ทำเนียบรัฐบาล--4 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการตามมติคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 2/2541 เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2541 ตามที่ประธานคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และรองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เสนอเกี่ยวกับเรื่องการแปรรูปองค์การแบตเตอรี่ กระทรวงกลาโหม ดังนี้1. เห็นชอบให้แปรรูปองค์การแบตเตอรี่โดยวิธีการร่วมทุนกับเอกชนในสัดส่วนภาครัฐถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 30 ภาคเอกชนถือหุ้นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70
2. นำทรัพย์สินขององค์การแบตเตอรี่มาตีราคา แล้วกำหนดเป็นวงเงินในการลงทุนในส่วนของรัฐบาล และเปิดประมูลให้เอกชนนำเงินลงทุนร่วมบริหารกิจการในนามบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่
3. ให้พนักงานทั้งหมดขององค์การแบตเตอรี่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และได้รับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 พร้อมเงินบำเหน็จตามข้อบังคับขององค์การแบตเตอรี่ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ
4. ให้บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่ รับพนักงานที่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานขององค์การแบตเตอรี่ที่มีความสมัครใจจะกลับเข้าทำงานในบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่ให้มากที่สุด
5. บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ต้องรับภาระผูกพันที่องค์การแบตเตอรี่ทำนิติกรรมไว้
6. ให้บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ได้รับสิทธิพิเศษขององค์การแบตเตอรี่ในระยะแรกของการก่อตั้ง โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
7. เงินบำเหน็จและเงินค่าชดเชยที่พนักงานจะได้รับ ให้บริษัทร่วมทุนรับภาระ โดยหักจากมูลค่าทรัพย์สินที่ร่วมทุนในส่วนของรัฐบาล
8. ให้กระทรวงกลาโหมแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 โดยมีผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการร่วมด้วย ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 สิงหาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการตามมติคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 2/2541 เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2541 ตามที่ประธานคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และรองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เสนอเกี่ยวกับเรื่องการแปรรูปองค์การแบตเตอรี่ กระทรวงกลาโหม ดังนี้1. เห็นชอบให้แปรรูปองค์การแบตเตอรี่โดยวิธีการร่วมทุนกับเอกชนในสัดส่วนภาครัฐถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 30 ภาคเอกชนถือหุ้นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70
2. นำทรัพย์สินขององค์การแบตเตอรี่มาตีราคา แล้วกำหนดเป็นวงเงินในการลงทุนในส่วนของรัฐบาล และเปิดประมูลให้เอกชนนำเงินลงทุนร่วมบริหารกิจการในนามบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่
3. ให้พนักงานทั้งหมดขององค์การแบตเตอรี่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และได้รับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 พร้อมเงินบำเหน็จตามข้อบังคับขององค์การแบตเตอรี่ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ
4. ให้บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่ รับพนักงานที่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานขององค์การแบตเตอรี่ที่มีความสมัครใจจะกลับเข้าทำงานในบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งใหม่ให้มากที่สุด
5. บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ต้องรับภาระผูกพันที่องค์การแบตเตอรี่ทำนิติกรรมไว้
6. ให้บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ได้รับสิทธิพิเศษขององค์การแบตเตอรี่ในระยะแรกของการก่อตั้ง โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
7. เงินบำเหน็จและเงินค่าชดเชยที่พนักงานจะได้รับ ให้บริษัทร่วมทุนรับภาระ โดยหักจากมูลค่าทรัพย์สินที่ร่วมทุนในส่วนของรัฐบาล
8. ให้กระทรวงกลาโหมแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 โดยมีผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการร่วมด้วย ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 สิงหาคม 2541--