ทำเนียบรัฐบาล--21 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1. หน้าที่ความรับผิดชอบและบทบาทของ สศช. ซึ่งเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงการวิเคราะห์ประเมินโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ประสานและติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ และจัดทำข้อเสนอแนะด้านนโยบายแนวทาง และมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่รัฐบาลมอบหมาย นอกจากนี้ สศช. ยังมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ในการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับหลักการโครงการเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ
2. วิสัยทัศน์ สศช. สศช. ได้กำหนดบทบาทที่พึงปรารถนาขององค์กรไว้ 2 ประการ คือ 1) เป็นหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ 2) เป็นหน่วยงานที่สร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมให้เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสเสริมสร้างความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ และบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และมีศักยภาพปรับปรุงระบบและวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสังคมไทย
3. ภารกิจของ สศช. ภารกิจที่สำคัญในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ของ สศช. มี 3 ประการ คือ
3.1 ภารกิจปกติ เป็นการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยได้ปรับระบบการทำงานตามปกติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจัดตั้งกลุ่มงานวิชาการระดับสำนักงานขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งเอาไว้
3.2 ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลตามนโยบายพิเศษ ได้แก่ การทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายระดับชาติ รวม 8 สำนักงาน และทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการหลักอีก 1 คณะกรรมการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นต้น
3.3 ภารกิจตามยุทธศาสตร์และแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยที่ สศช. มิใช่หน่วยปฏิบัติ กิจกรรมในส่วนนี้จึงมุ่งที่จะพัฒนากระบวนการตามหลักการและแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติในระยะยาว กิจกรรมส่วนใหญ่ประกอบด้วยการศึกษาเชิงนโยบายในมิติใหม่ ๆ เพื่อเสนอแนะรูปแบบวิธีดำเนินงานและบริหารจัดการในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขยายโอกาสการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน การประสานนโยบายการพัฒนาในระดับพื้นที่ และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสร้างดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาในระดับต่าง ๆ
4. แผนงานโครงการและงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สศช. กำหนดแผนงานไว้รวม 14 แผนงาน 56 โครงการ แยกเป็น
4.1 แผนงานตามภารกิจปกติ มี 7 แผนงาน 20 โครงการ ได้แก่ แผนงานพัฒนาบุคลากร แผนพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติ แผนงานประชาสัมพันธ์ แผนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนงานจัดเตรียมแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แผนงานติดตามประเมินผล และแผนงานบริหารอำนวยการ
4.2 แผนงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มี 7 แผนงาน 36 โครงการ ประกอบด้วย แผนงานพัฒนาศักยภาพคนไทย แผนงานพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมฯ แผนงานเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาภูมิภาคฯ แผนงานพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ แผนงานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติฯ แผนงานพัฒนาประชารัฐ และแผนงานการบริการจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
สำหรับงบประมาณให้ สศช. พิจารณาทบทวนความต้องการงบประมาณให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นและความเป็นไปได้ของงบประมาณแผ่นดินที่จะอำนวยให้ได้ต่อไป ทั้งนี้ ในการสนับสนุนงบประมาณตามแผนดังกล่าว สำนักงบประมาณจักได้พิจารณาจัดสรรให้ตามความเหมาะสม ความจำเป็น และกำลังเงินของแผ่นดินเป็นปี ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 ตุลาคม 2540--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1. หน้าที่ความรับผิดชอบและบทบาทของ สศช. ซึ่งเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงการวิเคราะห์ประเมินโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ประสานและติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ และจัดทำข้อเสนอแนะด้านนโยบายแนวทาง และมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่รัฐบาลมอบหมาย นอกจากนี้ สศช. ยังมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ในการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับหลักการโครงการเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ
2. วิสัยทัศน์ สศช. สศช. ได้กำหนดบทบาทที่พึงปรารถนาขององค์กรไว้ 2 ประการ คือ 1) เป็นหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ 2) เป็นหน่วยงานที่สร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมให้เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสเสริมสร้างความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ และบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และมีศักยภาพปรับปรุงระบบและวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสังคมไทย
3. ภารกิจของ สศช. ภารกิจที่สำคัญในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ของ สศช. มี 3 ประการ คือ
3.1 ภารกิจปกติ เป็นการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยได้ปรับระบบการทำงานตามปกติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจัดตั้งกลุ่มงานวิชาการระดับสำนักงานขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งเอาไว้
3.2 ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลตามนโยบายพิเศษ ได้แก่ การทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายระดับชาติ รวม 8 สำนักงาน และทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการหลักอีก 1 คณะกรรมการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นต้น
3.3 ภารกิจตามยุทธศาสตร์และแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยที่ สศช. มิใช่หน่วยปฏิบัติ กิจกรรมในส่วนนี้จึงมุ่งที่จะพัฒนากระบวนการตามหลักการและแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติในระยะยาว กิจกรรมส่วนใหญ่ประกอบด้วยการศึกษาเชิงนโยบายในมิติใหม่ ๆ เพื่อเสนอแนะรูปแบบวิธีดำเนินงานและบริหารจัดการในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขยายโอกาสการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน การประสานนโยบายการพัฒนาในระดับพื้นที่ และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสร้างดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาในระดับต่าง ๆ
4. แผนงานโครงการและงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สศช. กำหนดแผนงานไว้รวม 14 แผนงาน 56 โครงการ แยกเป็น
4.1 แผนงานตามภารกิจปกติ มี 7 แผนงาน 20 โครงการ ได้แก่ แผนงานพัฒนาบุคลากร แผนพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติ แผนงานประชาสัมพันธ์ แผนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนงานจัดเตรียมแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แผนงานติดตามประเมินผล และแผนงานบริหารอำนวยการ
4.2 แผนงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มี 7 แผนงาน 36 โครงการ ประกอบด้วย แผนงานพัฒนาศักยภาพคนไทย แผนงานพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมฯ แผนงานเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาภูมิภาคฯ แผนงานพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ แผนงานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติฯ แผนงานพัฒนาประชารัฐ และแผนงานการบริการจัดการเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
สำหรับงบประมาณให้ สศช. พิจารณาทบทวนความต้องการงบประมาณให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นและความเป็นไปได้ของงบประมาณแผ่นดินที่จะอำนวยให้ได้ต่อไป ทั้งนี้ ในการสนับสนุนงบประมาณตามแผนดังกล่าว สำนักงบประมาณจักได้พิจารณาจัดสรรให้ตามความเหมาะสม ความจำเป็น และกำลังเงินของแผ่นดินเป็นปี ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 ตุลาคม 2540--