ทำเนียบรัฐบาล--17 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ครั้งที่ 2/2541 ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำในเขื่อนเก็บกักน้ำต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้อย ยกเว้นในภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณมาก และคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นปี 2541 ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์รวมกัน ประมาณ 3,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะเป็นน้ำต้นทุนที่จะนำมาใช้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดช่วงฤดูแล้งปี 2542
2. กำหนดนโยบายในการจัดสรรน้ำในกรณีที่เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เป็นหลักการดังนี้ 1) เพื่อการอุปโภค บริโภค และการประปา 2) เพื่อเสริมการเกษตร (การเพาะปลูกพืชผัก สวนผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชใช้น้ำน้อย 3) เพื่อการผลักดันน้ำเค็ม 4) เพื่อการทำนาปรัง 5) เพื่อการคมนาคม 6) เพื่อกิจกรรมอื่น ๆ
3. การเตรียมการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำ
3.1 น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
3.1.1 ให้จังหวัดสำรวจและซ่อมแซมอุปกรณ์ ภาชนะเก็บกักน้ำในทุกพื้นที่ให้อยู่ในสภาพที่สามารถจะใช้การได้ และบรรจุน้ำให้เต็มก่อนเข้าสู่ฤดูแล้ง โดยใช้งบประมาณของส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก
3.1.2 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการขุดเจาะ ซ่อมแวม และพัฒนาบ่อน้ำบาดาลเร่งดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยใช้งบประมาณปกติที่ได้รับ แล้วให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ให้หน่วยราชการโดยด่วน
3.1.3 ให้ฝ่ายเลขานุการฯ (ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ) รวบรวมงบประมาณที่ส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องใช้เพื่อการนี้ ทั้งงบประมาณปกติและงบประมาณในส่วนที่จำเป็นจะต้องใช้เพิ่มเติม แจ้งให้สำนักงบประมาณทราบโดยด่วน
3.1.4 ในการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางดำเนินการตามแผนป้องกันฝ่ายพลเรือนด้านภัยแล้ง และให้การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาครับผิดชอบในพื้นที่ที่ให้บริการ
3.2 น้ำเพื่อการเกษตรและอื่น ๆ
3.2.1 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ พิจารณากำหนดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง และพืชใช้น้ำน้อยอื่น ๆ แล้วแจ้งให้จังหวัดทราบเพื่อร่วมกันหาแนวทางให้สามารถปฏิบัติได้ตามแผนที่กำหนด
3.2.2 การจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่คาดว่าเมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม 2542 จะมีน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์อยู่ประมาณ 3,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะต้องใช้ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2542 จำนวน 3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ 22 จังหวัด
3.2.3 ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานลดปริมาณการใช้น้ำที่คาดว่าจะต้องใช้ลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยใช้ในปีที่ผ่านมา (2541) ซึ่งในรายละเอียดจะได้ร่วมกันพิจารณากับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และฝ่ายเลขานุการกำหนดเป็นพื้นที่ ๆ โดยด่วน
3.2.4 น้ำเพื่อการเดินเรือหากจำเป็นต้องปิดการเดินเรือในช่วงใดให้กรมชลประทานประสานกับกรมเจ้าท่าประกาศให้ผู้ใช้ทางน้ำทราบล่วงหน้า
3.3 มาตรการป้องกันน้ำเสีย
3.3.1 ให้ส่วนราชการและจังหวัดที่ควบคุมดูแลเรื่องน้ำเสียควบคุมมิให้โรงงานอุตสาหกรรมหรือกิจการด้านการเกษตรต่าง ๆ ปล่อยน้ำเสียลงสู่ทางน้ำสาธารณะ และแหล่งน้ำธรรมชาติ เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด หากแหล่งน้ำบริเวณใดมีปัญหาให้รีบแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการแก้ไขโดยด่วน
3.3.2 ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจวัดคุณภาพน้ำ ทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำในช่วงฤดูแล้งในลำน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะในลำน้ำที่เคยมีปัญหาน้ำเสียให้ทำการตรวจวัดให้มากขึ้น
3.3.3 ให้กระทรวงอุตสาหกรรมทำหนังสือแจ้งกำชับไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดน้ำเน่าเสีย
3.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
3.4.1 ในกรณีที่มีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการจัดสรรน้ำหรือการใช้น้ำในภาพรวมให้ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณาหาแนวทางแก้ไข
3.4.2 ในกรณีที่มีปัญหาการขัดแย้งการใช้น้ำในพื้นที่ให้ฝ่ายปกครองร่วมกับผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พิจารณาแนวทางแก้ไข โดยยึดถือนโยบายและแผนการบริหารจัดการน้ำที่ได้กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ครั้งที่ 2/2541 ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำในเขื่อนเก็บกักน้ำต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้อย ยกเว้นในภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณมาก และคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นปี 2541 ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์รวมกัน ประมาณ 3,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะเป็นน้ำต้นทุนที่จะนำมาใช้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดช่วงฤดูแล้งปี 2542
2. กำหนดนโยบายในการจัดสรรน้ำในกรณีที่เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เป็นหลักการดังนี้ 1) เพื่อการอุปโภค บริโภค และการประปา 2) เพื่อเสริมการเกษตร (การเพาะปลูกพืชผัก สวนผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชใช้น้ำน้อย 3) เพื่อการผลักดันน้ำเค็ม 4) เพื่อการทำนาปรัง 5) เพื่อการคมนาคม 6) เพื่อกิจกรรมอื่น ๆ
3. การเตรียมการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำ
3.1 น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
3.1.1 ให้จังหวัดสำรวจและซ่อมแซมอุปกรณ์ ภาชนะเก็บกักน้ำในทุกพื้นที่ให้อยู่ในสภาพที่สามารถจะใช้การได้ และบรรจุน้ำให้เต็มก่อนเข้าสู่ฤดูแล้ง โดยใช้งบประมาณของส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก
3.1.2 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการขุดเจาะ ซ่อมแวม และพัฒนาบ่อน้ำบาดาลเร่งดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยใช้งบประมาณปกติที่ได้รับ แล้วให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ให้หน่วยราชการโดยด่วน
3.1.3 ให้ฝ่ายเลขานุการฯ (ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ) รวบรวมงบประมาณที่ส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องใช้เพื่อการนี้ ทั้งงบประมาณปกติและงบประมาณในส่วนที่จำเป็นจะต้องใช้เพิ่มเติม แจ้งให้สำนักงบประมาณทราบโดยด่วน
3.1.4 ในการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางดำเนินการตามแผนป้องกันฝ่ายพลเรือนด้านภัยแล้ง และให้การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาครับผิดชอบในพื้นที่ที่ให้บริการ
3.2 น้ำเพื่อการเกษตรและอื่น ๆ
3.2.1 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ พิจารณากำหนดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง และพืชใช้น้ำน้อยอื่น ๆ แล้วแจ้งให้จังหวัดทราบเพื่อร่วมกันหาแนวทางให้สามารถปฏิบัติได้ตามแผนที่กำหนด
3.2.2 การจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่คาดว่าเมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม 2542 จะมีน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์อยู่ประมาณ 3,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะต้องใช้ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2542 จำนวน 3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ 22 จังหวัด
3.2.3 ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานลดปริมาณการใช้น้ำที่คาดว่าจะต้องใช้ลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยใช้ในปีที่ผ่านมา (2541) ซึ่งในรายละเอียดจะได้ร่วมกันพิจารณากับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และฝ่ายเลขานุการกำหนดเป็นพื้นที่ ๆ โดยด่วน
3.2.4 น้ำเพื่อการเดินเรือหากจำเป็นต้องปิดการเดินเรือในช่วงใดให้กรมชลประทานประสานกับกรมเจ้าท่าประกาศให้ผู้ใช้ทางน้ำทราบล่วงหน้า
3.3 มาตรการป้องกันน้ำเสีย
3.3.1 ให้ส่วนราชการและจังหวัดที่ควบคุมดูแลเรื่องน้ำเสียควบคุมมิให้โรงงานอุตสาหกรรมหรือกิจการด้านการเกษตรต่าง ๆ ปล่อยน้ำเสียลงสู่ทางน้ำสาธารณะ และแหล่งน้ำธรรมชาติ เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด หากแหล่งน้ำบริเวณใดมีปัญหาให้รีบแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการแก้ไขโดยด่วน
3.3.2 ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจวัดคุณภาพน้ำ ทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำในช่วงฤดูแล้งในลำน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะในลำน้ำที่เคยมีปัญหาน้ำเสียให้ทำการตรวจวัดให้มากขึ้น
3.3.3 ให้กระทรวงอุตสาหกรรมทำหนังสือแจ้งกำชับไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดน้ำเน่าเสีย
3.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
3.4.1 ในกรณีที่มีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการจัดสรรน้ำหรือการใช้น้ำในภาพรวมให้ศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณาหาแนวทางแก้ไข
3.4.2 ในกรณีที่มีปัญหาการขัดแย้งการใช้น้ำในพื้นที่ให้ฝ่ายปกครองร่วมกับผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พิจารณาแนวทางแก้ไข โดยยึดถือนโยบายและแผนการบริหารจัดการน้ำที่ได้กำหนดไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541--