ทำเนียบรัฐบาล--5 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการลงนามในเอกสารปฏิญญาโรมเรื่องความมั่นคงทางอาหารของโลก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบกรอบในการพิจารณาหลักการการรับรองร่างปฏิญญาโรมและแผนปฏิบัติการ ดังนี้
1.1 ให้ความสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหาร บนพื้นฐานระบบการค้าเสรี ตามข้อตกลงว่าด้วยการค้าขององค์การการค้าโลก โดยยึดหลักการการมีอาหารเพียงพอ (Availability) ความมีเสถียรภาพของการมีอาหาร (Stability) และความสามารถจัดหาอาหารเพื่อบริโภค (Accessibility) ซึ่งแต่ละประเทศสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายในการจัดหาอาหารให้เพียงพอกับความต้องการและภาวะโภชนาการ โดยการผลิตเองและการนำเข้า
1.2 ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการเน้นความสำคัญของสตรีในชนบท และให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการให้การศึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการวิจัยการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.3 การพัฒนาการเกษตรที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนภายใต้หลักการของความเสมอภาคที่เท่าเทียมกันและเอกสิทธิ์ของแต่ละประเทศในการจัดการทรัพยากร โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ และมีความสอดคล้องกับหลักการภายใต้แผนปฏิบัติการ 21 ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ให้อำนาจหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการลงนามในเอกสารปฏิญญา และเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการดังกล่าวตามข้อ 1.
ทั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) จะจัดให้มีการประชุมสุดยอดอาหารโลก หรือ World Food Summit ที่สำนักงานใหญ่ FAO กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในระหว่างวันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2539 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีข้อตกลงร่วมกันที่จะขจัดความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารของโลกอย่างยั่งยืน โดยให้มีการยอมรับนโยบายและข้อปฏิบัติในทุกระดับ คือ ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ
นอกจากนี้ ในการประชุมฯ ยังได้กำหนดให้ผู้นำประเทศ หรือผู้นำรัฐบาลที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศตน ร่วมลงนามในปฏิญญาโรมเรื่องความมั่นคงทางอาหารของโลก (Rome Declaration on World Food Security) และให้ความเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการ ที่รวมถึงข้อตกลงร่วมกันที่จะต้องปฏิบัติ (Plan of Action and Commitments and Actions) ซึ่งทาง FAO ได้มอบหมายให้คณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารโลก (Committee on World Food Security)ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกของ FAO รวมทั้งประเทศไทย รับผิดชอบการจัดทำเอกสารดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 5 พฤศจิกายน 2539--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการลงนามในเอกสารปฏิญญาโรมเรื่องความมั่นคงทางอาหารของโลก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบกรอบในการพิจารณาหลักการการรับรองร่างปฏิญญาโรมและแผนปฏิบัติการ ดังนี้
1.1 ให้ความสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหาร บนพื้นฐานระบบการค้าเสรี ตามข้อตกลงว่าด้วยการค้าขององค์การการค้าโลก โดยยึดหลักการการมีอาหารเพียงพอ (Availability) ความมีเสถียรภาพของการมีอาหาร (Stability) และความสามารถจัดหาอาหารเพื่อบริโภค (Accessibility) ซึ่งแต่ละประเทศสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายในการจัดหาอาหารให้เพียงพอกับความต้องการและภาวะโภชนาการ โดยการผลิตเองและการนำเข้า
1.2 ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการเน้นความสำคัญของสตรีในชนบท และให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการให้การศึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการวิจัยการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.3 การพัฒนาการเกษตรที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนภายใต้หลักการของความเสมอภาคที่เท่าเทียมกันและเอกสิทธิ์ของแต่ละประเทศในการจัดการทรัพยากร โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ และมีความสอดคล้องกับหลักการภายใต้แผนปฏิบัติการ 21 ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ให้อำนาจหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการลงนามในเอกสารปฏิญญา และเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการดังกล่าวตามข้อ 1.
ทั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) จะจัดให้มีการประชุมสุดยอดอาหารโลก หรือ World Food Summit ที่สำนักงานใหญ่ FAO กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในระหว่างวันที่ 13 - 17 พฤศจิกายน 2539 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีข้อตกลงร่วมกันที่จะขจัดความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารของโลกอย่างยั่งยืน โดยให้มีการยอมรับนโยบายและข้อปฏิบัติในทุกระดับ คือ ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ
นอกจากนี้ ในการประชุมฯ ยังได้กำหนดให้ผู้นำประเทศ หรือผู้นำรัฐบาลที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศตน ร่วมลงนามในปฏิญญาโรมเรื่องความมั่นคงทางอาหารของโลก (Rome Declaration on World Food Security) และให้ความเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการ ที่รวมถึงข้อตกลงร่วมกันที่จะต้องปฏิบัติ (Plan of Action and Commitments and Actions) ซึ่งทาง FAO ได้มอบหมายให้คณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารโลก (Committee on World Food Security)ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกของ FAO รวมทั้งประเทศไทย รับผิดชอบการจัดทำเอกสารดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 5 พฤศจิกายน 2539--