แท็ก
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--14 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการวิจัยเรื่อง "เข็มขัดนิรภัย : ความเชื่อทัศนคติ และการใช้" ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผู้ขับขี่รถยนต์บุคคลมีความเชื่อเกี่ยวกับประโยชน์ และคุณค่าของเข็มขัดนิรภัยทัศนะคติที่ดีต่อ เข็มขัดนิรภัย แต่มีการใช้เข็มขัดนิรภัยค่อนข้างน้อย ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องรณรงค์ เพื่อเปลี่ยน พฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัย โดยพยายามให้ใช้เข็มขัดนิรภัยมากขึ้น
2. แหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลในเรื่องเข็มขัดนิรภัยได้แก่ โทรทัศน์ (ร้อยละ 8.8) และเพื่อน (ร้อยละ 8.6) ดังนั้น การรณรงค์เพื่อการใช้เข็มขัดนิรภัยนั้นควร ตระหนักถึงสื่อหรือแหล่งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ด้วย
3. ตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดในการทำนายการคาดเข็มขัดนิรภัย ได้แก่ ความเชื่อในด้านความไม่ สบาย เมื่อคาดเข็มขัดนิรภัย ความเชื่อในด้านความไม่สะดวกในการคาดเข็มขัดนิรภัย ทัศนคติที่มีต่อเข็ม ขัดนิรภัย และการยอมรับในกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดนิรภัย ดังนั้น ในการรณรงค์ เพื่อเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัยนั้น ควรจะต้องตระหนัก และชี้ประเด็นเกี่ยวข้องกับตัวแปรเหล่านี้
4. เหตุผลสำคัญในการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ได้แก่ ไม่เคยชิน ขี้เกียจคาด ขับรถใกล้ ๆ การจราจรไม่คับคั่ง และรู้จักเส้นทางดี ดังนั้น การจะส่งเสริมให้ใช้เข็มขัดนิรภัยมากขึ้นนั้น จำเป็นต้อง แก้ไขสิ่งเหล่านี้
5. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัยนั้ฯนอกจากจะใช้วิธีรณรงค์แล้ว อาจใช้ มาตรการทางวิศวกรรม เช่น บังคับให้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทั้งในที่นั่งคนขับ และที่นั่งผู้โดยสารที่นั่งแถวหน้า การติดสัญญาณไฟหรือสัญญาณเสียงเตือนเมื่อจะออกรถโดยที่ยังไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย
6. หากการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัยด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ บรรลุหรือไม่ได้ผลตามเป้าหมาย การใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัยก็เป็นสิ่งที่ควรจะ ต้องกระทำ
7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางบก ควรเผยแพร่ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ ให้ผู้ ขับขี่รถยนต์ได้ทราบ เพื่อให้ตระหนักและเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัย ของตนให้มีจิตสำนึก และทัศนคติที่ดีต่อการใช้เข็มขัดนิรภัยมากขึ้น
8. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางบก อาจนำข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ไปใช้ประกอบ ในการกำหนดนโยบาย มาตรการ และวางแผนปฎิบัติ เพื่อการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 กันยายน 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการวิจัยเรื่อง "เข็มขัดนิรภัย : ความเชื่อทัศนคติ และการใช้" ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผู้ขับขี่รถยนต์บุคคลมีความเชื่อเกี่ยวกับประโยชน์ และคุณค่าของเข็มขัดนิรภัยทัศนะคติที่ดีต่อ เข็มขัดนิรภัย แต่มีการใช้เข็มขัดนิรภัยค่อนข้างน้อย ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องรณรงค์ เพื่อเปลี่ยน พฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัย โดยพยายามให้ใช้เข็มขัดนิรภัยมากขึ้น
2. แหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลในเรื่องเข็มขัดนิรภัยได้แก่ โทรทัศน์ (ร้อยละ 8.8) และเพื่อน (ร้อยละ 8.6) ดังนั้น การรณรงค์เพื่อการใช้เข็มขัดนิรภัยนั้นควร ตระหนักถึงสื่อหรือแหล่งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ด้วย
3. ตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดในการทำนายการคาดเข็มขัดนิรภัย ได้แก่ ความเชื่อในด้านความไม่ สบาย เมื่อคาดเข็มขัดนิรภัย ความเชื่อในด้านความไม่สะดวกในการคาดเข็มขัดนิรภัย ทัศนคติที่มีต่อเข็ม ขัดนิรภัย และการยอมรับในกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดนิรภัย ดังนั้น ในการรณรงค์ เพื่อเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัยนั้น ควรจะต้องตระหนัก และชี้ประเด็นเกี่ยวข้องกับตัวแปรเหล่านี้
4. เหตุผลสำคัญในการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ได้แก่ ไม่เคยชิน ขี้เกียจคาด ขับรถใกล้ ๆ การจราจรไม่คับคั่ง และรู้จักเส้นทางดี ดังนั้น การจะส่งเสริมให้ใช้เข็มขัดนิรภัยมากขึ้นนั้น จำเป็นต้อง แก้ไขสิ่งเหล่านี้
5. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัยนั้ฯนอกจากจะใช้วิธีรณรงค์แล้ว อาจใช้ มาตรการทางวิศวกรรม เช่น บังคับให้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทั้งในที่นั่งคนขับ และที่นั่งผู้โดยสารที่นั่งแถวหน้า การติดสัญญาณไฟหรือสัญญาณเสียงเตือนเมื่อจะออกรถโดยที่ยังไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย
6. หากการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัยด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ บรรลุหรือไม่ได้ผลตามเป้าหมาย การใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัยก็เป็นสิ่งที่ควรจะ ต้องกระทำ
7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางบก ควรเผยแพร่ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ ให้ผู้ ขับขี่รถยนต์ได้ทราบ เพื่อให้ตระหนักและเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัย ของตนให้มีจิตสำนึก และทัศนคติที่ดีต่อการใช้เข็มขัดนิรภัยมากขึ้น
8. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางบก อาจนำข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ไปใช้ประกอบ ในการกำหนดนโยบาย มาตรการ และวางแผนปฎิบัติ เพื่อการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 กันยายน 2537--