุกระดับและทุกวงการจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่าง จะต้องยึดมั่นคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงาม มีระเบียบวินัย การประหยัด การรู้จักและเคารพสิทธิหน้าที่ทั้งของตนเองและผู้อื่น ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัวให้มีความมั่นคง
3. ในการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเพื่อความมั่นคงของชาติ จะต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะ
3.1 รัฐบาลและหน่วยราชการ ควรมีบทบาท ดังนี้
1) รัฐต้องกำหนดนโยบายของรัฐทางด้านส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมให้ชัดเจน โดยหน่วยราชการต้องเป็นแม่แบบที่ดีในการปฏิบัติตามนโยบายให้เกิดสำนึกผลจริง
2) รัฐต้องจัดงบประมาณและบุคลากรในการดำเนินนโยบายดังกล่าวข้างต้นได้อย่างเพียงพอ
3) จัดกิจกรรมการอบรมศาสนาและจริยธรรมอย่างต่อเนื่องและแทรกลงในทุกหลักสูตรการอบรมและทุกรูปแบบของการสอบเลื่อนขั้น โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรของสถาบันศาสนาเข้ามีส่วนร่วมด้วย
4) รัฐต้องกระตุ้นและส่งเสริมสื่อมวลชนทุกชนิดให้ส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมอย่างจริงจัง
5) จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำทุกปี และวันสำคัญทางศาสนาประจำสัปดาห์
3.2 สถาบันทางศาสนา ควรมีบทบาทในการ พัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา
3.3 สถาบันการศึกษา ควรมีบทบาทดังนี้
1) ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยการสอนจริยธรรมอย่างจริงจัง
2) ครู อาจารย์ ควรมีการพบปะสัมมนา เพื่อให้เกิดแนวคิดในการสอนจริยธรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศรัทธาให้แก่นักเรียนนักศึกษาให้มากขึ้น
4) ควรจัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมด้านศาสนาและจริยธรรม และควรได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนเพื่อขยายผลให้มากขึ้น
5) บุคลากรผู้สอนด้านจริยธรรม ควรเกาะติดสถานการณ์ปัจจุบันและทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา
6) เลือกสรรและรับสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3.4 ภาคเอกชน ควรมีบทบาทดังนี้
1) องค์การเอกชนควรร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกัน
2) ส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือเผยแผ่ศีลธรรมและคุณธรรม เปิดหลักสูตรอบรมวิทยากรที่จะเผยแพร่ศีลธรรมและมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
3) สถาบันการศึกษาควรให้การยกย่องส่งเสริมผู้ปฏิบัติธรรมดีเด่น ยกย่องคนดีเป็นตัวอย่าง
4) ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ กันให้เกิดความสมานฉันท์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 สิงหาคม 2542--