ทำเนียบรัฐบาล--15 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ รวม 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. .... และร่างพระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกายกร่างขึ้น และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. .. มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 กำหนดมาตรการให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าหญิง และเด็กอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี หรือกฎหมายว่าด้วยสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน เพื่อให้สามารถป้องกัน ปราบปราม และช่วยเหลือหญิง และเด็กที่เป็นเหยื่อของการกระทำผิดกฎหมายได้ กว้างขวางขึ้น
1.2 กำหนดให้การตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดต่าง ๆ ต่อหญิงและเด็กเพื่อสนองความ ใคร่ของผู้อื่นเพื่อการอนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบ มีโทษเท่าความผิดฐาน พยายามกระทำความผิดนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้สามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ตั้งแต่ในระยะต้น
1.3 เพิ่มสถานที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจตราได้ให้กว้างขวางขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการ กระทำผิดต่อหญิงและเด็ก และให้สอดคล้องกับสภาพแท้จริงของสังคมในปัจจุบัน
1.4 กำหนดอำนาจในการเรียกบุคคลมาให้การหรือส่งพยานหลักฐาน อำนาจในการตรวจผู้ เสียหาย และอำนาจในการค้นสถานที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันปราบปรามและการ เข้าช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิด
1.5 กำหนดอำนาจในการกักตัวหญิงหรือเด็กที่เป็นเหยื่อของการกระทำความผิดให้ชัดเจนและ เข้มงวด เพื่อให้เกิดผลในการป้องกันและปราบปราม แต่ขณะเดียวกันมิให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบจน เป็นที่เดือดร้อนเสียหายเกินจำเป็น
1.6 กำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อของการกระทำความผิด ทั้งในการส่ง กลับภูมิลำเนา การช่วยเหลือฝึกอาชีพ และการอบรมศึกษาตามที่มีกฎหมายต่าง ๆ กำหนดไว้
1.7 แก้ไขกระบวนการอุทธรณ์การที่เจ้าพนักงานลักตัวหญิง และเด็กโดยมิชอบให้อยู่ในขอบ เขตที่ปฏิบัติได้ โดยให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้ แก้ไขเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายอาญา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 แก้ไขคำว่า "เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น" ในมาตรา 282 และมาตรา 283 เป็น "เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น" เพื่อให้มีการใช้กฎหมายโดยเหมาะสมและไม่เข้าใจกฎหมายสับสนว่าการ กระทำตามมาตรานี้ จะต้องมีเจตนาเฉพาะเพื่อการร่วมประเวณีเท่านั้น แต่ความหมายที่แท้จริงของ มาตรานี้ ต้องการเน้นการกระทำในทางอนาจาร เพื่อสนองความใคร่ทางเพศของผู้อื่นเท่านั้น และคำว่า "เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น" นี้ ก็ตรงกับเนื้อหาที่ใช้อยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการค้าหญิงและ เด็ก ค.ศ. 1921 (to gratify the passion of another) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
2.2 ขยายฐานความผิดในมาตรา 282 มาตรา 283 และมาตรา 284 ให้รวมถึงการกระทำ ต่อชายด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1921 ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ซึ่งต้องการให้มีการ ตรากฎหมาย เพื่อใช้คุ้มครองเด็กทั้งเพศหญิง และเพศชายตั้งแต่ขณะนั้นแล้ว และเนื่องจากในปัจจุบันการ กระทำความผิดดังกล่าวได้ปรากฏว่า มีการกระทำต่อชายซึ่งมิใช่เด็กอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งตามสนธิสัญญา Convention for the Suppression of the Traffic in Persons and of the Exploitation of the Prostitution of others, ค.ศ.1950 ที่หลายประเทศ (79 ประเทศ) เป็นภาคีอยู่ในปัจจุบันนั้น จะใช้คุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดเพศ หรือวัย ให้พ้นจากการถูกจัดหา เพื่อ การอนาจาร แม้ประเทศไทยจะยังมิได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากหลักการนี้หลาย ประเทศถือปฏิบัติอยู่แล้ว และโดยหลักการก็สมควรเป็นเช่นนั้น
2.3 เพิ่มมาตรา 283 ทวิ ให้เอาความผิดแก่การพาผู้ซึ่งอายุไม่เกิน 18 ปี ไปเพื่อ การอนาจารด้วยแม้ว่าผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์เด็กโดยมิชอบในทางเพศ ให้กว้างขวางขึ้น โดยกำหนดอัตราโทษให้เบากว่ากรณีมาตรา 284 อันเป็นการกระทำโดยใช้กำลัง ประทุษร้ายหรือใช้อำนาจครอบงำโดยผิดทำนองคลองธรรม
2.4 เพิ่มมาตรา 312 ตรี กำหนดความผิดสำหรับการรับ จำหน่าย เป็นธุระจัดหา ล่อไป พาไป ซึ่งผู้ซึ่งอายุไม่เกิน 18 ปี เพื่อหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อันมิใช่เป็นการเอา คนลงเป็นทาส หรือทำงานหนักคล้ายทาสตามมาตรา 312 ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการซื้อ ขาย ฯลฯ เด็ก เพื่อให้ไปขอทาน หรือทำงานโดยความทารุณโหดร้าย และป้องกันมิให้บิดามารดาขายลูกให้บุคคลใดเพื่อ การอนาจาร โดยมาตรานี้กำหนดโทษเบากว่าโทษมาตรา 312 เล็กน้อยตามลำดับของความรุนแรง
2.5 ลักษณะของการกระทำที่เป็นความผิดอาญาระหว่างประเทศนั้น แก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจน ขึ้นดังนี้ เพิ่มความเป็น (2 ทวิ) ของมาตรา 7 ให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศตามมาตรา 282 และ มาตรา 283 นอกราชอาณาจักรต้องรับโทษในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติตามมาตรา 282 และมาตรา 283 กำหนดให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษในราชอาณาจักรไม่ว่าการกระทำต่าง ๆ อันประกอบ เป็นความผิดจะได้กระทำในประเทศต่างกันหรือไม่ ซึ่งมีปัญหาในการตีความว่า การกระทำผิดดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดภายในประเทศด้วยหรือไม่ นอกจากนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง พุทธศักราช 2471 ก็ได้บัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำความผิดในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าการกระทำความผิดนั้น จะเกิดแก่บุคคลสัญชาติใด หรือ ณ ที่ใด ถ้าต่อมามีการส่งผู้ซึ่งถูกจัดหานั้นเข้ามาในประเทศไทย จึงเกิด ปัญหาว่าถ้ายังไม่มีการส่งเข้ามาในประเทศ จะสามารถดำเนินการแก่ผู้กระทำความผิดนั้นตามกฎหมายนี้ ได้หรือไม่ในปัญหาดังกล่าวนี้ โดยแท้จริงแล้วตามอนุสัญญา International Convention for the Suppression of the White Slave Traffic (1910) (ที่ประเทศไทยต้องถือปฏิบัติโดยการเข้า เป็นภาคีในอนุสัญญา International Convention for the Suppression of the Traffic in Women and Children (1921)) นั้น ได้กำหนดให้การเป็นธุระจัดหา ล่อไป พาไป ซึ่งหญิงหรือ เด็กเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นเป็นความผิดอาญาระหว่างประเทศ ไม่ว่าการกระทำส่วนใดจะเกิดใน ประเทศใด ดังนั้น เมื่อจะยกเลิกบทกำหนดความผิดในพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิงฯ แล้ว เพื่อความชัดเจนในการใช้กฎหมาย จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเป็นมาตรา 7 (2 ทวิ) แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา ให้นำความผิดเกี่ยวกับเพศตามมาตรา 282 และ 283 มารวมไว้เพื่อให้เข้าใจ ชัดเจนว่ากรณีนี้เป็นความผิดอาญาระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ รวม 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. .... และร่างพระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกายกร่างขึ้น และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. .. มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 กำหนดมาตรการให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าหญิง และเด็กอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี หรือกฎหมายว่าด้วยสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน เพื่อให้สามารถป้องกัน ปราบปราม และช่วยเหลือหญิง และเด็กที่เป็นเหยื่อของการกระทำผิดกฎหมายได้ กว้างขวางขึ้น
1.2 กำหนดให้การตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดต่าง ๆ ต่อหญิงและเด็กเพื่อสนองความ ใคร่ของผู้อื่นเพื่อการอนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบ มีโทษเท่าความผิดฐาน พยายามกระทำความผิดนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้สามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ตั้งแต่ในระยะต้น
1.3 เพิ่มสถานที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจตราได้ให้กว้างขวางขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการ กระทำผิดต่อหญิงและเด็ก และให้สอดคล้องกับสภาพแท้จริงของสังคมในปัจจุบัน
1.4 กำหนดอำนาจในการเรียกบุคคลมาให้การหรือส่งพยานหลักฐาน อำนาจในการตรวจผู้ เสียหาย และอำนาจในการค้นสถานที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันปราบปรามและการ เข้าช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิด
1.5 กำหนดอำนาจในการกักตัวหญิงหรือเด็กที่เป็นเหยื่อของการกระทำความผิดให้ชัดเจนและ เข้มงวด เพื่อให้เกิดผลในการป้องกันและปราบปราม แต่ขณะเดียวกันมิให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบจน เป็นที่เดือดร้อนเสียหายเกินจำเป็น
1.6 กำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อของการกระทำความผิด ทั้งในการส่ง กลับภูมิลำเนา การช่วยเหลือฝึกอาชีพ และการอบรมศึกษาตามที่มีกฎหมายต่าง ๆ กำหนดไว้
1.7 แก้ไขกระบวนการอุทธรณ์การที่เจ้าพนักงานลักตัวหญิง และเด็กโดยมิชอบให้อยู่ในขอบ เขตที่ปฏิบัติได้ โดยให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้ แก้ไขเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายอาญา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 แก้ไขคำว่า "เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น" ในมาตรา 282 และมาตรา 283 เป็น "เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น" เพื่อให้มีการใช้กฎหมายโดยเหมาะสมและไม่เข้าใจกฎหมายสับสนว่าการ กระทำตามมาตรานี้ จะต้องมีเจตนาเฉพาะเพื่อการร่วมประเวณีเท่านั้น แต่ความหมายที่แท้จริงของ มาตรานี้ ต้องการเน้นการกระทำในทางอนาจาร เพื่อสนองความใคร่ทางเพศของผู้อื่นเท่านั้น และคำว่า "เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น" นี้ ก็ตรงกับเนื้อหาที่ใช้อยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการค้าหญิงและ เด็ก ค.ศ. 1921 (to gratify the passion of another) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
2.2 ขยายฐานความผิดในมาตรา 282 มาตรา 283 และมาตรา 284 ให้รวมถึงการกระทำ ต่อชายด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1921 ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ซึ่งต้องการให้มีการ ตรากฎหมาย เพื่อใช้คุ้มครองเด็กทั้งเพศหญิง และเพศชายตั้งแต่ขณะนั้นแล้ว และเนื่องจากในปัจจุบันการ กระทำความผิดดังกล่าวได้ปรากฏว่า มีการกระทำต่อชายซึ่งมิใช่เด็กอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งตามสนธิสัญญา Convention for the Suppression of the Traffic in Persons and of the Exploitation of the Prostitution of others, ค.ศ.1950 ที่หลายประเทศ (79 ประเทศ) เป็นภาคีอยู่ในปัจจุบันนั้น จะใช้คุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดเพศ หรือวัย ให้พ้นจากการถูกจัดหา เพื่อ การอนาจาร แม้ประเทศไทยจะยังมิได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากหลักการนี้หลาย ประเทศถือปฏิบัติอยู่แล้ว และโดยหลักการก็สมควรเป็นเช่นนั้น
2.3 เพิ่มมาตรา 283 ทวิ ให้เอาความผิดแก่การพาผู้ซึ่งอายุไม่เกิน 18 ปี ไปเพื่อ การอนาจารด้วยแม้ว่าผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์เด็กโดยมิชอบในทางเพศ ให้กว้างขวางขึ้น โดยกำหนดอัตราโทษให้เบากว่ากรณีมาตรา 284 อันเป็นการกระทำโดยใช้กำลัง ประทุษร้ายหรือใช้อำนาจครอบงำโดยผิดทำนองคลองธรรม
2.4 เพิ่มมาตรา 312 ตรี กำหนดความผิดสำหรับการรับ จำหน่าย เป็นธุระจัดหา ล่อไป พาไป ซึ่งผู้ซึ่งอายุไม่เกิน 18 ปี เพื่อหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อันมิใช่เป็นการเอา คนลงเป็นทาส หรือทำงานหนักคล้ายทาสตามมาตรา 312 ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการซื้อ ขาย ฯลฯ เด็ก เพื่อให้ไปขอทาน หรือทำงานโดยความทารุณโหดร้าย และป้องกันมิให้บิดามารดาขายลูกให้บุคคลใดเพื่อ การอนาจาร โดยมาตรานี้กำหนดโทษเบากว่าโทษมาตรา 312 เล็กน้อยตามลำดับของความรุนแรง
2.5 ลักษณะของการกระทำที่เป็นความผิดอาญาระหว่างประเทศนั้น แก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจน ขึ้นดังนี้ เพิ่มความเป็น (2 ทวิ) ของมาตรา 7 ให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศตามมาตรา 282 และ มาตรา 283 นอกราชอาณาจักรต้องรับโทษในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติตามมาตรา 282 และมาตรา 283 กำหนดให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษในราชอาณาจักรไม่ว่าการกระทำต่าง ๆ อันประกอบ เป็นความผิดจะได้กระทำในประเทศต่างกันหรือไม่ ซึ่งมีปัญหาในการตีความว่า การกระทำผิดดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดภายในประเทศด้วยหรือไม่ นอกจากนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง พุทธศักราช 2471 ก็ได้บัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำความผิดในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าการกระทำความผิดนั้น จะเกิดแก่บุคคลสัญชาติใด หรือ ณ ที่ใด ถ้าต่อมามีการส่งผู้ซึ่งถูกจัดหานั้นเข้ามาในประเทศไทย จึงเกิด ปัญหาว่าถ้ายังไม่มีการส่งเข้ามาในประเทศ จะสามารถดำเนินการแก่ผู้กระทำความผิดนั้นตามกฎหมายนี้ ได้หรือไม่ในปัญหาดังกล่าวนี้ โดยแท้จริงแล้วตามอนุสัญญา International Convention for the Suppression of the White Slave Traffic (1910) (ที่ประเทศไทยต้องถือปฏิบัติโดยการเข้า เป็นภาคีในอนุสัญญา International Convention for the Suppression of the Traffic in Women and Children (1921)) นั้น ได้กำหนดให้การเป็นธุระจัดหา ล่อไป พาไป ซึ่งหญิงหรือ เด็กเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นเป็นความผิดอาญาระหว่างประเทศ ไม่ว่าการกระทำส่วนใดจะเกิดใน ประเทศใด ดังนั้น เมื่อจะยกเลิกบทกำหนดความผิดในพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิงฯ แล้ว เพื่อความชัดเจนในการใช้กฎหมาย จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเป็นมาตรา 7 (2 ทวิ) แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา ให้นำความผิดเกี่ยวกับเพศตามมาตรา 282 และ 283 มารวมไว้เพื่อให้เข้าใจ ชัดเจนว่ากรณีนี้เป็นความผิดอาญาระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538--