ทำเนียบรัฐบาล--28 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบผลการประชุมเรื่องโครงการควบคุมน้ำสูญเสีย ของการประปาส่วนภูมิภาค ในวันที่ 6 ตุลาคม 2538 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. การดำเนินงานควบคุมน้ำสูญเสีย ควรให้ความสำคัญกับแผนปฏิบัติการ 3 ปีแรก เป็น หลัก โดยควรดำเนินการ ดังนี้
1.1 เห็นควรให้การประปาส่วนภูมิภาคเร่งรัดงานเปลี่ยนมาตรวัดน้ำหลัก และมาตรวัดน้ำ ของผู้ใช้น้ำให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน วงเงินลงทุน 269 ล้านบาท เพื่อให้สามารถวัดปริมาณน้ำสูญ เสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และใกล้เคียงกับความเป็นจริง
1.2 งานปรับปรุงและเปลี่ยนเส้นท่อเห็นควรให้ดำเนินการ ดังนี้
- จัดลำดับความสำคัญของแต่ละการประปาตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยจัดลำดับตามอา ยุการใช้งานของเส้นท่อสถิติการแตกรั่วและปริมาณน้ำสูญเสียสูง โดยกำหนดปริมาณงานและเงินลงทุน ดังนี้
ปี จำนวนการประปา (แห่ง) ความยาวเส้นท่อ (กม.) เงินลงทุน (ล้านบาท) ปีที่ 1 (2539) 142 1,000 827 ปีที่ 2 (2540) 78 640 695 ปีที่ 3 (2541) 94 603 603 รวม 314 2,243 2,125
- วิธีการปรับเปลี่ยนเส้นท่อที่การประปาส่วนภูมิภาคจะดำเนินการวางแนวเส้นท่อใหม่ โดยจะไม่กระทบต่อเส้นท่อเดิมทำให้ผู้ใช้น้ำจะได้รับการบริการตามปกติในระหว่างดำเนินงาน
- ในขั้นการปฏิบัติงานปรับปรุงเส้นท่อ การประปาส่วนภูมิภาคควรประสานงานและวาง แผนร่วมกันกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อประสานแผนการดำเนินการกับแผนงานระบบสาธารณูปโภคอื่น
- รับทราบเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนเส้นท่อ จำนวน 2,125.32 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นค่าเส้นท่อแรงงาน อุปกรณ์ และค่าซ่อมพื้นผิวที่การประปาส่วนภูมิภาคคำนวณจากราคากลาง ตามที่ ได้เคยประกวดราคาได้ในปัจจุบัน โดยใช้เงินรายได้ของการประปาส่วนภูมิภาค
1.3 เห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการศึกษา และปรับปรุงระบบการจ่ายน้ำ ของการประปาขอนแก่นซึ่งปัจจุบันมีอัตราน้ำสูญเสียสูงถึงร้อยละ 50 และการประปาปทุมธานี - รังสิต ซึ่งเป็นการประปาที่การประปาส่วนภูมิภาคร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ในขณะเดียวกันให้การประปาส่วนภูมิ ภาคนำวิธีการของที่ปรึกษาไปทดลองปฏิบัติงานเองในการประปาพนมสารคาม ชนแดน ครบุรี และ พนมทวน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่การประปาส่วนภูมิภาคและใช้เป็นแนวทางในการควบคุมน้ำ สูญเสียสำหรับการประปาอื่นต่อไป
2. ให้การประปาส่วนภูมิภาคบริหารจัดการระบบสูบจ่ายน้ำ โดยควบคุมแรงดันน้ำให้เหมาะ สมกับปริมาณความต้องการใช้น้ำในแต่ละช่วงเวลา เพื่อลดอัตราสูญเสียในระบบจำหน่าย ซึ่งเป็นวิธี การที่การประปานครหลวงใช้ได้ผลมาแล้ว
3. ที่ประชุมได้พิจารณาผลตอบแทนการเงินของโครงการดังกล่าวที่ต้องลงทุนทั้งสิ้น 3,190 ล้านบาท แล้วปรากฏว่าโครงการจะให้ผลตอบแทนทางการเงินสูงถึงประมาณร้อยละ 20.50 โดยมีเงื่อน ไขสำคัญที่การประปาส่วนภูมิภาคต้องปรับอัตราค่านำทุกปี ในอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งที่ประชุม เห็นว่าการปรับอัตราค่าน้ำทุกปีไม่น่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม การปรับอัตราค่าน้ำยัง คงมีความจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการมีผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน และการประปาส่วนภูมิภาคมีฐานะ การเงินดีขึ้น ในหลักการจึงเห็นควรให้การประปาส่วนภูมิภาคปรับเพิ่มอัตราค่าน้ำ แต่เพื่อมิให้การปรับ อัตราค่าน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้น้ำมากเกินไป จึงควรปรับอัตราค่าน้ำตามความจำเป็นทุก 3 ปี แทนการปรับเพิ่มทุกปี ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวง การคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประเมินผลการดำเนินงาน
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 27 พฤศจิกายน 2538--
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบผลการประชุมเรื่องโครงการควบคุมน้ำสูญเสีย ของการประปาส่วนภูมิภาค ในวันที่ 6 ตุลาคม 2538 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. การดำเนินงานควบคุมน้ำสูญเสีย ควรให้ความสำคัญกับแผนปฏิบัติการ 3 ปีแรก เป็น หลัก โดยควรดำเนินการ ดังนี้
1.1 เห็นควรให้การประปาส่วนภูมิภาคเร่งรัดงานเปลี่ยนมาตรวัดน้ำหลัก และมาตรวัดน้ำ ของผู้ใช้น้ำให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน วงเงินลงทุน 269 ล้านบาท เพื่อให้สามารถวัดปริมาณน้ำสูญ เสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และใกล้เคียงกับความเป็นจริง
1.2 งานปรับปรุงและเปลี่ยนเส้นท่อเห็นควรให้ดำเนินการ ดังนี้
- จัดลำดับความสำคัญของแต่ละการประปาตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยจัดลำดับตามอา ยุการใช้งานของเส้นท่อสถิติการแตกรั่วและปริมาณน้ำสูญเสียสูง โดยกำหนดปริมาณงานและเงินลงทุน ดังนี้
ปี จำนวนการประปา (แห่ง) ความยาวเส้นท่อ (กม.) เงินลงทุน (ล้านบาท) ปีที่ 1 (2539) 142 1,000 827 ปีที่ 2 (2540) 78 640 695 ปีที่ 3 (2541) 94 603 603 รวม 314 2,243 2,125
- วิธีการปรับเปลี่ยนเส้นท่อที่การประปาส่วนภูมิภาคจะดำเนินการวางแนวเส้นท่อใหม่ โดยจะไม่กระทบต่อเส้นท่อเดิมทำให้ผู้ใช้น้ำจะได้รับการบริการตามปกติในระหว่างดำเนินงาน
- ในขั้นการปฏิบัติงานปรับปรุงเส้นท่อ การประปาส่วนภูมิภาคควรประสานงานและวาง แผนร่วมกันกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อประสานแผนการดำเนินการกับแผนงานระบบสาธารณูปโภคอื่น
- รับทราบเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนเส้นท่อ จำนวน 2,125.32 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นค่าเส้นท่อแรงงาน อุปกรณ์ และค่าซ่อมพื้นผิวที่การประปาส่วนภูมิภาคคำนวณจากราคากลาง ตามที่ ได้เคยประกวดราคาได้ในปัจจุบัน โดยใช้เงินรายได้ของการประปาส่วนภูมิภาค
1.3 เห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการศึกษา และปรับปรุงระบบการจ่ายน้ำ ของการประปาขอนแก่นซึ่งปัจจุบันมีอัตราน้ำสูญเสียสูงถึงร้อยละ 50 และการประปาปทุมธานี - รังสิต ซึ่งเป็นการประปาที่การประปาส่วนภูมิภาคร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ในขณะเดียวกันให้การประปาส่วนภูมิ ภาคนำวิธีการของที่ปรึกษาไปทดลองปฏิบัติงานเองในการประปาพนมสารคาม ชนแดน ครบุรี และ พนมทวน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่การประปาส่วนภูมิภาคและใช้เป็นแนวทางในการควบคุมน้ำ สูญเสียสำหรับการประปาอื่นต่อไป
2. ให้การประปาส่วนภูมิภาคบริหารจัดการระบบสูบจ่ายน้ำ โดยควบคุมแรงดันน้ำให้เหมาะ สมกับปริมาณความต้องการใช้น้ำในแต่ละช่วงเวลา เพื่อลดอัตราสูญเสียในระบบจำหน่าย ซึ่งเป็นวิธี การที่การประปานครหลวงใช้ได้ผลมาแล้ว
3. ที่ประชุมได้พิจารณาผลตอบแทนการเงินของโครงการดังกล่าวที่ต้องลงทุนทั้งสิ้น 3,190 ล้านบาท แล้วปรากฏว่าโครงการจะให้ผลตอบแทนทางการเงินสูงถึงประมาณร้อยละ 20.50 โดยมีเงื่อน ไขสำคัญที่การประปาส่วนภูมิภาคต้องปรับอัตราค่านำทุกปี ในอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งที่ประชุม เห็นว่าการปรับอัตราค่าน้ำทุกปีไม่น่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม การปรับอัตราค่าน้ำยัง คงมีความจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการมีผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน และการประปาส่วนภูมิภาคมีฐานะ การเงินดีขึ้น ในหลักการจึงเห็นควรให้การประปาส่วนภูมิภาคปรับเพิ่มอัตราค่าน้ำ แต่เพื่อมิให้การปรับ อัตราค่าน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้น้ำมากเกินไป จึงควรปรับอัตราค่าน้ำตามความจำเป็นทุก 3 ปี แทนการปรับเพิ่มทุกปี ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวง การคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประเมินผลการดำเนินงาน
--ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 27 พฤศจิกายน 2538--