ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการประชุมของคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (ตบลป.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2540 ซึ่งสรุปผลการประชุม ดังนี้ 1. การประเมินเบื้องต้นของผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราครั้งนี้สรุปได้ว่า ในแง่ภาพรวมของระบบเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบบ้างในช่วงแรกของการปรับตัว และสถานการณ์จะค่อย ๆ ดีขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ต่อไปอย่างใกล้ชิด
2. การแก้ไขและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยน ควรจำกัดวงอยู่เฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และเป็นกิจการที่จำเป็นหรือสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างยิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาการขาดดุลทางบัญชี
3. สำหรับบางภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ รัฐบาลจะพิจารณาให้การช่วยเหลือทางการเงิน โดยให้กู้ยืมจากเงินกองทุนช่วยเหลือภาคธุรกิจ วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการเฉพาะราย หรือตามรายประเภทธุรกิจ สามารถปรับตัว และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยสามารถยื่นข้อร้องเรียนที่กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
4. คณะกรรมการฯ ได้ศึกษามาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลัง รวมทั้งมาตรการทางภาษีที่อาจนำมาใช้บรรเทาปัญหาการมีผลขาดทุนหรือกำไร จากการตีราคาหนี้สินหรือทรัพย์สินที่มีราคาเป็นเงินตราต่างประเทศมาเป็นเงินบาท กล่าวคือ อาจเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเลือกที่จะนำผลขาดทุนหรือผลกำไรจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายหรือรายได้ในรอบปีบัญชีนั้นทั้งจำนวนทันที หรือให้เลือกนำผลขาดทุนหรือกำไรดังกล่าวมาเฉลี่ยกระจายออกไปในรอบระยะเวลาบัญชีในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม ผลขาดทุนหรือกำไรดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละรายแล้ว ยังขึ้นกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาททั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากอีกด้วย จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบดำเนินการในขณะนี้ เห็นควรจะได้ติดตามสถานการณ์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง
5. สำหรับปัญหาผลกระทบด้านราคาสินค้านั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบสินค้าที่สต็อกไว้ก่อนการปรับปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยน และดูแลให้มีการจำหน่ายสินค้าที่สต็อกไว้ดังกล่าวในราคาเก่าต่อไปอีกระยะหนึ่ง
6. คณะกรรมการฯ ชุดนี้จะมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยจะได้มีการติดตามและทบทวนสถานการณ์และผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่าง ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 กรกฎาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการประชุมของคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (ตบลป.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2540 ซึ่งสรุปผลการประชุม ดังนี้ 1. การประเมินเบื้องต้นของผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราครั้งนี้สรุปได้ว่า ในแง่ภาพรวมของระบบเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบบ้างในช่วงแรกของการปรับตัว และสถานการณ์จะค่อย ๆ ดีขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ต่อไปอย่างใกล้ชิด
2. การแก้ไขและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยน ควรจำกัดวงอยู่เฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และเป็นกิจการที่จำเป็นหรือสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างยิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาการขาดดุลทางบัญชี
3. สำหรับบางภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ รัฐบาลจะพิจารณาให้การช่วยเหลือทางการเงิน โดยให้กู้ยืมจากเงินกองทุนช่วยเหลือภาคธุรกิจ วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการเฉพาะราย หรือตามรายประเภทธุรกิจ สามารถปรับตัว และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยสามารถยื่นข้อร้องเรียนที่กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
4. คณะกรรมการฯ ได้ศึกษามาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลัง รวมทั้งมาตรการทางภาษีที่อาจนำมาใช้บรรเทาปัญหาการมีผลขาดทุนหรือกำไร จากการตีราคาหนี้สินหรือทรัพย์สินที่มีราคาเป็นเงินตราต่างประเทศมาเป็นเงินบาท กล่าวคือ อาจเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเลือกที่จะนำผลขาดทุนหรือผลกำไรจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายหรือรายได้ในรอบปีบัญชีนั้นทั้งจำนวนทันที หรือให้เลือกนำผลขาดทุนหรือกำไรดังกล่าวมาเฉลี่ยกระจายออกไปในรอบระยะเวลาบัญชีในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม ผลขาดทุนหรือกำไรดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละรายแล้ว ยังขึ้นกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาททั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากอีกด้วย จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบดำเนินการในขณะนี้ เห็นควรจะได้ติดตามสถานการณ์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง
5. สำหรับปัญหาผลกระทบด้านราคาสินค้านั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบสินค้าที่สต็อกไว้ก่อนการปรับปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยน และดูแลให้มีการจำหน่ายสินค้าที่สต็อกไว้ดังกล่าวในราคาเก่าต่อไปอีกระยะหนึ่ง
6. คณะกรรมการฯ ชุดนี้จะมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยจะได้มีการติดตามและทบทวนสถานการณ์และผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่าง ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 8 กรกฎาคม 2540--