ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคนขอทาน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัตควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 2484 ได้ใช้บังคับมานานแล้ว สมควรปรับปรุงเพื่อให้การสงเคราะห์แก่คนขอทานซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้ได้รับการช่วยเหลือ การบำบัดรักษา การฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก คนพิการ และคนชราที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มิให้ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวซึ่งกระทำการใด ๆ ให้ผู้อื่นกระทำการขอทานตามสถานที่ต่าง ๆ ได้รับโทษทางอาญา ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การปฏิบัติอันเป็นกิจวัตรตามลัทธิศาสนา
2. คนขอทาน หมายความว่า ผู้กระทำการขอทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยวาจา ข้อความ หรือแสดงกิริยาอาการใด ๆ หรือด้วยการใช้ภาชนะหรือวัตถุที่แสดงให้เข้าใจว่าประสงค์จะให้ผู้อื่นใส่ทรัพย์สินลงในภาชนะหรือวัตถุนั้นโดยมิได้มีการตอบแทนด้วยการทำงาน หรือด้วยทรัพย์สินใดและมิใช่เป็นการขอกันฐานญาติมิตร
3. วณิพก หมายความว่า ผู้ใช้ความสามารถหรือความชำนาญพิเศษเฉพาะตัวทำการขับร้อง ดีดสีตีเป่าหรือแสดงการละเล่น หรือการกระทำอย่างอื่นใดในทำนองเดียวกันตามลำพังหรือหมู่คณะให้ผู้อื่นดูหรือฟัง โดยมิได้เรียกร้องค่าดูค่าฟัง แต่รับทรัพย์สินตามแต่ผู้ดูผู้ฟังจะสมัครใจให้
4. ห้ามผู้ใดขอทาน หากฝ่าฝืนพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจควบคุมตัว และนำส่งสถานแรกรับคนขอทานตามระเบียบที่อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์กำหนด
5. ให้อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ประกาศจัดตั้งสถานแรกรับคนขอทานในจังหวัดต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควรโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
6. ให้มีคณะกรรมการประจำสถานแรกรับคนขอทานของจังหวัด ประกอบด้วย ประชาสงเคราะห์จังหวัดเป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัด ผู้แทนสำนักงานจัดหางานจังหวัดเป็นกรรมการ ผู้ปกครองสถานแรกรับคนขอทานของจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ และข้าราชการกรมประชาสงเคราะห์ในจังหวัดเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
7. ให้คณะกรรมการตามข้อ 6 มีหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าเห็นว่าผู้ถูกควบคุมตัวมิได้ขอทานให้สั่งปล่อยตัวไป ถ้าเห็นว่าเป็นคนขอทานให้ดำเนินการ ดังนี้
7.1 ผู้มีร่างกายและจิตใจปกติหรือคนพิการแต่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายแล้ว ให้รายงานอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทานของกรมประชาสงเคราะห์เพื่อฝึกอาชีพ หรือส่งตัวไปสำนักงานจัดหางานของกรมจัดหางาน เพื่อจัดหางานให้ทำตามความเหมาะสม
7.2 ผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อน โรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความให้รายงานอธิบดีฯ เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทาน ของกรมควบคุมโรคติดต่อ
7.3 คนชรา หรือคนพิการไม่สามารถช่วยตัวเองได้ หรือคนทุพพลภาพ หรือคนป่วยด้วยโรคซึ่งไม่ใช่โรคตามข้อ 7.2 ให้รายงานอธิบดีฯ เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทานของกรมประชาสงเคราะห์
7.4 คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนให้รายงานอธิบดีฯ เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทานของกรมสุขภาพจิต
8. อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์มีอำนาจปล่อยตัวผู้รับการสงเคราะห์จากสถานสงเคราะห์ได้ตามเหตุที่ระบุไว้ 6 ประการ ส่วนในกรณีที่อธิบดีฯ สั่งให้ควบคุมตัวผู้รับการสงเคราะห์ต่อไป ให้สามีภรรยา บิดามารดา บุตร ญาติพี่น้องหรือผู้ปกครองเด็ก อุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีฯ ต่อรัฐมนตรีได้
9. ห้ามผู้ใดใช้ จ้าง วาน ยุยง สนับสนุน ใช้อุบายหลอกลวง ใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขืนใจด้วยประการใดให้คนอื่นขอทาน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้มีคนขอทานตามสถานที่ต่าง ๆ
10. การแสดงของวณิพกจะต้องไม่กีดขวางการจราจร การสัญจรไปมาของประชาชน หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่บริเวณใกล้เคียง
11. กำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
12. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคนขอทาน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัตควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 2484 ได้ใช้บังคับมานานแล้ว สมควรปรับปรุงเพื่อให้การสงเคราะห์แก่คนขอทานซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้ได้รับการช่วยเหลือ การบำบัดรักษา การฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก คนพิการ และคนชราที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มิให้ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวซึ่งกระทำการใด ๆ ให้ผู้อื่นกระทำการขอทานตามสถานที่ต่าง ๆ ได้รับโทษทางอาญา ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การปฏิบัติอันเป็นกิจวัตรตามลัทธิศาสนา
2. คนขอทาน หมายความว่า ผู้กระทำการขอทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยวาจา ข้อความ หรือแสดงกิริยาอาการใด ๆ หรือด้วยการใช้ภาชนะหรือวัตถุที่แสดงให้เข้าใจว่าประสงค์จะให้ผู้อื่นใส่ทรัพย์สินลงในภาชนะหรือวัตถุนั้นโดยมิได้มีการตอบแทนด้วยการทำงาน หรือด้วยทรัพย์สินใดและมิใช่เป็นการขอกันฐานญาติมิตร
3. วณิพก หมายความว่า ผู้ใช้ความสามารถหรือความชำนาญพิเศษเฉพาะตัวทำการขับร้อง ดีดสีตีเป่าหรือแสดงการละเล่น หรือการกระทำอย่างอื่นใดในทำนองเดียวกันตามลำพังหรือหมู่คณะให้ผู้อื่นดูหรือฟัง โดยมิได้เรียกร้องค่าดูค่าฟัง แต่รับทรัพย์สินตามแต่ผู้ดูผู้ฟังจะสมัครใจให้
4. ห้ามผู้ใดขอทาน หากฝ่าฝืนพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจควบคุมตัว และนำส่งสถานแรกรับคนขอทานตามระเบียบที่อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์กำหนด
5. ให้อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ประกาศจัดตั้งสถานแรกรับคนขอทานในจังหวัดต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควรโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
6. ให้มีคณะกรรมการประจำสถานแรกรับคนขอทานของจังหวัด ประกอบด้วย ประชาสงเคราะห์จังหวัดเป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัด ผู้แทนสำนักงานจัดหางานจังหวัดเป็นกรรมการ ผู้ปกครองสถานแรกรับคนขอทานของจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ และข้าราชการกรมประชาสงเคราะห์ในจังหวัดเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
7. ให้คณะกรรมการตามข้อ 6 มีหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าเห็นว่าผู้ถูกควบคุมตัวมิได้ขอทานให้สั่งปล่อยตัวไป ถ้าเห็นว่าเป็นคนขอทานให้ดำเนินการ ดังนี้
7.1 ผู้มีร่างกายและจิตใจปกติหรือคนพิการแต่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายแล้ว ให้รายงานอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทานของกรมประชาสงเคราะห์เพื่อฝึกอาชีพ หรือส่งตัวไปสำนักงานจัดหางานของกรมจัดหางาน เพื่อจัดหางานให้ทำตามความเหมาะสม
7.2 ผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อน โรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความให้รายงานอธิบดีฯ เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทาน ของกรมควบคุมโรคติดต่อ
7.3 คนชรา หรือคนพิการไม่สามารถช่วยตัวเองได้ หรือคนทุพพลภาพ หรือคนป่วยด้วยโรคซึ่งไม่ใช่โรคตามข้อ 7.2 ให้รายงานอธิบดีฯ เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทานของกรมประชาสงเคราะห์
7.4 คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนให้รายงานอธิบดีฯ เพื่อส่งตัวไปสถานสงเคราะห์คนขอทานของกรมสุขภาพจิต
8. อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์มีอำนาจปล่อยตัวผู้รับการสงเคราะห์จากสถานสงเคราะห์ได้ตามเหตุที่ระบุไว้ 6 ประการ ส่วนในกรณีที่อธิบดีฯ สั่งให้ควบคุมตัวผู้รับการสงเคราะห์ต่อไป ให้สามีภรรยา บิดามารดา บุตร ญาติพี่น้องหรือผู้ปกครองเด็ก อุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีฯ ต่อรัฐมนตรีได้
9. ห้ามผู้ใดใช้ จ้าง วาน ยุยง สนับสนุน ใช้อุบายหลอกลวง ใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขืนใจด้วยประการใดให้คนอื่นขอทาน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้มีคนขอทานตามสถานที่ต่าง ๆ
10. การแสดงของวณิพกจะต้องไม่กีดขวางการจราจร การสัญจรไปมาของประชาชน หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่บริเวณใกล้เคียง
11. กำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
12. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540--