คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตสินค้าปลอดสารพิษ แล้วมีมติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตสินค้าปลอดสารพิษ โดยให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการ
2. อนุมัติงบประมาณดำเนินการโครงการปี พ.ศ. 2548 — 2551 จำนวน 167.3 ล้านบาท ดังนี้
2.1 งบกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 147.8 ล้านบาท (ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ และหากได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ภายในเดือนธันวาคม 2548)
2.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 11.5 ล้านบาท (ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว)
2.3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 4.5 ล้านบาท
2.4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 3.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาเพื่อกำหนดกรอบ การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าว ให้สอดคล้องเหมาะสมกับภารกิจและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า
1. จากที่สหภาพยุโรปกำลังจะบังคับใช้ระเบียบเกี่ยวกับการใช้วัสดุต้องห้ามและการนำกลับมาใช้ใหม่ (ระเบียบ RoHs และระเบียบ WEEE) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ โดยให้มีการคืนสภาพ (Recover) ชิ้นส่วน/วัสดุ และนำชิ้นส่วน/วัสดุเหล่านั้นกลับไปใช้ใหม่ (Re — use/ recycle) ให้ได้ตามสัดส่วนตามที่กำหนดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 และให้เลิกใช้สารอันตราย 6 ชนิด ในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEE) ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียม — เฮกซะวาเลนซ์ (Cr — VI) โพลิโบรมิเนท — ไบฟีนีล (PBB) และโพลีโบรมิเนท — ไดฟีนีล — อีเทอร์ (PBDE) ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ฯ ตลอดห่วงโซ่อุปทานต้องเร่งปรับปรุงผลิตภัณฑ์และทดสอบสินค้า/วัสดุ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประเทศผู้ซื้อ
2. เพื่อป้องกันมิให้ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสและตลาดเพื่อการส่งออก การจัดตั้งหน่วยทดสอบและให้การรับรองการปลอดสารพิษ การเพิ่มความเข้มแข็งของโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานและ SME และการถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ในเทคโนโลยีที่ใช้วัสดุทดแทนต่างๆ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้จัดทำข้อเสนอแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตสินค้าปลอดสารพิษ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการที่มีความเป็นเลิศและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลในด้านเทคนิค การวิเคราะห์ทดสอบสารปนเปื้อนในชิ้นส่วน/วัสดุ
(2) เพื่อพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่รูปแบบการผลิตสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม
(3) เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรและเครือข่ายห้องปฏิบัติการในประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิเคราะห์ทดสอบและการรับรองชิ้นส่วน/วัสดุปลอดสารพิษ เพื่อรองรับมาตรการการค้าไม่ใช่ภาษีและบริบทของการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) มีผลบังคับใช้
2.2 มาตรการ
(1) เร่งพัฒนาห้องปฏิบัติการในศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบเพื่อการขยายผลสู่การเพิ่มปริมาณหน่วยทดสอบที่ได้มาตรฐานให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
(2) พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ให้เป็นฐานในการพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์/ทดสอบปริมาณสารปนเปื้อนในชิ้นส่วน/วัสดุ เพื่อรองรับกลไกการรับรองชิ้นส่วน/วัสดุปลอดสารพิษในประเทศ
(3) เร่งพัฒนาบุคลากร ระดับครูฝึก (Trainer) เพื่อนำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง
(4) เร่งสร้างบุคลากร ที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อรองรับกรณีพิพาท ข้อโต้แย้ง และเพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานวิธีการทดสอบชิ้นส่วน/วัสดุในระดับนานาชาติ
(5) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสามารถเป็นแหล่งข้อมูลและให้คำปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์
2.3 ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 — 2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
1. อนุมัติหลักการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตสินค้าปลอดสารพิษ โดยให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการ
2. อนุมัติงบประมาณดำเนินการโครงการปี พ.ศ. 2548 — 2551 จำนวน 167.3 ล้านบาท ดังนี้
2.1 งบกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 147.8 ล้านบาท (ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ และหากได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ภายในเดือนธันวาคม 2548)
2.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 11.5 ล้านบาท (ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว)
2.3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 4.5 ล้านบาท
2.4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 3.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาเพื่อกำหนดกรอบ การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าว ให้สอดคล้องเหมาะสมกับภารกิจและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า
1. จากที่สหภาพยุโรปกำลังจะบังคับใช้ระเบียบเกี่ยวกับการใช้วัสดุต้องห้ามและการนำกลับมาใช้ใหม่ (ระเบียบ RoHs และระเบียบ WEEE) ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ โดยให้มีการคืนสภาพ (Recover) ชิ้นส่วน/วัสดุ และนำชิ้นส่วน/วัสดุเหล่านั้นกลับไปใช้ใหม่ (Re — use/ recycle) ให้ได้ตามสัดส่วนตามที่กำหนดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 และให้เลิกใช้สารอันตราย 6 ชนิด ในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEE) ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียม — เฮกซะวาเลนซ์ (Cr — VI) โพลิโบรมิเนท — ไบฟีนีล (PBB) และโพลีโบรมิเนท — ไดฟีนีล — อีเทอร์ (PBDE) ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ฯ ตลอดห่วงโซ่อุปทานต้องเร่งปรับปรุงผลิตภัณฑ์และทดสอบสินค้า/วัสดุ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประเทศผู้ซื้อ
2. เพื่อป้องกันมิให้ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสและตลาดเพื่อการส่งออก การจัดตั้งหน่วยทดสอบและให้การรับรองการปลอดสารพิษ การเพิ่มความเข้มแข็งของโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานและ SME และการถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ในเทคโนโลยีที่ใช้วัสดุทดแทนต่างๆ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้จัดทำข้อเสนอแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตสินค้าปลอดสารพิษ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการที่มีความเป็นเลิศและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลในด้านเทคนิค การวิเคราะห์ทดสอบสารปนเปื้อนในชิ้นส่วน/วัสดุ
(2) เพื่อพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่รูปแบบการผลิตสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม
(3) เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรและเครือข่ายห้องปฏิบัติการในประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิเคราะห์ทดสอบและการรับรองชิ้นส่วน/วัสดุปลอดสารพิษ เพื่อรองรับมาตรการการค้าไม่ใช่ภาษีและบริบทของการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) มีผลบังคับใช้
2.2 มาตรการ
(1) เร่งพัฒนาห้องปฏิบัติการในศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบเพื่อการขยายผลสู่การเพิ่มปริมาณหน่วยทดสอบที่ได้มาตรฐานให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
(2) พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ให้เป็นฐานในการพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์/ทดสอบปริมาณสารปนเปื้อนในชิ้นส่วน/วัสดุ เพื่อรองรับกลไกการรับรองชิ้นส่วน/วัสดุปลอดสารพิษในประเทศ
(3) เร่งพัฒนาบุคลากร ระดับครูฝึก (Trainer) เพื่อนำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง
(4) เร่งสร้างบุคลากร ที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อรองรับกรณีพิพาท ข้อโต้แย้ง และเพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานวิธีการทดสอบชิ้นส่วน/วัสดุในระดับนานาชาติ
(5) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสามารถเป็นแหล่งข้อมูลและให้คำปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์
2.3 ระยะเวลาดำเนินการ
4 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 — 2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--