ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการส่งออกจากภาคเอกชนต่อรัฐบาล ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวเกิด จากการประชุมเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2539 ณ โรงแรมปริ๊นซ์พา เลช มหานาค กรุงเทพฯ จัดโดยคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก (พกอ.) และสำนักงานคณะกรรม การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายเพื่อเสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมประเด็นปัญหาการส่งออกและข้อเสนอการ แก้ไขจากภาคเอกชนต่อรัฐบาล และเพื่อให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องได้รับทราบประ เด็นปัญหาและข้อเสนอดังกล่าว แล้วนำไปพิจารณาเพื่อรายงานเสนอต่อที่ประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 30 สิงหาคม 2539 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการประชุมเตรียมการซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอำนวย วีรวรรณ) เป็นประธาน ได้แยกกลุ่มย่อย เพื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละประเด็นปัญ หา 4 กลุ่ม ซึ่งผลการประชุมกลุ่มย่อยสรุปได้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ด้านภาษีอากรและระเบียบปฏิบัติ
ผลการประชุมมีทั้งเรื่องที่มีข้อสรุปแล้ว และเรื่องที่กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาให้ได้คำ ตอบที่ชัดเจนแก่เอกชนในการประชุมเชิงปฏิบัติการวันที่ 30 สิงหาคม 2539 รวมทั้งมีบางมาตรการที่ เอกชนรับไปดำเนินการเองเพื่อช่วยเหลือการส่งออก กรมสรรพากรและกรมศุลกากรได้ให้ความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหาการส่งออกอย่างเป็นที่พอใจของผู้แทนภาคเอกชน เรื่องที่พิจารณาและหาทางแก้ไข อุปสรรคการส่งออก 11 เรื่อง ได้แก่
1. การให้ความช่วยเหลือบริษัทประกันภัยของไทยที่ให้บริการประกันภัยแก่ต่างประเทศ
2.การขอยกเว้นภาษีเงินได้จากการนำเข้ากำไรและเงินปันผลจากการลงทุนในต่างประ เทศที่ส่งกลับมาในประเทศ
3. การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกมีความล่าช้า
4. มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว
5. การขอลดภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าอัญมณีเพื่อการส่งออกทุกชนิดเป็นอัตรา 0 ครบ วงจร ตั้งแต่นำเข้า การขาย และการส่งออก
6. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
- สินค้าอะไหล่ชิ้นส่วนของเครื่องจักร
- สินค้าอุตสาหกรรม 12 ประเภท ซึ่งสภาอุตสาหกรรมเสนอ
7. ปรับปรุงภาษีนำเข้าปลาที่จับได้นอกน่านน้ำไทย
8. การเก็บภาระการส่งออกกับผู้ส่งออกไทยอย่างไม่เป็นธรรม โดยผู้ประกอบการขนส่ง สินค้าทางเรือของต่างประเทศ
9. การขอปฏิบัติด้านภาษีมูลค่าเพิ่มแก่การจัดการบริการขนส่ง (Freight Forwarders) เท่ากับบริการขนส่งทางเรือ
10. การปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาในการขอขึ้นทะเบียนตำหรับอาหาร
11. การปรับปรุงการให้บริการศุลกากร
กลุ่มที่ 2 ด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
ผลการประชุมมีข้อเสนอมาตรการที่ขอให้รัฐบาลพิจารณาหรือเร่งรัด เช่น มาตรการทาง ภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี การเสนอให้รัฐยกเลิกการต่อสัญญา รสพ. ที่รับขนสินค้าที่ท่าเรือ ซึ่ง จะหมดสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2539 แล้วเปิดเสรีการบริการขนส่งในท่าเรือแก่เอกชน การเร่งรัด ให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายที่ กนอ. เสนอให้กำหนดพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมให้เป็น Free Trade Zone เป็นต้น เรื่องที่ขอให้มีการพิจารณาแก้ไขมี 7 เรื่อง คือ
1. การพัฒนากิจการพาณิชยนาวี
- ขอให้รัฐบาลเร่งรัดเสนอร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพาณิชยนาวีต่อ สภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว
- เร่งรัดให้กระทรวงการคลังพิจารณามาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี
- เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณามาตรการสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี โดยเฉพาะ เรื่องการจดทะเบียนเรือสากล
2. การปรับปรุงบริการท่าเรือ
3. การขนส่งสินค้าทางอากาศ
4. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเขตปลอดภาษีในบริเวณจังหวัดชายแดน
5. มาตรการด้านมาตรฐานสินค้าตามระบบ ISO 9000 และ ISO 14000
6. ไฟฟ้า
7. การปรับอัตราค่าโทรศัพท์ทางไกลระหว่างจังหวัด
กลุ่มที่ 3 ด้านแหล่งวัตถุดิบและแรงงาน
ประเด็นปัญหาที่ภาคเอกชนได้เสนอให้มีการแก้ไขมีการพิจารณา 3 เรื่อง ดังนี้
1. การหาวัตถุดิบจากแหล่งใหม่ที่มีปริมาณมากเพียงพอและมีราคาต่ำ
2. การปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้มีการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบและแรงงาน
3. การแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน
- การเร่งรัดให้มีการประเมินผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำในทุกระบบอุต สาหกรรม และปรับระบบการกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
- การผ่อนผันแรงงานต่างด้าว
- การเพิ่มจำนวนและคุณภาพ และการปลูกฝังจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีให้กับแรงงานไทย
กลุ่มที่ 4 ด้านการเจาะตลาดและเจรจาการค้า
ทางกลุ่มจะได้นัดประชุมเพื่อหามาตรการที่ชัดเจนสามารถเสนอให้รัฐบาลพิจารณาสั่งการได้ และเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการวันที่ 30 สิงหาคม 2539 เรื่องที่ทางกลุ่มได้หารือกันในแนว ทางกว้าง ๆ แล้ว คือ
1. การเจาะตลาดของสินค้าเฉพาะ
2. การเจาะตลาดสินค้า
3. การเจรจาการค้าระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และพหุภาคี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 27 สิงหาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการส่งออกจากภาคเอกชนต่อรัฐบาล ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวเกิด จากการประชุมเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2539 ณ โรงแรมปริ๊นซ์พา เลช มหานาค กรุงเทพฯ จัดโดยคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก (พกอ.) และสำนักงานคณะกรรม การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายเพื่อเสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมประเด็นปัญหาการส่งออกและข้อเสนอการ แก้ไขจากภาคเอกชนต่อรัฐบาล และเพื่อให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องได้รับทราบประ เด็นปัญหาและข้อเสนอดังกล่าว แล้วนำไปพิจารณาเพื่อรายงานเสนอต่อที่ประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 30 สิงหาคม 2539 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการประชุมเตรียมการซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอำนวย วีรวรรณ) เป็นประธาน ได้แยกกลุ่มย่อย เพื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละประเด็นปัญ หา 4 กลุ่ม ซึ่งผลการประชุมกลุ่มย่อยสรุปได้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ด้านภาษีอากรและระเบียบปฏิบัติ
ผลการประชุมมีทั้งเรื่องที่มีข้อสรุปแล้ว และเรื่องที่กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาให้ได้คำ ตอบที่ชัดเจนแก่เอกชนในการประชุมเชิงปฏิบัติการวันที่ 30 สิงหาคม 2539 รวมทั้งมีบางมาตรการที่ เอกชนรับไปดำเนินการเองเพื่อช่วยเหลือการส่งออก กรมสรรพากรและกรมศุลกากรได้ให้ความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหาการส่งออกอย่างเป็นที่พอใจของผู้แทนภาคเอกชน เรื่องที่พิจารณาและหาทางแก้ไข อุปสรรคการส่งออก 11 เรื่อง ได้แก่
1. การให้ความช่วยเหลือบริษัทประกันภัยของไทยที่ให้บริการประกันภัยแก่ต่างประเทศ
2.การขอยกเว้นภาษีเงินได้จากการนำเข้ากำไรและเงินปันผลจากการลงทุนในต่างประ เทศที่ส่งกลับมาในประเทศ
3. การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกมีความล่าช้า
4. มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว
5. การขอลดภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าอัญมณีเพื่อการส่งออกทุกชนิดเป็นอัตรา 0 ครบ วงจร ตั้งแต่นำเข้า การขาย และการส่งออก
6. การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
- สินค้าอะไหล่ชิ้นส่วนของเครื่องจักร
- สินค้าอุตสาหกรรม 12 ประเภท ซึ่งสภาอุตสาหกรรมเสนอ
7. ปรับปรุงภาษีนำเข้าปลาที่จับได้นอกน่านน้ำไทย
8. การเก็บภาระการส่งออกกับผู้ส่งออกไทยอย่างไม่เป็นธรรม โดยผู้ประกอบการขนส่ง สินค้าทางเรือของต่างประเทศ
9. การขอปฏิบัติด้านภาษีมูลค่าเพิ่มแก่การจัดการบริการขนส่ง (Freight Forwarders) เท่ากับบริการขนส่งทางเรือ
10. การปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาในการขอขึ้นทะเบียนตำหรับอาหาร
11. การปรับปรุงการให้บริการศุลกากร
กลุ่มที่ 2 ด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
ผลการประชุมมีข้อเสนอมาตรการที่ขอให้รัฐบาลพิจารณาหรือเร่งรัด เช่น มาตรการทาง ภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี การเสนอให้รัฐยกเลิกการต่อสัญญา รสพ. ที่รับขนสินค้าที่ท่าเรือ ซึ่ง จะหมดสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2539 แล้วเปิดเสรีการบริการขนส่งในท่าเรือแก่เอกชน การเร่งรัด ให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายที่ กนอ. เสนอให้กำหนดพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมให้เป็น Free Trade Zone เป็นต้น เรื่องที่ขอให้มีการพิจารณาแก้ไขมี 7 เรื่อง คือ
1. การพัฒนากิจการพาณิชยนาวี
- ขอให้รัฐบาลเร่งรัดเสนอร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพาณิชยนาวีต่อ สภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว
- เร่งรัดให้กระทรวงการคลังพิจารณามาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี
- เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณามาตรการสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี โดยเฉพาะ เรื่องการจดทะเบียนเรือสากล
2. การปรับปรุงบริการท่าเรือ
3. การขนส่งสินค้าทางอากาศ
4. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเขตปลอดภาษีในบริเวณจังหวัดชายแดน
5. มาตรการด้านมาตรฐานสินค้าตามระบบ ISO 9000 และ ISO 14000
6. ไฟฟ้า
7. การปรับอัตราค่าโทรศัพท์ทางไกลระหว่างจังหวัด
กลุ่มที่ 3 ด้านแหล่งวัตถุดิบและแรงงาน
ประเด็นปัญหาที่ภาคเอกชนได้เสนอให้มีการแก้ไขมีการพิจารณา 3 เรื่อง ดังนี้
1. การหาวัตถุดิบจากแหล่งใหม่ที่มีปริมาณมากเพียงพอและมีราคาต่ำ
2. การปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้มีการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบและแรงงาน
3. การแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน
- การเร่งรัดให้มีการประเมินผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำในทุกระบบอุต สาหกรรม และปรับระบบการกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
- การผ่อนผันแรงงานต่างด้าว
- การเพิ่มจำนวนและคุณภาพ และการปลูกฝังจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีให้กับแรงงานไทย
กลุ่มที่ 4 ด้านการเจาะตลาดและเจรจาการค้า
ทางกลุ่มจะได้นัดประชุมเพื่อหามาตรการที่ชัดเจนสามารถเสนอให้รัฐบาลพิจารณาสั่งการได้ และเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการวันที่ 30 สิงหาคม 2539 เรื่องที่ทางกลุ่มได้หารือกันในแนว ทางกว้าง ๆ แล้ว คือ
1. การเจาะตลาดของสินค้าเฉพาะ
2. การเจาะตลาดสินค้า
3. การเจรจาการค้าระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และพหุภาคี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 27 สิงหาคม 2539--