คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานการดำเนินงานคาราวานแก้จนและการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ของกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
1. ความคืบหน้าการดำเนินงานคาราวานแก้จน
การดำเนินงานคาราวานแก้จนในระยะแรก มีลักษณะให้การสงเคราะห์ เพื่อนำงานบริการของส่วนราชการไปให้บริการประชาชนในพื้นที่ หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งต่อมาศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง ได้จัดการอบรมนายอำเภอและผู้อำนวยการเขตในกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดเป้าหมาย รูปแบบ และแนวทางการดำเนินงานคาราวานแก้จน ตามนโยบายยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและกรอบแนวคิด ของนายกรัฐมนตรีที่ไปสาธิตการดำเนินงานคาราวานแก้จนระดับพื้นที่ ณ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ทุกอำเภอ ดำเนินงานคาราวานแก้จนรูปแบบใหม่เต็มพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป
ผลการดำเนินงานคาราวานแก้จนสรุปได้ ดังนี้
1.1 ช่วงผลการกลั่นกรองข้อมูลและช่วยเหลือระยะแรก (ข้อมูล ณ 21 ธันวาคม 2548)
1.1.1 ผลการกลั่นกรอง ผู้จดทะเบียนทั้งหมด 13,107,162 ปัญหา ได้แก่ 1. ผู้มีความจำเป็นจริง (Need) 6,926,056 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 52.84 2. ผู้ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน (Want) 6,181,106 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 47.16
จากการกลั่นกรองข้อมูลผู้จดทะเบียน 13,107,162 ปัญหา ตามแนวทางที่ ศตจ.มท. และกรมการปกครองกำหนด สามารถแยกได้ ดังนี้
1) จำนวนผู้ที่มีความจำเป็นจริง/ต้องการความช่วยเหลือ(Need) 6,926,056 ปัญหาคิดเป็นร้อยละ 52.84 ของจำนวนผู้จดทะเบียนทั้งหมด
2) จำนวนผู้ที่ไม่มีความจำเป็นจริง/ไม่มีความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ (Want) 6,181,106 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 47.16 ของจำนวนผู้จดทะเบียนทั้งหมด
1.1.2 ผลการให้ความช่วยเหลือ (Verify) ได้นำกลุ่ม Need มาจัดทำข้อมูลศักยภาพ (Profile) ครัวเรือน ส่งให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนอำเภอ (ศตจ.อ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ดังนี้ ผู้มีความจำเป็นจริง (Need) 6,926,056 ปัญหา โดยแบ่งออกเป็น 1. ได้รับความช่วยเหลือเสร็จสมบูรณ์ 2,057,212 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.70 2. อยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือ 2,522,556 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.42 3. ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ 2,346,288 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.88 จากจำนวนผู้ที่มีความจำเป็นจริง (Need) มีผลการให้ความช่วยเหลือเสร็จสมบูรณ์แล้ว 2,057,212 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.70 อยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือ 2,522,556 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.42 และยังมีที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ 2,346,288 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.88
1.2 ช่วงการดำเนินการแก้ปัญหา เมื่อทีมงานคาราวานแก้จนได้สำรวจ Demand และ Supply แล้ว จะนำเอาข้อมูล ปัญหา ความต้องการและศักยภาพของครัวเรือนที่จัดทำไว้ไปประสานกับหน่วยราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือประชาชนให้ได้ครบทุกครัวเรือนเป้าหมาย ภายในเดือนมกราคม 2550 โดยมีภารกิจ 2 ด้าน คือ
1) การแก้ไขปัญหาระดับชุมชน โดยใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาชุมชนและตนเอง ซึ่งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ(ศตจ.) และ ศตจ.มท. ได้มอบให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาการ และภาค ประชาชนในพื้นที่
2) การแก้ไขปัญหาระดับครัวเรือนและบุคคล โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ ด้านหนี้สินภาคประชาชน ด้านเกษตรกรรม ด้านนอกภาคเกษตรกรรม ด้านที่ดินทำกิน และด้านที่อยู่อาศัย ดำเนินการในขอบเขตหน้าที่ของ ศตจ.อ. ส่วนในกรณีที่เกินกว่าอำนาจการดำเนินการให้รายงานให้ ศตจ.จ. ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในระดับจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง
1.3 ช่วงการส่งเสริมและติดตาม เป็นการสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา ทีมคาราวานแก้จนจะออกตรวจสอบว่า ภายหลังที่ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว ครัวเรือนนั้นมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้จากการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร โดยทีมคาราวานแก้จนจะต้องออกพบปะเยี่ยมเยียนครัวเรือนที่ยากจนให้ครบทุกครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ภายในเดือนกรกฎาคม 2551 ทั้งนี้จะมีพัฒนากรลงพื้นที่ไปติดตามประเมินการทำงาน เสริมจากบทบาทงานประจำด้วย
2. แนวทางการดำเนินงานคาราวานแก้จน ปีงบประมาณ 2549 - 2551 เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการประสบผลสำเร็จภายในปี 2551 ศตจ.มท. และกรมการปกครอง ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน ดังนี้
2.1 กำหนดเป้าหมายการแก้ไขปัญหาในภาพรวมทุกปัญหา โดยจะนำเป้าหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้ความช่วยเหลือที่ยังไม่แล้วเสร็จ และที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ มากำหนดเป็นเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาในภาพรวมทุกปัญหา ปี 2549 — 2551
ปีงบประมาณ เป้าหมายประจำปี เป้าหมายสะสม
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
2549 40 40
2550 30 70
2551 30 100
2.2 จัดทีมแก้ไขปัญหาแต่ละด้าน (Marching Demand — Supply) โดยจัดองค์กรการบริหารเพื่อสนับสนุนการดำเนินการคาราวานแก้จนทั้งระดับจังหวัด/อำเภอ ศตจ. ได้มีคำสั่ง ศตจ.ที่ 26/2548 และ 36/2548 ลงวันที่ 10 ตุลาคม และ 14 ธันวาคม 2548 ตามลำดับ ให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน องค์กรภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน โดยประกอบด้วยฝ่ายปฏิบัติการรวม 7 ฝ่าย เพื่อเข้าไปถึงครัวเรือนและบุคคล ค้นหาปัญหาความยากจน ปัญหาความเดือดร้อน และปัญหาความต้องการของครัวเรือนเหล่านั้น นำมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการ รวมทั้งความเร่งด่วนในพื้นที่ ให้สอดรับกันกับ Supply ที่ทุกหน่วยงานในพื้นที่มีอยู่
2.3 จัดระบบฐานข้อมูล กำหนดให้กรมการปกครอง โดยศูนย์คอมพิวเตอร์สำนักบริหารการทะเบียนเป็นศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลการแก้ไขปัญหาความยากจน และจะกำหนดให้ผลการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นตัวชี้วัด (KPI) ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.4 สนับสนุนส่งเสริมกระบวนการชุมชนของหมู่บ้าน ตามแนวทางการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง โดยมอบให้กรมการพัฒนาชุมชนจัดชุดปฏิบัติการแก้จนระดับหมู่บ้าน/ครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครพัฒนาชุมชน อาทิ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาพัฒนาชุมชน คณะกรรมการพัฒนาสตรี หมู่บ้าน/ตำบล กลุ่ม/เครือข่ายองค์กรชุมชนในพื้นที่ เป็นต้น เป็นองค์กรขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับชุมชน และเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป
3. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
จากข้อมูลการจดทะเบียน เมื่อเดือนมีนาคม 2547 ปรากฏว่ามีผู้มาจดทะเบียนปัญหา หนี้สินภาคประชาชน คิดเป็นร้อยละ 38.37 ของผู้มาจดทะเบียนทั้งหมด โดยเป็นหนี้นอกระบบ 1,765,033 ราย มูลหนี้ 136,383 ล้านบาท
ศตจ. โดยคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนของ ศตจ. และศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กระทรวงการคลัง (ศอก.นส.) ได้มอบหมายให้ ศตจ.มท. ดำเนินการภายใต้กรอบแนวทางที่กำหนด ดังนี้
3.1 ช่วงการเจรจาต่อรอง (พฤษภาคม — สิงหาคม 2547) ให้ ศตจ.จ./อ. จัดทีมเจรจาหนี้รวม 6,036 ทีม เพื่อเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจา โดยสามารถยุติเรื่องเพราะลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกันได้และไม่มีความประสงค์จะดำเนินการต่อ หรือเพราะเหตุอื่นๆ เป็นจำนวนมาก แต่ยังมีลูกหนี้ที่มีความประสงค์จะขอกู้ธนาคารของรัฐ 218,000 ราย
3.2 ช่วงกระบวนการเข้าสู่ระบบ (กันยายน 2547 — สิงหาคม 2548) ศตจ.จ./อ. ได้ร่วมกับธนาคารของรัฐ 5 แห่ง คือ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้นำลูกหนี้ที่มีความประสงค์จะขอกู้ธนาคาร 218,000 ราย เข้าสู่ระบบธนาคารดังกล่าวในชั้นนี้
- ธนาคารอนุมัติให้กู้ 74,629 ราย
- ไม่มาติดต่อหรือยุติเรื่อง 63,836 ราย
- ธนาคารไม่อนุมัติให้กู้เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ 79,535 ราย
3.3 ช่วงการติดตามและฟื้นฟู (กันยายน 2548 — ปัจจุบัน) นอกจากการดำเนินการของ ศอก.นส. ที่มอบหมายให้ธนาคารดำเนินการเพื่อให้เข้าสู่ระบบธนาคารแล้ว ศตจ.มท. ยังได้มอบหมายให้ ศตจ.จ./อ. นำเอาบัญชีลูกหนี้ในกลุ่มที่กู้ไม่ได้เพราะไม่มาติดต่อหรือขอยุติเรื่อง 63,836 ราย และบัญชีรายชื่อลูกหนี้ ในกลุ่มที่ธนาคารไม่อนุมัติให้กู้ 79,535 ราย ออกไปติดตาม ค้นหา จากการดำเนินงานคาราวานแก้จน เพื่อสอบถามความประสงค์และเข้าไปดูแล โดยเจรจาผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคาร เพื่อให้ลูกหนี้เหล่านี้สามารถเข้าสู่ระบบธนาคารได้ หากยังไม่สามารถเข้าระบบธนาคารได้ ธนาคารจะนำเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเพื่อให้ลูกหนี้เหล่านี้มีรายได้เพิ่มขึ้นจนเข้าหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
นอกจากนี้ ศตจ.มท. และ ศอก.นส. ได้เปิดช่องทางการรับแจ้งปัญหาด้านหนี้สินเพิ่มเติม โดยรับจดทะเบียนเพิ่มเติมในการออกไปดำเนินการคาราวานแก้จน และให้ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. เป็นผู้ดำเนินการรับเรื่องปัญหาด้านหนี้สินที่ธนาคารทุกสาขาโดยตรง
4. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกรณีนายทุนเงินกู้เป็นผู้มีอิทธิพล
ขณะนี้ยังปรากฏมีการร้องเรียน/ร้องทุกข์ ขอความเป็นธรรมจากลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเจ้าหนี้นายทุนเงินกู้ที่มีอิทธิพล หรือมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยบังคับ ข่มขู่ คุกคาม เอารัดเอาเปรียบลูกหนี้โดยไม่เป็นธรรม ศตจ. และ ศตจ.มท. จึงได้ร่วมกันพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
4.1 แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตามคำสั่ง ศตจ.ที่ 30/2548 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะทำงานฯ เพื่อทำหน้าที่กำกับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม เร่งรัด และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของ ศตจ.จ./อ.
4.2 แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบในพื้นที่ โดยมีหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบจากนายทุนเงินกู้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งคณะทำงานชุดนี้ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่สำคัญไปแล้ว ดังนี้
1) รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ จากประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนปัญหาหนี้นอกระบบจากนายทุนเงินกู้ ในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สกลนคร ลำปาง มหาสารคาม ขอนแก่น และสุรินทร์ ที่มาร้องเรียนขอ ความเป็นธรรมโดยตรงที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยจะเชิญเจ้าหนี้ผู้ถูกร้องเรียนมาชี้แจง หากเจ้าหนี้ยินยอมประนีประนอมหนี้ก็จะจัดให้มีการดำเนินการตามความประสงค์ของเจ้าหนี้ หากกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ หรือเจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือและปรากฏว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย ก็จะประสานส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายนั้น ๆ
2) รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/ช่องทางปกติจากช่องทางต่างๆ เช่น จากศูนย์ดำรงธรรม จากส่วนราชการอื่น โดยได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ ศตจ.จ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่ หากตรวจสอบแล้วมีรายใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ให้รายงานกระทรวงมหาดไทย เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานจาก ส่วนกลางเข้าไปดำเนินการ
3) ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยคณะทำงาน ได้ลงไปในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี และสุรินทร์ เพื่อชี้แจงนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล รวมทั้งเชิญลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมหารือแก้ไขปัญหา ซึ่งมีผลการดำเนินงาน
- ที่จังหวัดอุดรธานี สามารถประนีประนอมหนี้จนยุติเรื่องได้ 62 ราย วงเงินในการเจรจาหนี้ 9,039,419 บาท และลดหนี้ไปได้ 3,922,939 บาท
- จังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการกับนายทุนเงินกู้นอกระบบรายใหญ่ ซึ่งมีพฤติการณ์ปล่อยเงินกู้ โดยกรอกข้อความจำนวนเงินกู้สูงกว่าที่กู้ยืมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ และเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยใช้มาตรการทางอาญา มาตรการยึดทรัพย์สิน และมาตรการทางกฎหมายภาษีอากร
- ที่จังหวัดสุรินทร์ มีลูกหนี้มารอขอให้ช่วยเหลือและขอคำปรึกษากว่า 300 ราย ซึ่งบางส่วนเป็นกรณีรายย่อย ซึ่งอยู่ในอำนาจของจังหวัดที่สามารถดำเนินการได้ ตามกรอบที่กำหนดไว้
4) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกรณีเจ้าหนี้เป็นนายทุนเงินกู้กระทำผิดกฎหมาย หรือเป็นผู้มีอิทธิพล หรือหนี้นอกระบบที่เกิดจากเจ้าหนี้ใช้กลฉ้อฉลในการปิดบังอำพรางทำให้ดูเสมือนการกู้ยืมถูกต้องตามกฎหมาย ทางสื่อมวลชนต่าง ๆ ทุกช่องทาง เช่น ทางสถานีโทรทัศน์ในรายการที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น
5) กำหนดกรอบหลักเกณฑ์การดำเนินงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้
5.1) ดำเนินการแก้ไขปัญหา หรือดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ที่กระทำผิดกฎหมายโดยเน้น เจ้าหนี้รายใหญ่
5.2) จัดให้มีการสอบถามข้อมูล รายละเอียดพฤติการณ์ของเจ้าหนี้ จากลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเชิญลูกหนี้มาเพื่อให้ข้อมูล และลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลจากลูกหนี้เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
5.3) รวบรวมวิเคราะห์พยานหลักฐานจากลูกหนี้ และมอบหมายให้ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
4.3 แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบระดับจังหวัด ศตจ.มท. ได้แจ้งให้แต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นคณะทำงานฯ มีหน้าที่รับข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์จากประชาชน และตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีที่มีการกระทำผิดตามกฎหมายหรือการเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้โดยไม่เป็นธรรม โดยคณะทำงานชุดนี้ จะเข้ารับการอบรมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ แนวทางและขั้นตอนการดำเนินการกับเจ้าหนี้นายทุนเงินกู้ที่กระทำผิดกฎหมาย
อนึ่ง กระทรวงมหาดไทยจะได้จัดอบรมแก่คณะทำงานชุดนี้ในระยะอันใกล้นี้ โดยกราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธาน เพื่อเน้นย้ำนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล ซึ่งกระทบกับประชาชนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยตรง
5. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานด้านแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน และด้านที่อยู่อาศัย ของ ศตจ.จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการที่ดูแลที่ดินของรัฐ การเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชนในพื้นที่ ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ลงทะเบียนเพื่อขอที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย รวบรวมสรุปได้ ดังนี้
5.1 ด้านที่ดินทำกิน 1
การแก้ไขปัญหา จำนวน (ราย)
1. จัดที่ดินให้แก่ผู้ไม่มีที่ดินทำกิน 26,862
2. ส่งเสริมทักษะ ให้ความรู้ด้าน
การเกษตรแผนใหม่/จัดหาที่ดิน
ฯลฯ ให้แก่ผู้มีที่ดินแต่ไม่เพียงพอ 17,352
3. ออกเอกสารแสดงสิทธิ์ให้แก่ผู้มี
ที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 91,505
รวม 135,739
1 ที่มา: คาราวานแก้จน ของกรมการปกครอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548
5.2 ด้านที่อยู่อาศัย 2
การแก้ไขปัญหา จำนวน(หลัง)
1. สร้างที่อยู่อาศัย
- งบประมาณของท้องถิ่น 901
2. สร้างที่อยู่อาศัย
- งบประมาณ CEO 73
3. จัดหา/สร้างที่อยู่อาศัย
- บ้านเอื้ออาทร(ทำสัญญา) 28,125
- บ้านมั่นคง 29,738
4. ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 844
5. เจรจากับเจ้าของที่ดินเพื่อชะลอ
การไล่รื้อ 13,067
6. จัดหาบ้านเช่าราคาถูก 2,368
รวม 75,116
2ที่มา: รายงานจากจังหวัด ของ ศตจ.มท. และ รายงานของ กคช.
สำหรับในด้านการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในระยะต่อไปนั้น คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 เห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดหาและจัดที่ดินทำกินให้แก่คนยากจน โดยมอบหมายให้ ศตจ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินทำกิน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการจัดที่ดินทำกินให้แก่คนยากจน มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) เป็นประธาน
6. การเตรียมการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการต้นแบบอำเภอนำร่อง
ตามที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะลงไปดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการต้นแบบอำเภอนำร่อง ณ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในระหว่างวันที่ 16 — 21 มกราคม 2549 ศตจ.มท. กรมการปกครอง และจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าวในระดับพื้นที่ ดังนี้
6.1 การกลั่นกรองข้อมูล (Verify) ผู้จดทะเบียน โดยแยกผู้จดทะเบียนของอำเภออาจสามารถที่ควรได้รับความช่วยเหลือ (Need) ได้จำนวน 1,833 ราย ให้การช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 1,085 ราย ยังคงต้องการความช่วยเหลืออีก 748 ราย ใน 3 ปัญหา คือ
1) ปัญหาที่ดินทำกิน 570 ราย ไม่มีที่ดิน 345 ราย มีที่ดินแต่ไม่เพียงพอ 78 ราย และครอบครอง ที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ 145 ราย
2) ปัญหานี้สินภาคประชาชน มีหนี้ในระบบ 111 ราย ขณะนี้ส่งให้ ธ.ก.ส. 98 ราย ธนาคารออมสิน 1 ราย และสหกรณ์ออมทรัพย์ 12 ราย โดยทั้งหมดอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความช่วยเหลือภายใต้หลักเกณฑ์และหน่วยงานดังกล่าว
3) ปัญหาที่อยู่อาศัย 67 ราย
6.2 การจัดทำรายละเอียดครัวเรือน (Family Folder) ดำเนินการสำรวจครัวเรือนทุกครัวเรือนในพื้นที่อำเภออาจสามารถเพื่อจัดทำข้อมูลศักยภาพ (Profile) รายครัวเรือนของครัวเรือนยากจนที่จดทะเบียนไว้ ตามแนวทางที่ ศตจ.มท. และกรมการปกครองกำหนด ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2548
นอกจากนี้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้มีการประสานการเตรียมการกับจังหวัดร้อยเอ็ดตามที่ได้ มีการประชุมกับนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
1. ความคืบหน้าการดำเนินงานคาราวานแก้จน
การดำเนินงานคาราวานแก้จนในระยะแรก มีลักษณะให้การสงเคราะห์ เพื่อนำงานบริการของส่วนราชการไปให้บริการประชาชนในพื้นที่ หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งต่อมาศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง ได้จัดการอบรมนายอำเภอและผู้อำนวยการเขตในกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดเป้าหมาย รูปแบบ และแนวทางการดำเนินงานคาราวานแก้จน ตามนโยบายยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและกรอบแนวคิด ของนายกรัฐมนตรีที่ไปสาธิตการดำเนินงานคาราวานแก้จนระดับพื้นที่ ณ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ทุกอำเภอ ดำเนินงานคาราวานแก้จนรูปแบบใหม่เต็มพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป
ผลการดำเนินงานคาราวานแก้จนสรุปได้ ดังนี้
1.1 ช่วงผลการกลั่นกรองข้อมูลและช่วยเหลือระยะแรก (ข้อมูล ณ 21 ธันวาคม 2548)
1.1.1 ผลการกลั่นกรอง ผู้จดทะเบียนทั้งหมด 13,107,162 ปัญหา ได้แก่ 1. ผู้มีความจำเป็นจริง (Need) 6,926,056 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 52.84 2. ผู้ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน (Want) 6,181,106 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 47.16
จากการกลั่นกรองข้อมูลผู้จดทะเบียน 13,107,162 ปัญหา ตามแนวทางที่ ศตจ.มท. และกรมการปกครองกำหนด สามารถแยกได้ ดังนี้
1) จำนวนผู้ที่มีความจำเป็นจริง/ต้องการความช่วยเหลือ(Need) 6,926,056 ปัญหาคิดเป็นร้อยละ 52.84 ของจำนวนผู้จดทะเบียนทั้งหมด
2) จำนวนผู้ที่ไม่มีความจำเป็นจริง/ไม่มีความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ (Want) 6,181,106 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 47.16 ของจำนวนผู้จดทะเบียนทั้งหมด
1.1.2 ผลการให้ความช่วยเหลือ (Verify) ได้นำกลุ่ม Need มาจัดทำข้อมูลศักยภาพ (Profile) ครัวเรือน ส่งให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนอำเภอ (ศตจ.อ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ดังนี้ ผู้มีความจำเป็นจริง (Need) 6,926,056 ปัญหา โดยแบ่งออกเป็น 1. ได้รับความช่วยเหลือเสร็จสมบูรณ์ 2,057,212 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.70 2. อยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือ 2,522,556 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.42 3. ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ 2,346,288 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.88 จากจำนวนผู้ที่มีความจำเป็นจริง (Need) มีผลการให้ความช่วยเหลือเสร็จสมบูรณ์แล้ว 2,057,212 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.70 อยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือ 2,522,556 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.42 และยังมีที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ 2,346,288 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.88
1.2 ช่วงการดำเนินการแก้ปัญหา เมื่อทีมงานคาราวานแก้จนได้สำรวจ Demand และ Supply แล้ว จะนำเอาข้อมูล ปัญหา ความต้องการและศักยภาพของครัวเรือนที่จัดทำไว้ไปประสานกับหน่วยราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือประชาชนให้ได้ครบทุกครัวเรือนเป้าหมาย ภายในเดือนมกราคม 2550 โดยมีภารกิจ 2 ด้าน คือ
1) การแก้ไขปัญหาระดับชุมชน โดยใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาชุมชนและตนเอง ซึ่งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ(ศตจ.) และ ศตจ.มท. ได้มอบให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาการ และภาค ประชาชนในพื้นที่
2) การแก้ไขปัญหาระดับครัวเรือนและบุคคล โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ ด้านหนี้สินภาคประชาชน ด้านเกษตรกรรม ด้านนอกภาคเกษตรกรรม ด้านที่ดินทำกิน และด้านที่อยู่อาศัย ดำเนินการในขอบเขตหน้าที่ของ ศตจ.อ. ส่วนในกรณีที่เกินกว่าอำนาจการดำเนินการให้รายงานให้ ศตจ.จ. ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในระดับจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง
1.3 ช่วงการส่งเสริมและติดตาม เป็นการสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา ทีมคาราวานแก้จนจะออกตรวจสอบว่า ภายหลังที่ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว ครัวเรือนนั้นมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้จากการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร โดยทีมคาราวานแก้จนจะต้องออกพบปะเยี่ยมเยียนครัวเรือนที่ยากจนให้ครบทุกครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ภายในเดือนกรกฎาคม 2551 ทั้งนี้จะมีพัฒนากรลงพื้นที่ไปติดตามประเมินการทำงาน เสริมจากบทบาทงานประจำด้วย
2. แนวทางการดำเนินงานคาราวานแก้จน ปีงบประมาณ 2549 - 2551 เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการประสบผลสำเร็จภายในปี 2551 ศตจ.มท. และกรมการปกครอง ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน ดังนี้
2.1 กำหนดเป้าหมายการแก้ไขปัญหาในภาพรวมทุกปัญหา โดยจะนำเป้าหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้ความช่วยเหลือที่ยังไม่แล้วเสร็จ และที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ มากำหนดเป็นเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาในภาพรวมทุกปัญหา ปี 2549 — 2551
ปีงบประมาณ เป้าหมายประจำปี เป้าหมายสะสม
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
2549 40 40
2550 30 70
2551 30 100
2.2 จัดทีมแก้ไขปัญหาแต่ละด้าน (Marching Demand — Supply) โดยจัดองค์กรการบริหารเพื่อสนับสนุนการดำเนินการคาราวานแก้จนทั้งระดับจังหวัด/อำเภอ ศตจ. ได้มีคำสั่ง ศตจ.ที่ 26/2548 และ 36/2548 ลงวันที่ 10 ตุลาคม และ 14 ธันวาคม 2548 ตามลำดับ ให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน องค์กรภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน โดยประกอบด้วยฝ่ายปฏิบัติการรวม 7 ฝ่าย เพื่อเข้าไปถึงครัวเรือนและบุคคล ค้นหาปัญหาความยากจน ปัญหาความเดือดร้อน และปัญหาความต้องการของครัวเรือนเหล่านั้น นำมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการ รวมทั้งความเร่งด่วนในพื้นที่ ให้สอดรับกันกับ Supply ที่ทุกหน่วยงานในพื้นที่มีอยู่
2.3 จัดระบบฐานข้อมูล กำหนดให้กรมการปกครอง โดยศูนย์คอมพิวเตอร์สำนักบริหารการทะเบียนเป็นศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลการแก้ไขปัญหาความยากจน และจะกำหนดให้ผลการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นตัวชี้วัด (KPI) ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.4 สนับสนุนส่งเสริมกระบวนการชุมชนของหมู่บ้าน ตามแนวทางการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง โดยมอบให้กรมการพัฒนาชุมชนจัดชุดปฏิบัติการแก้จนระดับหมู่บ้าน/ครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครพัฒนาชุมชน อาทิ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาพัฒนาชุมชน คณะกรรมการพัฒนาสตรี หมู่บ้าน/ตำบล กลุ่ม/เครือข่ายองค์กรชุมชนในพื้นที่ เป็นต้น เป็นองค์กรขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับชุมชน และเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป
3. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
จากข้อมูลการจดทะเบียน เมื่อเดือนมีนาคม 2547 ปรากฏว่ามีผู้มาจดทะเบียนปัญหา หนี้สินภาคประชาชน คิดเป็นร้อยละ 38.37 ของผู้มาจดทะเบียนทั้งหมด โดยเป็นหนี้นอกระบบ 1,765,033 ราย มูลหนี้ 136,383 ล้านบาท
ศตจ. โดยคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนของ ศตจ. และศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กระทรวงการคลัง (ศอก.นส.) ได้มอบหมายให้ ศตจ.มท. ดำเนินการภายใต้กรอบแนวทางที่กำหนด ดังนี้
3.1 ช่วงการเจรจาต่อรอง (พฤษภาคม — สิงหาคม 2547) ให้ ศตจ.จ./อ. จัดทีมเจรจาหนี้รวม 6,036 ทีม เพื่อเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจา โดยสามารถยุติเรื่องเพราะลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกันได้และไม่มีความประสงค์จะดำเนินการต่อ หรือเพราะเหตุอื่นๆ เป็นจำนวนมาก แต่ยังมีลูกหนี้ที่มีความประสงค์จะขอกู้ธนาคารของรัฐ 218,000 ราย
3.2 ช่วงกระบวนการเข้าสู่ระบบ (กันยายน 2547 — สิงหาคม 2548) ศตจ.จ./อ. ได้ร่วมกับธนาคารของรัฐ 5 แห่ง คือ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้นำลูกหนี้ที่มีความประสงค์จะขอกู้ธนาคาร 218,000 ราย เข้าสู่ระบบธนาคารดังกล่าวในชั้นนี้
- ธนาคารอนุมัติให้กู้ 74,629 ราย
- ไม่มาติดต่อหรือยุติเรื่อง 63,836 ราย
- ธนาคารไม่อนุมัติให้กู้เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ 79,535 ราย
3.3 ช่วงการติดตามและฟื้นฟู (กันยายน 2548 — ปัจจุบัน) นอกจากการดำเนินการของ ศอก.นส. ที่มอบหมายให้ธนาคารดำเนินการเพื่อให้เข้าสู่ระบบธนาคารแล้ว ศตจ.มท. ยังได้มอบหมายให้ ศตจ.จ./อ. นำเอาบัญชีลูกหนี้ในกลุ่มที่กู้ไม่ได้เพราะไม่มาติดต่อหรือขอยุติเรื่อง 63,836 ราย และบัญชีรายชื่อลูกหนี้ ในกลุ่มที่ธนาคารไม่อนุมัติให้กู้ 79,535 ราย ออกไปติดตาม ค้นหา จากการดำเนินงานคาราวานแก้จน เพื่อสอบถามความประสงค์และเข้าไปดูแล โดยเจรจาผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคาร เพื่อให้ลูกหนี้เหล่านี้สามารถเข้าสู่ระบบธนาคารได้ หากยังไม่สามารถเข้าระบบธนาคารได้ ธนาคารจะนำเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเพื่อให้ลูกหนี้เหล่านี้มีรายได้เพิ่มขึ้นจนเข้าหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
นอกจากนี้ ศตจ.มท. และ ศอก.นส. ได้เปิดช่องทางการรับแจ้งปัญหาด้านหนี้สินเพิ่มเติม โดยรับจดทะเบียนเพิ่มเติมในการออกไปดำเนินการคาราวานแก้จน และให้ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. เป็นผู้ดำเนินการรับเรื่องปัญหาด้านหนี้สินที่ธนาคารทุกสาขาโดยตรง
4. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกรณีนายทุนเงินกู้เป็นผู้มีอิทธิพล
ขณะนี้ยังปรากฏมีการร้องเรียน/ร้องทุกข์ ขอความเป็นธรรมจากลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเจ้าหนี้นายทุนเงินกู้ที่มีอิทธิพล หรือมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยบังคับ ข่มขู่ คุกคาม เอารัดเอาเปรียบลูกหนี้โดยไม่เป็นธรรม ศตจ. และ ศตจ.มท. จึงได้ร่วมกันพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
4.1 แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตามคำสั่ง ศตจ.ที่ 30/2548 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะทำงานฯ เพื่อทำหน้าที่กำกับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม เร่งรัด และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของ ศตจ.จ./อ.
4.2 แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบในพื้นที่ โดยมีหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบจากนายทุนเงินกู้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งคณะทำงานชุดนี้ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่สำคัญไปแล้ว ดังนี้
1) รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ จากประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนปัญหาหนี้นอกระบบจากนายทุนเงินกู้ ในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี สกลนคร ลำปาง มหาสารคาม ขอนแก่น และสุรินทร์ ที่มาร้องเรียนขอ ความเป็นธรรมโดยตรงที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยจะเชิญเจ้าหนี้ผู้ถูกร้องเรียนมาชี้แจง หากเจ้าหนี้ยินยอมประนีประนอมหนี้ก็จะจัดให้มีการดำเนินการตามความประสงค์ของเจ้าหนี้ หากกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ หรือเจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือและปรากฏว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย ก็จะประสานส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายนั้น ๆ
2) รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/ช่องทางปกติจากช่องทางต่างๆ เช่น จากศูนย์ดำรงธรรม จากส่วนราชการอื่น โดยได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ ศตจ.จ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่ หากตรวจสอบแล้วมีรายใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ให้รายงานกระทรวงมหาดไทย เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานจาก ส่วนกลางเข้าไปดำเนินการ
3) ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยคณะทำงาน ได้ลงไปในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี และสุรินทร์ เพื่อชี้แจงนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล รวมทั้งเชิญลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมหารือแก้ไขปัญหา ซึ่งมีผลการดำเนินงาน
- ที่จังหวัดอุดรธานี สามารถประนีประนอมหนี้จนยุติเรื่องได้ 62 ราย วงเงินในการเจรจาหนี้ 9,039,419 บาท และลดหนี้ไปได้ 3,922,939 บาท
- จังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการกับนายทุนเงินกู้นอกระบบรายใหญ่ ซึ่งมีพฤติการณ์ปล่อยเงินกู้ โดยกรอกข้อความจำนวนเงินกู้สูงกว่าที่กู้ยืมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ และเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยใช้มาตรการทางอาญา มาตรการยึดทรัพย์สิน และมาตรการทางกฎหมายภาษีอากร
- ที่จังหวัดสุรินทร์ มีลูกหนี้มารอขอให้ช่วยเหลือและขอคำปรึกษากว่า 300 ราย ซึ่งบางส่วนเป็นกรณีรายย่อย ซึ่งอยู่ในอำนาจของจังหวัดที่สามารถดำเนินการได้ ตามกรอบที่กำหนดไว้
4) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกรณีเจ้าหนี้เป็นนายทุนเงินกู้กระทำผิดกฎหมาย หรือเป็นผู้มีอิทธิพล หรือหนี้นอกระบบที่เกิดจากเจ้าหนี้ใช้กลฉ้อฉลในการปิดบังอำพรางทำให้ดูเสมือนการกู้ยืมถูกต้องตามกฎหมาย ทางสื่อมวลชนต่าง ๆ ทุกช่องทาง เช่น ทางสถานีโทรทัศน์ในรายการที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น
5) กำหนดกรอบหลักเกณฑ์การดำเนินงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้
5.1) ดำเนินการแก้ไขปัญหา หรือดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ที่กระทำผิดกฎหมายโดยเน้น เจ้าหนี้รายใหญ่
5.2) จัดให้มีการสอบถามข้อมูล รายละเอียดพฤติการณ์ของเจ้าหนี้ จากลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเชิญลูกหนี้มาเพื่อให้ข้อมูล และลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลจากลูกหนี้เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
5.3) รวบรวมวิเคราะห์พยานหลักฐานจากลูกหนี้ และมอบหมายให้ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
4.3 แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบระดับจังหวัด ศตจ.มท. ได้แจ้งให้แต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัด ปลัดจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นคณะทำงานฯ มีหน้าที่รับข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์จากประชาชน และตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีที่มีการกระทำผิดตามกฎหมายหรือการเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้โดยไม่เป็นธรรม โดยคณะทำงานชุดนี้ จะเข้ารับการอบรมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ แนวทางและขั้นตอนการดำเนินการกับเจ้าหนี้นายทุนเงินกู้ที่กระทำผิดกฎหมาย
อนึ่ง กระทรวงมหาดไทยจะได้จัดอบรมแก่คณะทำงานชุดนี้ในระยะอันใกล้นี้ โดยกราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธาน เพื่อเน้นย้ำนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล ซึ่งกระทบกับประชาชนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยตรง
5. ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานด้านแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน และด้านที่อยู่อาศัย ของ ศตจ.จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการที่ดูแลที่ดินของรัฐ การเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชนในพื้นที่ ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ลงทะเบียนเพื่อขอที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย รวบรวมสรุปได้ ดังนี้
5.1 ด้านที่ดินทำกิน 1
การแก้ไขปัญหา จำนวน (ราย)
1. จัดที่ดินให้แก่ผู้ไม่มีที่ดินทำกิน 26,862
2. ส่งเสริมทักษะ ให้ความรู้ด้าน
การเกษตรแผนใหม่/จัดหาที่ดิน
ฯลฯ ให้แก่ผู้มีที่ดินแต่ไม่เพียงพอ 17,352
3. ออกเอกสารแสดงสิทธิ์ให้แก่ผู้มี
ที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 91,505
รวม 135,739
1 ที่มา: คาราวานแก้จน ของกรมการปกครอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548
5.2 ด้านที่อยู่อาศัย 2
การแก้ไขปัญหา จำนวน(หลัง)
1. สร้างที่อยู่อาศัย
- งบประมาณของท้องถิ่น 901
2. สร้างที่อยู่อาศัย
- งบประมาณ CEO 73
3. จัดหา/สร้างที่อยู่อาศัย
- บ้านเอื้ออาทร(ทำสัญญา) 28,125
- บ้านมั่นคง 29,738
4. ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 844
5. เจรจากับเจ้าของที่ดินเพื่อชะลอ
การไล่รื้อ 13,067
6. จัดหาบ้านเช่าราคาถูก 2,368
รวม 75,116
2ที่มา: รายงานจากจังหวัด ของ ศตจ.มท. และ รายงานของ กคช.
สำหรับในด้านการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในระยะต่อไปนั้น คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 เห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดหาและจัดที่ดินทำกินให้แก่คนยากจน โดยมอบหมายให้ ศตจ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินทำกิน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการจัดที่ดินทำกินให้แก่คนยากจน มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) เป็นประธาน
6. การเตรียมการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการต้นแบบอำเภอนำร่อง
ตามที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะลงไปดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการต้นแบบอำเภอนำร่อง ณ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในระหว่างวันที่ 16 — 21 มกราคม 2549 ศตจ.มท. กรมการปกครอง และจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าวในระดับพื้นที่ ดังนี้
6.1 การกลั่นกรองข้อมูล (Verify) ผู้จดทะเบียน โดยแยกผู้จดทะเบียนของอำเภออาจสามารถที่ควรได้รับความช่วยเหลือ (Need) ได้จำนวน 1,833 ราย ให้การช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 1,085 ราย ยังคงต้องการความช่วยเหลืออีก 748 ราย ใน 3 ปัญหา คือ
1) ปัญหาที่ดินทำกิน 570 ราย ไม่มีที่ดิน 345 ราย มีที่ดินแต่ไม่เพียงพอ 78 ราย และครอบครอง ที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ 145 ราย
2) ปัญหานี้สินภาคประชาชน มีหนี้ในระบบ 111 ราย ขณะนี้ส่งให้ ธ.ก.ส. 98 ราย ธนาคารออมสิน 1 ราย และสหกรณ์ออมทรัพย์ 12 ราย โดยทั้งหมดอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความช่วยเหลือภายใต้หลักเกณฑ์และหน่วยงานดังกล่าว
3) ปัญหาที่อยู่อาศัย 67 ราย
6.2 การจัดทำรายละเอียดครัวเรือน (Family Folder) ดำเนินการสำรวจครัวเรือนทุกครัวเรือนในพื้นที่อำเภออาจสามารถเพื่อจัดทำข้อมูลศักยภาพ (Profile) รายครัวเรือนของครัวเรือนยากจนที่จดทะเบียนไว้ ตามแนวทางที่ ศตจ.มท. และกรมการปกครองกำหนด ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2548
นอกจากนี้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้มีการประสานการเตรียมการกับจังหวัดร้อยเอ็ดตามที่ได้ มีการประชุมกับนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--