ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่องโครงการเร่งรัดคลื่น-การลงทุนใหม่จากญี่ปุ่น วงเงินทั้งสิ้น 100 ล้านบาท โดยให้จัดตั้งสำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ เมืองโอซากา เพื่อปฏิบัติงานเผยแพร่ชักจูงการลงทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 - 2540 โดยมีเป้าหมายจะชักจูงให้มีการลงทุนและก่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้ โครงการลงทุน 2,000 โครงการเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท การจ้างงาน 160,000 คน และการแสวงหรือสงวนเงินตราต่างประเทศ 300,000 ล้านคน และอนุมัตให้ใช้เงินงบกลางในปีงบประมาณ 2538 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 50 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 และ 2540 ให้เสนอขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเห็นควรย้ายสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ เมืองฮ่องกง ซึ่งจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ เมืองโอซากา เนื่องจากขณะนี้ศักยภาพในด้านการออกไปลงทุนในต่างประเทศของฮ่องกงลดน้อยลง โดยในปี 2534 การลงทุนจากฮ่องกงมีมูลค่า 7,159.3 ล้านบาท ในขณะที่ในปี 2536 มีมูลค่าเพียง 6,590.2 ล้านบาทในทางตรงกันข้ามการลงทุนจากญี่ปุ่นในปี 2534 คิดเป็นมูลค่า 50,670.6 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น64,480.4 ล้านบาท ในปี 2536 ซึ่งมีอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้มีการลงทุน ได้แก่ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม และอาหารแปรรูป (Food Processing)
ทั้งนี้ จากการที่ปัจจุบันบรรยากาศการลงทุนของไทยอยู่ในระดับดี เศรษฐกิจเติบโตระดับสูงก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนที่หลากหลาย รัฐบาลไทยควรมีมาตรการเร่งรัดดึงดูดการลงทุนกลับสู่ไทย ประกอบกับภาวะเงินเยนแข็งตัวขึ้นใหม่ในรอบ 13 เดือนที่ผ่านมานี้ ก่อให้เกิดแรงกดดันอย่างรุนแรงต่อบริษัทญี่ปุ่น โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางให้ย้ายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเพื่อดำรงความสามารถแข่งขันในตลาดโลก ดังนั้น นโยบายส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในต่างประเทศได้เน้นไปในด้านของสินค้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสนับสนุนเพื่อผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงสอดคล้องเป็นอย่างดีกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลไทย
นอกจากนี้ นครโอซากายังเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่สำคัญที่ประเทศไทยต้องการ โดยเฉพาะในเขตคันไซ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสนับสนุน (support industries) ของญี่ปุ่น และเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อไทย กล่าวคือ ร้อยละ 30 ของการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยทั้งหมดมาจากบริษัทต่าง ๆ ในเขตดังกล่าวรวมทั้งการส่งออกของเขตคันไซ คิดเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่นมายังประเทศไทย นอกจากนี้ การนำเข้าจากไทยของเขตนี้คิดเป็นร้อยละ25 ของการนำเข้าจากไทยไปญี่ปุ่นทั้งหมด
สำหรับที่ฮ่องกง กระทรวงการต่างประเทศจะเพิ่มศักยภาพของสถานกงสุลไทยให้สามารถทำหน้าที่เพิ่มเติมในส่วนของงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) เพื่อทำงานแทนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่องโครงการเร่งรัดคลื่น-การลงทุนใหม่จากญี่ปุ่น วงเงินทั้งสิ้น 100 ล้านบาท โดยให้จัดตั้งสำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ เมืองโอซากา เพื่อปฏิบัติงานเผยแพร่ชักจูงการลงทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 - 2540 โดยมีเป้าหมายจะชักจูงให้มีการลงทุนและก่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้ โครงการลงทุน 2,000 โครงการเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท การจ้างงาน 160,000 คน และการแสวงหรือสงวนเงินตราต่างประเทศ 300,000 ล้านคน และอนุมัตให้ใช้เงินงบกลางในปีงบประมาณ 2538 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 50 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 และ 2540 ให้เสนอขอตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเห็นควรย้ายสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ เมืองฮ่องกง ซึ่งจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ เมืองโอซากา เนื่องจากขณะนี้ศักยภาพในด้านการออกไปลงทุนในต่างประเทศของฮ่องกงลดน้อยลง โดยในปี 2534 การลงทุนจากฮ่องกงมีมูลค่า 7,159.3 ล้านบาท ในขณะที่ในปี 2536 มีมูลค่าเพียง 6,590.2 ล้านบาทในทางตรงกันข้ามการลงทุนจากญี่ปุ่นในปี 2534 คิดเป็นมูลค่า 50,670.6 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น64,480.4 ล้านบาท ในปี 2536 ซึ่งมีอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้มีการลงทุน ได้แก่ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม และอาหารแปรรูป (Food Processing)
ทั้งนี้ จากการที่ปัจจุบันบรรยากาศการลงทุนของไทยอยู่ในระดับดี เศรษฐกิจเติบโตระดับสูงก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนที่หลากหลาย รัฐบาลไทยควรมีมาตรการเร่งรัดดึงดูดการลงทุนกลับสู่ไทย ประกอบกับภาวะเงินเยนแข็งตัวขึ้นใหม่ในรอบ 13 เดือนที่ผ่านมานี้ ก่อให้เกิดแรงกดดันอย่างรุนแรงต่อบริษัทญี่ปุ่น โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางให้ย้ายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเพื่อดำรงความสามารถแข่งขันในตลาดโลก ดังนั้น นโยบายส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในต่างประเทศได้เน้นไปในด้านของสินค้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสนับสนุนเพื่อผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงสอดคล้องเป็นอย่างดีกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลไทย
นอกจากนี้ นครโอซากายังเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่สำคัญที่ประเทศไทยต้องการ โดยเฉพาะในเขตคันไซ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสนับสนุน (support industries) ของญี่ปุ่น และเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อไทย กล่าวคือ ร้อยละ 30 ของการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยทั้งหมดมาจากบริษัทต่าง ๆ ในเขตดังกล่าวรวมทั้งการส่งออกของเขตคันไซ คิดเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่นมายังประเทศไทย นอกจากนี้ การนำเข้าจากไทยของเขตนี้คิดเป็นร้อยละ25 ของการนำเข้าจากไทยไปญี่ปุ่นทั้งหมด
สำหรับที่ฮ่องกง กระทรวงการต่างประเทศจะเพิ่มศักยภาพของสถานกงสุลไทยให้สามารถทำหน้าที่เพิ่มเติมในส่วนของงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) เพื่อทำงานแทนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538--