ทำเนียบรัฐบาล--7 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (ปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับวัสดุกรองแสงสำหรับรถที่ใช้ขนส่งผู้โดยสาร (รถตู้))ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงมาติดที่กระจกกันลมของรถ ทั้งนี้ เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบการสะท้อนของแสงอันเกิดจากฟิล์มกรองแสงมีใช้เฉพาะในห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็ป) และมีราคาสูง เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการภาาคสนาม (นอกห้องแล็ป) ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย หากมีการแก้ไขกฎหมายหรือยกร่างกฎหมายห้ามติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงขึ้นใช้ในขณะนี้ จะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติและเกิดการโต้แย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเจ้าของรถยนตร์ได้ เนื่องจากทางราชการยังไม่มีเครื่องมือใช้ในการตรวจสอบรถยนตร์ที่ติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสง
2. ในกรณีที่รถติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงย่อมทำให้แสงผ่านได้น้อยกว่าร้อยละ 40 ซึ่งถือว่าฝ่าฝืนกฎกระทรวงฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 ที่ระบุว่า "การติดฟิล์มกรองแสงซึ่งเมื่อวัดการผ่านของแสงแล้ว แสงต้องผ่านทั้งกระจกกันลมและฟิล์มกรองแสงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40" ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 (ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
3. กรณีที่ยังไม่ออกกฎหมายบังคับใช้ เนื่องจากยังไม่มีเครื่องมือตรวจสอบ หากในอนาคตมีการนำเครื่องมือตรวจสอบการสะท้อนของแสงอันเกิดจากฟิล์มกรองแสงชนิดที่สามารถปฏิบัติการนอกห้องแล็ปเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย กรมการขนส่งทางบกก็จะพิจารณาออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การทดสอบรถยนตร์ที่ติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงเป็นการเพิ่มเติมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (ปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับวัสดุกรองแสงสำหรับรถที่ใช้ขนส่งผู้โดยสาร (รถตู้))ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงมาติดที่กระจกกันลมของรถ ทั้งนี้ เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบการสะท้อนของแสงอันเกิดจากฟิล์มกรองแสงมีใช้เฉพาะในห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็ป) และมีราคาสูง เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการภาาคสนาม (นอกห้องแล็ป) ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย หากมีการแก้ไขกฎหมายหรือยกร่างกฎหมายห้ามติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงขึ้นใช้ในขณะนี้ จะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติและเกิดการโต้แย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเจ้าของรถยนตร์ได้ เนื่องจากทางราชการยังไม่มีเครื่องมือใช้ในการตรวจสอบรถยนตร์ที่ติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสง
2. ในกรณีที่รถติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงย่อมทำให้แสงผ่านได้น้อยกว่าร้อยละ 40 ซึ่งถือว่าฝ่าฝืนกฎกระทรวงฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 ที่ระบุว่า "การติดฟิล์มกรองแสงซึ่งเมื่อวัดการผ่านของแสงแล้ว แสงต้องผ่านทั้งกระจกกันลมและฟิล์มกรองแสงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40" ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 (ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
3. กรณีที่ยังไม่ออกกฎหมายบังคับใช้ เนื่องจากยังไม่มีเครื่องมือตรวจสอบ หากในอนาคตมีการนำเครื่องมือตรวจสอบการสะท้อนของแสงอันเกิดจากฟิล์มกรองแสงชนิดที่สามารถปฏิบัติการนอกห้องแล็ปเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย กรมการขนส่งทางบกก็จะพิจารณาออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การทดสอบรถยนตร์ที่ติดฟิล์มกรองแสงชนิดสะท้อนแสงเป็นการเพิ่มเติมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กันยายน 2542--