ทำเนียบรัฐบาล--28 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องรายงานความคืบหน้าของมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน สรุปได้ดังนี้
1. ความคืบหน้าของมาตรการที่สำคัญ
1.1 หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการตามมาตรการที่คณะรัฐมนตรีมีมติไปส่วนหนึ่งแล้ว และจะได้รายงานความก้าวหน้าในที่ประชุม
1.2 กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับปรุงระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา (ตบลป.) เพื่อเร่งพิจารณาและติดตามมาตรการระยะสั้นด้านต่าง ๆ ซึ่งมีกำหนดการประชุมทุกสัปดาห์
2. การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสถานการณ์โดยส่วนรวม
2.1 ในช่วงวันที่ 15 - 24 กรกฎาคม 2540 อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงเงินบาทยังมีค่าอ่อนตัวลงจาก 30.348 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม เป็น 32.108 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2540
2.2 เกิดมีการเก็งกำไรในเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคซึ่งสร้างแรงกดดันให้ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ต้องปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และในกรณีของฟิลิปปินส์ได้มีการขอกู้เงินจาก IMF เพื่อเสริมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
2.3 ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น เพื่อระดมเงินฝากและสร้างสภาพคล่องของธนาคาร เช่น
1) ธนาคารกสิกรไทยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นร้อยละ 10 - 11.50 ขณะเดียวกันได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR, MOR และ MRR ขึ้นอีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 13.75, 14.25 และ 14.00 ตามลำดับ มีผลตั้งแต่ 24 กรกฎาคม เป็นต้นไป
2) ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 6 เดือน วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป อีกร้อยละ 1 - 2 เป็นร้อยละ 13 และ 12 ตามลำดับ ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม เป็นต้นไป
2.4 คาดว่าจะมีการขาดดุลงบประมาณทั้งปี 2540 และ 2541 ในระดับสูง จากการประมาณการของคณะทำงานประมาณรายได้ปีงบประมาณ 2540 และ 2541 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. มาตรการเร่งด่วน
มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว 7 มาตรการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งด้านเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัด และเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนในแนวทางการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีนโยบายที่ชัดเจนเป็นระบบและมีเอกภาพ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตามที่รายงานในข้อ 1 แสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินนโยบายและมาตรการให้ภาคเอกชนและประชาชนมีความมั่นใจในด้านต่อไปนี้โดยเร็ว
1) การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจ เช่น การแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนโดยทางการและพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการแทรกแซง เนื่องจากขณะนี้นักลงทุนเริ่มเป็นห่วงและไม่มั่นใจในการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
2) การเพิ่มสภาพคล่องของสถาบันการเงินและธุรกิจเอกชน เช่น การลดภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากการลดหย่อนค่าใช้จ่ายสำหรับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นของนิติบุคคล การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อบรรเทาผลเสียหายของธุรกิจจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน
3) การรักษาวินัยการคลังและหาแนวทางชดเชยหรือลดการขาดดุลงบประมาณที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องรายงานความคืบหน้าของมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน สรุปได้ดังนี้
1. ความคืบหน้าของมาตรการที่สำคัญ
1.1 หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการตามมาตรการที่คณะรัฐมนตรีมีมติไปส่วนหนึ่งแล้ว และจะได้รายงานความก้าวหน้าในที่ประชุม
1.2 กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับปรุงระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา (ตบลป.) เพื่อเร่งพิจารณาและติดตามมาตรการระยะสั้นด้านต่าง ๆ ซึ่งมีกำหนดการประชุมทุกสัปดาห์
2. การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสถานการณ์โดยส่วนรวม
2.1 ในช่วงวันที่ 15 - 24 กรกฎาคม 2540 อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงเงินบาทยังมีค่าอ่อนตัวลงจาก 30.348 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม เป็น 32.108 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2540
2.2 เกิดมีการเก็งกำไรในเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคซึ่งสร้างแรงกดดันให้ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ต้องปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และในกรณีของฟิลิปปินส์ได้มีการขอกู้เงินจาก IMF เพื่อเสริมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
2.3 ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น เพื่อระดมเงินฝากและสร้างสภาพคล่องของธนาคาร เช่น
1) ธนาคารกสิกรไทยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นร้อยละ 10 - 11.50 ขณะเดียวกันได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR, MOR และ MRR ขึ้นอีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 13.75, 14.25 และ 14.00 ตามลำดับ มีผลตั้งแต่ 24 กรกฎาคม เป็นต้นไป
2) ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 6 เดือน วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป อีกร้อยละ 1 - 2 เป็นร้อยละ 13 และ 12 ตามลำดับ ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม เป็นต้นไป
2.4 คาดว่าจะมีการขาดดุลงบประมาณทั้งปี 2540 และ 2541 ในระดับสูง จากการประมาณการของคณะทำงานประมาณรายได้ปีงบประมาณ 2540 และ 2541 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. มาตรการเร่งด่วน
มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว 7 มาตรการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งด้านเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัด และเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนในแนวทางการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีนโยบายที่ชัดเจนเป็นระบบและมีเอกภาพ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตามที่รายงานในข้อ 1 แสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินนโยบายและมาตรการให้ภาคเอกชนและประชาชนมีความมั่นใจในด้านต่อไปนี้โดยเร็ว
1) การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจ เช่น การแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนโดยทางการและพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการแทรกแซง เนื่องจากขณะนี้นักลงทุนเริ่มเป็นห่วงและไม่มั่นใจในการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
2) การเพิ่มสภาพคล่องของสถาบันการเงินและธุรกิจเอกชน เช่น การลดภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากการลดหย่อนค่าใช้จ่ายสำหรับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นของนิติบุคคล การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อบรรเทาผลเสียหายของธุรกิจจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน
3) การรักษาวินัยการคลังและหาแนวทางชดเชยหรือลดการขาดดุลงบประมาณที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 28 กรกฎาคม 2540--