ทำเนียบรัฐบาล--21 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานภาวะอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ภาวะอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเภทในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทุกประเภทของไทยปรับตัวลดลง ดังนี้
1.1 อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น
อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2541 และลดลงต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2542 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร อายุ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 0.8125 ต่อปี และร้อยละ 1.125 - 1.5 ต่อปี ตามลำดับ
1.2 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ
- การโน้มลงอย่างต่อเนื่องของอัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ทำให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยลงทั้งเงินฝากและเงินให้กู้ยืมตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2541 เป็นต้นมา แต่ในระยะแรกธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
- สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมลงหลายครั้งตั้งแต่ต้นปี โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ตั้งแต่กุมภาพันธ์เป็นต้นมา และเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีกครั้งในเดือนมิถุนายนนี้
- ล่าสุดธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่คือธนาคารกรุงเทพและธนาคารไทยพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLR ลงร้อยละ 9.25 ต่อปีเท่ากัน เหลือร้อยละ 8.75 และ 9.0 ต่อปี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2542 ตามลำดับ ขณะเดียวกันได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลงจากร้อยละ 5.0 เหลือร้อยละ 4.75 ต่อปี
- การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยโน้มลดลงในปีนี้
- นอกจากนั้น จากการที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ทำให้มีเงินฝากส่วนหนึ่งย้ายไปฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมากขึ้น ทำให้ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยลดลงตาม
1.3 อัตราดอกเบี้ยระยะยาว
อัตราดอกเบี้ยระยะยาวมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ครั้งหลังของปีก่อน ซึ่งแสดงโดยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของพันธบัตรรัฐบาล ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2542 เคลื่อนไหวในช่วงร้อยละ 6.0 - 7.4 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย (coupon rate) ของพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจและหุ้นกู้เอกชน มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน
2. ปัจจัยที่อธิบายการลดลงของอัตราดอกเบี้ย
2.1 ระบบธนาคารมีสภาพคล่องมาก จากการที่มีเงินไหลเข้าสู่ระบบธนาคารเพิ่มขึ้น จากความมั่นใจต่อเศรษฐกิจไทยและระบบการเงินของไทยมีมากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินยังระมัดระวังการให้สินเชื่อ เนื่องจากเกรงปัญหาหนี้เสีย ประกอบกับความต้องการกู้ยืมจากลูกค้าค่อนข้างทรงตัว 2.2 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปีก่อน และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางการสามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่ ซึ่งทางการได้ดำเนินการ ดังนี้
1) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2542
2) ลดอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องในส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งมิได้รับผลตอบแทน) จากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 1 ของเงินฝาก โดยให้ดำรงเป็นพันธบัตรที่มีผลตอบแทนได้ตั้งแต่ 23 เมษายน 2542 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ได้บ้าง และทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมลงได้ในที่สุด
2.3 การผ่อนคลายทางการคลัง ด้วยการลดภาระภาษีและเพิ่มการใช้จ่าย ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุล เป็นการเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและระบบการเงิน
2.4 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ (สุทธิ) ส่งผลให้ฐานะสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของระบบธนาคารและบริษัทเงินทุนเกินดุลเพิ่มขึ้น
3. ปัจจัยบวกและปัจจัยลบของการที่อัตราดอกเบี้ยลดลง
3.1 ปัจจัยลบของอัตราดอกเบี้ยลดลง
1) รายได้ของผู้ฝากเงินลดลง และไม่จูงใจในการออม
2) รายได้ภาษีจากดอกเบี้ยลดลง
3) ไม่ดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศที่แสวงหาอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้การไหลเข้าของเงินทุนช้าลง หรือมีการไหลออกของเงินทุนเพื่อชำระคืนหนี้ต่างประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 การลดลงของอัตราดอกเบี้ยมิได้ส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทอ่อนลง แต่กลับช่วยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นช้าลง
3.2 ปัจจัยบวกของอัตราดอกเบี้ยลดลง
1) รายจ่ายดอกเบี้ยของผู้กู้ลดลงทั้งประชาชน ธุรกิจ และรัฐบาลลดลง เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยความเสียหายแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน
2) ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่อัตราดอกเบี้ยสูง ประชาชนและธุรกิจจะฝากเงินรับดอกเบี้ยแทนการนำเงินไปลงทุน หรือประกอบธุรกิจ
3) ช่วยลดต้นทุนการเงินของธุรกิจไทย เป็นการเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน
4) เอื้ออำนวยให้กระบวนปรับโครงสร้างหนี้มีความคืบหน้ามากขึ้น และช่วยให้การเสื่อมคุณภาพของลูกหนี้ด้อยคุณภาพช้าลง
5) ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือทางการเงิน หลังจากที่หยุดชะงักไปในช่วงวิกฤตการณ์การเงิน เป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาคธุรกิจและรัฐบาล รวมทั้งเพิ่มทางเลือกในการออมและลงทุนให้แก่ประชาชน เป็นการช่วยพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้สามารถกลับมาทำหน้าที่ระดมทุนเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจได้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มิถุนายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานภาวะอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ภาวะอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเภทในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทุกประเภทของไทยปรับตัวลดลง ดังนี้
1.1 อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น
อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2541 และลดลงต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2542 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร อายุ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 0.8125 ต่อปี และร้อยละ 1.125 - 1.5 ต่อปี ตามลำดับ
1.2 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ
- การโน้มลงอย่างต่อเนื่องของอัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ทำให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยลงทั้งเงินฝากและเงินให้กู้ยืมตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2541 เป็นต้นมา แต่ในระยะแรกธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
- สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมลงหลายครั้งตั้งแต่ต้นปี โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ตั้งแต่กุมภาพันธ์เป็นต้นมา และเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีกครั้งในเดือนมิถุนายนนี้
- ล่าสุดธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่คือธนาคารกรุงเทพและธนาคารไทยพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLR ลงร้อยละ 9.25 ต่อปีเท่ากัน เหลือร้อยละ 8.75 และ 9.0 ต่อปี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2542 ตามลำดับ ขณะเดียวกันได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลงจากร้อยละ 5.0 เหลือร้อยละ 4.75 ต่อปี
- การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยโน้มลดลงในปีนี้
- นอกจากนั้น จากการที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ทำให้มีเงินฝากส่วนหนึ่งย้ายไปฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมากขึ้น ทำให้ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยลดลงตาม
1.3 อัตราดอกเบี้ยระยะยาว
อัตราดอกเบี้ยระยะยาวมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ครั้งหลังของปีก่อน ซึ่งแสดงโดยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของพันธบัตรรัฐบาล ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2542 เคลื่อนไหวในช่วงร้อยละ 6.0 - 7.4 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย (coupon rate) ของพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจและหุ้นกู้เอกชน มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน
2. ปัจจัยที่อธิบายการลดลงของอัตราดอกเบี้ย
2.1 ระบบธนาคารมีสภาพคล่องมาก จากการที่มีเงินไหลเข้าสู่ระบบธนาคารเพิ่มขึ้น จากความมั่นใจต่อเศรษฐกิจไทยและระบบการเงินของไทยมีมากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินยังระมัดระวังการให้สินเชื่อ เนื่องจากเกรงปัญหาหนี้เสีย ประกอบกับความต้องการกู้ยืมจากลูกค้าค่อนข้างทรงตัว 2.2 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปีก่อน และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางการสามารถผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่ ซึ่งทางการได้ดำเนินการ ดังนี้
1) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2542
2) ลดอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องในส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งมิได้รับผลตอบแทน) จากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 1 ของเงินฝาก โดยให้ดำรงเป็นพันธบัตรที่มีผลตอบแทนได้ตั้งแต่ 23 เมษายน 2542 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ได้บ้าง และทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมลงได้ในที่สุด
2.3 การผ่อนคลายทางการคลัง ด้วยการลดภาระภาษีและเพิ่มการใช้จ่าย ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุล เป็นการเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและระบบการเงิน
2.4 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ (สุทธิ) ส่งผลให้ฐานะสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของระบบธนาคารและบริษัทเงินทุนเกินดุลเพิ่มขึ้น
3. ปัจจัยบวกและปัจจัยลบของการที่อัตราดอกเบี้ยลดลง
3.1 ปัจจัยลบของอัตราดอกเบี้ยลดลง
1) รายได้ของผู้ฝากเงินลดลง และไม่จูงใจในการออม
2) รายได้ภาษีจากดอกเบี้ยลดลง
3) ไม่ดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศที่แสวงหาอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้การไหลเข้าของเงินทุนช้าลง หรือมีการไหลออกของเงินทุนเพื่อชำระคืนหนี้ต่างประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 การลดลงของอัตราดอกเบี้ยมิได้ส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทอ่อนลง แต่กลับช่วยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นช้าลง
3.2 ปัจจัยบวกของอัตราดอกเบี้ยลดลง
1) รายจ่ายดอกเบี้ยของผู้กู้ลดลงทั้งประชาชน ธุรกิจ และรัฐบาลลดลง เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยความเสียหายแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน
2) ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่อัตราดอกเบี้ยสูง ประชาชนและธุรกิจจะฝากเงินรับดอกเบี้ยแทนการนำเงินไปลงทุน หรือประกอบธุรกิจ
3) ช่วยลดต้นทุนการเงินของธุรกิจไทย เป็นการเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน
4) เอื้ออำนวยให้กระบวนปรับโครงสร้างหนี้มีความคืบหน้ามากขึ้น และช่วยให้การเสื่อมคุณภาพของลูกหนี้ด้อยคุณภาพช้าลง
5) ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือทางการเงิน หลังจากที่หยุดชะงักไปในช่วงวิกฤตการณ์การเงิน เป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาคธุรกิจและรัฐบาล รวมทั้งเพิ่มทางเลือกในการออมและลงทุนให้แก่ประชาชน เป็นการช่วยพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้สามารถกลับมาทำหน้าที่ระดมทุนเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจได้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มิถุนายน 2542--