ทำเนียบรัฐบาล--13 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์การจ้างงาน
1.1 ภาวะการจ้างงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2540 จัดว่าอยู่ในภาวะปกติเมื่อเทียบกับการจ้างงานในเดือนที่ผ่าน ๆ มาคือ ในเดือนกรกฎาคมมีการจ้างงานรวม 22,431 ตำแหน่ง (เป็นการบรรจุงานในประเทศ 9,445 ตำแหน่ง และการบรรจุงานในต่างประเทศ 12,986 ตำแหน่ง) ในเดือนสิงหาคมมีการจ้างงานรวม 25,001 ตำแหน่ง (เป็นการบรรจุงานในประเทศ 9,711 ตำแหน่ง และการบรรจุงานในต่างประเทศ 15,290 ตำแหน่ง)
1.2 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้บริหารของกระทรวงทั้ง 15 คณะได้ออกตรวจเยี่ยมสมาคม/ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ อาทิ สมาคมการพิมพ์ไทย บริษัทไทยฮอนด้าแมนูแฟคเจอริ่ง และบริษัทไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด มีลูกจ้างซึ่งรวมบริษัทในเครือด้วยทั้งสิ้น 109,363 คน มีความยินดีอย่างยิ่งที่ภาครัฐมีความห่วงใยและได้นำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการชะลอการเลิกจ้างไปปฏิบัติ ทำให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยไม่มีการปลดพนักงานแม้ว่าผลผลิตลดลงก็ตาม ในขณะเดียวกันบริษัทในเครือที่ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ส่งต่างประเทศของบริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัดยังมีความต้องการแรงงานเพิ่มประมาณ 100 อัตรา ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ วิศวกร เจ้าหน้าที่บัญชี คนงานทั่วไป และอุตสาหกรรมผลิตรองเท้าส่งออกก็มีความต้องการแรงงานเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีสมาชิกกว่า 220 บริษัท ได้แจ้งว่ายังมีความต้องการแรงงานระดับไร้ฝีมือ เพื่อเข้าทำงานในโรงงานและกระจายอยู่ตามต่างจังหวัดอีกด้วย
2. สถานการณ์การเลิกจ้าง
2.1 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน 2540 มีการเลิกจ้างในสถานประกอบการ 179 แห่ง รวมลูกจ้าง 12,537 คน
2.2 ในเดือนกรกฎาคม มีการเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วนในสถานประกอบการ 67 แห่ง รวมลูกจ้าง 3,381 คนซึ่งสูงกว่าเดือนมิถุนายนเล็กน้อย และได้เพิ่มสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม โดยมีการเลิกจ้างในสถานประกอบการ 89 แห่ง ลูกจ้างรวม 6,593 คน สำหรับในเดือนกันยายนแม้ว่าจะมีการเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วนในสถานประกอบการสูงถึง 91 แห่ง แต่จำนวนลูกจ้างได้ลดลงเหลือเพียง 3,975 คน เนื่องจากสถานประกอบการส่วนใหญ่ได้ใช้มาตรการชะลอการเลิกจ้างแทน และยังคงรอดูสถานการณ์ค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ในการตรวจเยี่ยมบริษัท STI เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของประเทศไทย มีลูกจ้างในขบวนการผลิตถึง 1.5 แสนคน ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอย่างสูงทำให้บริษัทต้องลดกำลังผลิตรถยนต์ลงถึง 2.1 แสนคัน และลดกำลังผลิตรถจักรยานยนต์ลงถึง 3 แสนคัน บริษัทจึงได้เลิกจ้างลูกจ้างไปแล้ว2,500 คน และอาจมีแนวโน้มจะเลิกจ้างในระยะต่อไป
3. การให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง
กระทรวงได้ให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม - 3 ตุลาคม 2540 รวม 26,073 คน ดังนี้
มาตรการระยะสั้น
3.1 ได้เร่งรัดดำเนินการให้ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยรวม 548.64 ล้านบาท
3.2 ได้บรรจุงานใหม่ให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้าง 18,280 คน และให้การแนะแนวอาชีพ 25,911 คน
3.3 ดำเนินการปรับฝีมือให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้าง 8,900 คน
3.4 จัดเตรียมกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับช่วยเหลือแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบการจ้างงานแรงงานที่ถูกเลิกจ้างและแรงงานในระบบการจ้างงาน จำนวน 250 ล้านบาท ในอัตรากู้ยืมต่ำสุด 17,500 บาท และสูงสุด 74,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลาผ่อนส่ง 35 - 120 เดือน ตามแต่หลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งมีผู้กู้ยืมไปแล้วตั้งแต่เริ่มให้บริการคือในเดือนกันยายน รวม 214 ราย เป็นเงิน 4.03 ล้านบาท
3.5 ยังคงสิทธิคุ้มครองผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือถูกเลิกจ้างไปอีก 6 เดือน หลักจากนั้นผู้ถูกเลิกจ้างที่ยังไม่มีงานทำสามารถรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจได้ โดยแจ้งความประสงค์ภายใน 6 เดือน หลังสิ้นสภาพ และจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 144 คน จะได้สิทธิเช่นเดียวกับผู้ประกันตามมาตรา 33
3.6 มีเงินทุนหมุนเวียนให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และประชาชนทั่วไปได้กู้ยืมเพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัว รวม 6.3 ล้านบาท โดยให้กู้ได้รายละ 10,000 บาท ซึ่งมีผู้มาขอกู้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา และได้รับอนุมัติ 156 ราย เป็นเงิน 1.4 ล้านบาท
3.7 ลดภาระให้แก่นายจ้างเพื่อส่งเสริมมาตรการชะลอการเลิกจ้าง โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามความเสี่ยงของประเภทกิจการจาก 0.2 - 2% ของค่าจ้างเหลือ 0.2 - 1% ของค่าจ้าง และปรับปรุงอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์จากปรับลดไม่เกิน 70% และเพิ่มสูงไม่เกิน 100% เป็นปรับลดไม่เกิน 80% และปรับเพิ่มไม่เกิน 150% จากอัตราเงินสมทบหลัก ทำให้นายจ้างได้รับประโยชน์ 20,946 ราย เป็นเงินถึง 290.78 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังลดภาระการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของทั้ง 3 ฝ่าย ลงเหลือร้อยละ 1 ของค่าจ้างตั้งแต่ปี 2541 - 2543 ทำให้นายจ้างและลูกจ้างลดภาระลงฝ่ายละเป็นเงินถึง 1,766.66 ล้านบาท
3.8 จัดทำทะเบียนผู้ถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะผุ้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบการจ้างงาน เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถรับจ้างงานเหมาระยะสั้นจากผู้ประกอบการได้ โดยกระทรวงจะเป็นศูนย์บริการให้ รวมทั้งกระทรวงจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นวิทยากรร่วมในการฝึกอาชีพหลักสูตรต่าง ๆของกระทรวงต่อไป ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอทราบรายละเอียดได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัดและเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
มาตรการระยะยาว
3.9 กระทรวงได้สนับสนุนนโยบายกระจายอุตสาหกรรมชนบท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เข้าเยี่ยมและปรึกษาหารือกับบริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้ารายใหญ่ของประเทศมีบริษัทในเครือที่มีฐานการผลิตในชนบทถึง 25 อำเภอ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ลพบุรี อุทัยธานี ระยอง สุพรรณบุรี ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมแรงงานรองรับการขยายฐานสู่ชนบทอื่นๆ และกระทรวงจะได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะขยายสู่ชนบทต่อไปด้วย
3.10 กระทรวงเน้นย้ำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยร่วมมือกับบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2540 ซึ่งนอกจากร่วมในการพัฒนาทักษะฝีมือด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ของภาคเอกชนแล้ว บริษัทยังสนองมาตรการชะลอการเลิกจ้างพนักงานโดยได้มีการฝึกทักษะฝีมือเพิ่มเติมในศูนย์ฯ และจัดส่งไปยังสาขาต่าง ๆ ในประเทศพร้อมทั้งจัดส่งพนักงานไปฝึกอบรมยังต่างประเทศปีละประมาณ 200-300 คน ณ ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งนอกจากเพิ่มศักยภาพด้านฝีมือแล้ว ยังสามารถนำเงินตราเข้าสู่ประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
3.11 ได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมพัฒนาแรงงานในสาขาอาชีพต่างๆ รองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมแรงงานรองรับเมื่อภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 13 ตุลาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์การจ้างงาน
1.1 ภาวะการจ้างงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2540 จัดว่าอยู่ในภาวะปกติเมื่อเทียบกับการจ้างงานในเดือนที่ผ่าน ๆ มาคือ ในเดือนกรกฎาคมมีการจ้างงานรวม 22,431 ตำแหน่ง (เป็นการบรรจุงานในประเทศ 9,445 ตำแหน่ง และการบรรจุงานในต่างประเทศ 12,986 ตำแหน่ง) ในเดือนสิงหาคมมีการจ้างงานรวม 25,001 ตำแหน่ง (เป็นการบรรจุงานในประเทศ 9,711 ตำแหน่ง และการบรรจุงานในต่างประเทศ 15,290 ตำแหน่ง)
1.2 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้บริหารของกระทรวงทั้ง 15 คณะได้ออกตรวจเยี่ยมสมาคม/ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ อาทิ สมาคมการพิมพ์ไทย บริษัทไทยฮอนด้าแมนูแฟคเจอริ่ง และบริษัทไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด มีลูกจ้างซึ่งรวมบริษัทในเครือด้วยทั้งสิ้น 109,363 คน มีความยินดีอย่างยิ่งที่ภาครัฐมีความห่วงใยและได้นำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการชะลอการเลิกจ้างไปปฏิบัติ ทำให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยไม่มีการปลดพนักงานแม้ว่าผลผลิตลดลงก็ตาม ในขณะเดียวกันบริษัทในเครือที่ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ส่งต่างประเทศของบริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัดยังมีความต้องการแรงงานเพิ่มประมาณ 100 อัตรา ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ วิศวกร เจ้าหน้าที่บัญชี คนงานทั่วไป และอุตสาหกรรมผลิตรองเท้าส่งออกก็มีความต้องการแรงงานเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีสมาชิกกว่า 220 บริษัท ได้แจ้งว่ายังมีความต้องการแรงงานระดับไร้ฝีมือ เพื่อเข้าทำงานในโรงงานและกระจายอยู่ตามต่างจังหวัดอีกด้วย
2. สถานการณ์การเลิกจ้าง
2.1 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน 2540 มีการเลิกจ้างในสถานประกอบการ 179 แห่ง รวมลูกจ้าง 12,537 คน
2.2 ในเดือนกรกฎาคม มีการเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วนในสถานประกอบการ 67 แห่ง รวมลูกจ้าง 3,381 คนซึ่งสูงกว่าเดือนมิถุนายนเล็กน้อย และได้เพิ่มสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม โดยมีการเลิกจ้างในสถานประกอบการ 89 แห่ง ลูกจ้างรวม 6,593 คน สำหรับในเดือนกันยายนแม้ว่าจะมีการเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วนในสถานประกอบการสูงถึง 91 แห่ง แต่จำนวนลูกจ้างได้ลดลงเหลือเพียง 3,975 คน เนื่องจากสถานประกอบการส่วนใหญ่ได้ใช้มาตรการชะลอการเลิกจ้างแทน และยังคงรอดูสถานการณ์ค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ในการตรวจเยี่ยมบริษัท STI เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของประเทศไทย มีลูกจ้างในขบวนการผลิตถึง 1.5 แสนคน ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอย่างสูงทำให้บริษัทต้องลดกำลังผลิตรถยนต์ลงถึง 2.1 แสนคัน และลดกำลังผลิตรถจักรยานยนต์ลงถึง 3 แสนคัน บริษัทจึงได้เลิกจ้างลูกจ้างไปแล้ว2,500 คน และอาจมีแนวโน้มจะเลิกจ้างในระยะต่อไป
3. การให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง
กระทรวงได้ให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม - 3 ตุลาคม 2540 รวม 26,073 คน ดังนี้
มาตรการระยะสั้น
3.1 ได้เร่งรัดดำเนินการให้ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยรวม 548.64 ล้านบาท
3.2 ได้บรรจุงานใหม่ให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้าง 18,280 คน และให้การแนะแนวอาชีพ 25,911 คน
3.3 ดำเนินการปรับฝีมือให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้าง 8,900 คน
3.4 จัดเตรียมกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับช่วยเหลือแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบการจ้างงานแรงงานที่ถูกเลิกจ้างและแรงงานในระบบการจ้างงาน จำนวน 250 ล้านบาท ในอัตรากู้ยืมต่ำสุด 17,500 บาท และสูงสุด 74,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลาผ่อนส่ง 35 - 120 เดือน ตามแต่หลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งมีผู้กู้ยืมไปแล้วตั้งแต่เริ่มให้บริการคือในเดือนกันยายน รวม 214 ราย เป็นเงิน 4.03 ล้านบาท
3.5 ยังคงสิทธิคุ้มครองผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือถูกเลิกจ้างไปอีก 6 เดือน หลักจากนั้นผู้ถูกเลิกจ้างที่ยังไม่มีงานทำสามารถรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจได้ โดยแจ้งความประสงค์ภายใน 6 เดือน หลังสิ้นสภาพ และจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 144 คน จะได้สิทธิเช่นเดียวกับผู้ประกันตามมาตรา 33
3.6 มีเงินทุนหมุนเวียนให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และประชาชนทั่วไปได้กู้ยืมเพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัว รวม 6.3 ล้านบาท โดยให้กู้ได้รายละ 10,000 บาท ซึ่งมีผู้มาขอกู้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา และได้รับอนุมัติ 156 ราย เป็นเงิน 1.4 ล้านบาท
3.7 ลดภาระให้แก่นายจ้างเพื่อส่งเสริมมาตรการชะลอการเลิกจ้าง โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามความเสี่ยงของประเภทกิจการจาก 0.2 - 2% ของค่าจ้างเหลือ 0.2 - 1% ของค่าจ้าง และปรับปรุงอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์จากปรับลดไม่เกิน 70% และเพิ่มสูงไม่เกิน 100% เป็นปรับลดไม่เกิน 80% และปรับเพิ่มไม่เกิน 150% จากอัตราเงินสมทบหลัก ทำให้นายจ้างได้รับประโยชน์ 20,946 ราย เป็นเงินถึง 290.78 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังลดภาระการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของทั้ง 3 ฝ่าย ลงเหลือร้อยละ 1 ของค่าจ้างตั้งแต่ปี 2541 - 2543 ทำให้นายจ้างและลูกจ้างลดภาระลงฝ่ายละเป็นเงินถึง 1,766.66 ล้านบาท
3.8 จัดทำทะเบียนผู้ถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะผุ้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบการจ้างงาน เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถรับจ้างงานเหมาระยะสั้นจากผู้ประกอบการได้ โดยกระทรวงจะเป็นศูนย์บริการให้ รวมทั้งกระทรวงจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นวิทยากรร่วมในการฝึกอาชีพหลักสูตรต่าง ๆของกระทรวงต่อไป ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอทราบรายละเอียดได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัดและเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
มาตรการระยะยาว
3.9 กระทรวงได้สนับสนุนนโยบายกระจายอุตสาหกรรมชนบท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เข้าเยี่ยมและปรึกษาหารือกับบริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้ารายใหญ่ของประเทศมีบริษัทในเครือที่มีฐานการผลิตในชนบทถึง 25 อำเภอ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ลพบุรี อุทัยธานี ระยอง สุพรรณบุรี ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมแรงงานรองรับการขยายฐานสู่ชนบทอื่นๆ และกระทรวงจะได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะขยายสู่ชนบทต่อไปด้วย
3.10 กระทรวงเน้นย้ำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยร่วมมือกับบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2540 ซึ่งนอกจากร่วมในการพัฒนาทักษะฝีมือด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ของภาคเอกชนแล้ว บริษัทยังสนองมาตรการชะลอการเลิกจ้างพนักงานโดยได้มีการฝึกทักษะฝีมือเพิ่มเติมในศูนย์ฯ และจัดส่งไปยังสาขาต่าง ๆ ในประเทศพร้อมทั้งจัดส่งพนักงานไปฝึกอบรมยังต่างประเทศปีละประมาณ 200-300 คน ณ ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งนอกจากเพิ่มศักยภาพด้านฝีมือแล้ว ยังสามารถนำเงินตราเข้าสู่ประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
3.11 ได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมพัฒนาแรงงานในสาขาอาชีพต่างๆ รองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมแรงงานรองรับเมื่อภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 13 ตุลาคม 2540--