ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นไตรมาสที่ 1/2542 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยพิจารณาจาก GDP ในไตรมาสที่ 1/2542 ชี้ให้เห็นว่า
1) เศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว โดยมีมูลค่า ณ ราคาคงที่ (หรือราคาปีฐาน 2531) ที่ปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้วในไตรมาส 2/2541 เท่ากับ 679,193 ล้านบาท และต่ำสุดในไตรมาส 3/2541 เท่ากับ 674,683 ล้านบาท หรือถ้าหากพิจารณามูลค่าในราคาตลาด (หรือราคาประจำปี) แล้ว จะมีค่าประมาณ 1,105,426 ล้านบาทและ 1,109,959 ล้านบาท ในไตรมาสดังกล่าวตามลำดับ
2) หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้ปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับจนเข้าสู่ไตรมาสที่ 1/2542 ซึ่งปรากฏครั้งแรกว่า GDP ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นหรือมีค่าเป็นบวกร้อยละ 0.9 นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ที่ GDP ลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 7 ไตรมาส
3) เป็นการปรับตัวดีขึ้น ทั้งการเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2541 และเทียบกับไตรมาสติดกันที่แล้วมา คือ ไตรมาส 4/2541 ซึ่งปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว
2. การปรับตัวของ GDP สูงขึ้นในไตรมาส 1/2542 เป็นการปรับตัวสูงขึ้นทางด้านอุปทานหรือด้านการผลิต ส่วนทางด้านอุปสงค์ทั้งการใช้จ่ายของครัวเรือน การสะสมทุนหรือการลงทุน และการส่งออกยังคงลดลง แต่เป็นไปในอัตราที่ช้าลง รายการอุปสงค์ที่ปรับตัวสูงขึ้นและอยู่ในอัตราค่อนข้างสูง คือการใช้จ่ายของรัฐบาล จึงมีผลทำให้มูลค่าส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือซึ่งคือส่วนต่างระหว่างอุปทานและอุปสงค์ดังกล่าวในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้น
3. แนวโน้มภาวะการผลิตที่สำคัญ
1) สาขาการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นค่อนข้างดี ได้แก่ อุตสาหกรรม การโรงแรมและภัตตาคาร และการบริการของรัฐ
2) สาขาการผลิตที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ สาขาการค้า และการขนส่ง
3) ส่วนสาขาการผลิตที่ยังคงหดตัวที่สำคัญคือ สาขาการก่อสร้าง และสาขาการเงิน
4) สาขาการเกษตรในไตรมาสนี้ปรับตัวเป็นบวกเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตปศุสัตว์ที่ดีขึ้น แต่ในด้านการผลิตพืชกลับมีการผลิตลดลง
4. แนวโน้มด้านอุปสงค์
1) การใช้จ่ายของครัวเรือนเมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.2 ดีกว่าที่เคยลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาส 4/2541
2) การสะสมทุนแม้ว่าจะยังคงลดลงแต่ก็เริ่มปรากฏแนวโน้มที่ดีขึ้น กล่าวคือการลงทุนไตรมาส 1/2542 ลดลงร้อยละ 7.1 เทียบกับไตรมาส 4/2541 ที่ลดลงร้อยละ 20.1
3) ในส่วนรายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 15.6 ต่อเนื่องจากร้อยละ 15.0 ในไตรมาสที่แล้ว
5. ทิศทางที่คาดว่าจะเป็นในไตรมาส 2/2542 GDP น่าจะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าไตรมาส 1/2542 ด้วยเหตุผลสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ คือ
5.1 การใช้จ่ายของครัวเรือน โดยมีปัจจัยที่จะมีผลให้การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) การปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้ราคาสินค้าถูกลง 2) การปรับลดอัตราภาษีเงินได้ 3) เทศกาลสงกรานต์และช่วงเปิดเทอม และ 4) อัตราดอกเบี้ยลดลง
5.2 การใช้จ่ายของรัฐ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2542
5.3 การสะสมหรือการลงทุน อันเนื่องมาจากภาคการผลิตอุตสาหกรรมเริ่มใช้กำลังผลิตสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ และราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่ำมาก
6. อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาพื้นฐานยังมีอีกมาก การปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงยังคงมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปอีกระยะหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 กรกฎาคม 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นไตรมาสที่ 1/2542 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยพิจารณาจาก GDP ในไตรมาสที่ 1/2542 ชี้ให้เห็นว่า
1) เศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว โดยมีมูลค่า ณ ราคาคงที่ (หรือราคาปีฐาน 2531) ที่ปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้วในไตรมาส 2/2541 เท่ากับ 679,193 ล้านบาท และต่ำสุดในไตรมาส 3/2541 เท่ากับ 674,683 ล้านบาท หรือถ้าหากพิจารณามูลค่าในราคาตลาด (หรือราคาประจำปี) แล้ว จะมีค่าประมาณ 1,105,426 ล้านบาทและ 1,109,959 ล้านบาท ในไตรมาสดังกล่าวตามลำดับ
2) หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้ปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับจนเข้าสู่ไตรมาสที่ 1/2542 ซึ่งปรากฏครั้งแรกว่า GDP ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นหรือมีค่าเป็นบวกร้อยละ 0.9 นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ที่ GDP ลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 7 ไตรมาส
3) เป็นการปรับตัวดีขึ้น ทั้งการเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2541 และเทียบกับไตรมาสติดกันที่แล้วมา คือ ไตรมาส 4/2541 ซึ่งปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว
2. การปรับตัวของ GDP สูงขึ้นในไตรมาส 1/2542 เป็นการปรับตัวสูงขึ้นทางด้านอุปทานหรือด้านการผลิต ส่วนทางด้านอุปสงค์ทั้งการใช้จ่ายของครัวเรือน การสะสมทุนหรือการลงทุน และการส่งออกยังคงลดลง แต่เป็นไปในอัตราที่ช้าลง รายการอุปสงค์ที่ปรับตัวสูงขึ้นและอยู่ในอัตราค่อนข้างสูง คือการใช้จ่ายของรัฐบาล จึงมีผลทำให้มูลค่าส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือซึ่งคือส่วนต่างระหว่างอุปทานและอุปสงค์ดังกล่าวในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้น
3. แนวโน้มภาวะการผลิตที่สำคัญ
1) สาขาการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นค่อนข้างดี ได้แก่ อุตสาหกรรม การโรงแรมและภัตตาคาร และการบริการของรัฐ
2) สาขาการผลิตที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ สาขาการค้า และการขนส่ง
3) ส่วนสาขาการผลิตที่ยังคงหดตัวที่สำคัญคือ สาขาการก่อสร้าง และสาขาการเงิน
4) สาขาการเกษตรในไตรมาสนี้ปรับตัวเป็นบวกเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตปศุสัตว์ที่ดีขึ้น แต่ในด้านการผลิตพืชกลับมีการผลิตลดลง
4. แนวโน้มด้านอุปสงค์
1) การใช้จ่ายของครัวเรือนเมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.2 ดีกว่าที่เคยลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาส 4/2541
2) การสะสมทุนแม้ว่าจะยังคงลดลงแต่ก็เริ่มปรากฏแนวโน้มที่ดีขึ้น กล่าวคือการลงทุนไตรมาส 1/2542 ลดลงร้อยละ 7.1 เทียบกับไตรมาส 4/2541 ที่ลดลงร้อยละ 20.1
3) ในส่วนรายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 15.6 ต่อเนื่องจากร้อยละ 15.0 ในไตรมาสที่แล้ว
5. ทิศทางที่คาดว่าจะเป็นในไตรมาส 2/2542 GDP น่าจะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าไตรมาส 1/2542 ด้วยเหตุผลสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ คือ
5.1 การใช้จ่ายของครัวเรือน โดยมีปัจจัยที่จะมีผลให้การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) การปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้ราคาสินค้าถูกลง 2) การปรับลดอัตราภาษีเงินได้ 3) เทศกาลสงกรานต์และช่วงเปิดเทอม และ 4) อัตราดอกเบี้ยลดลง
5.2 การใช้จ่ายของรัฐ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2542
5.3 การสะสมหรือการลงทุน อันเนื่องมาจากภาคการผลิตอุตสาหกรรมเริ่มใช้กำลังผลิตสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ และราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่ำมาก
6. อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาพื้นฐานยังมีอีกมาก การปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงยังคงมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปอีกระยะหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 กรกฎาคม 2542--