ทำเนียบรัฐบาล--17 เม.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. .... ที่ได้แก้ไขตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตราจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2511 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และในขณะนี้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้ขยายเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดจนการค้นคว้า การวิจัย และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและภารกิจด้านอื่น ๆ สมควรปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารงานของมหาวิทยาลัยเสียใหม่ เพื่อให้การบริหารงานและการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมีความคล่องตัวและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
2. เพิ่มเติมส่วนราชการของมหาวิทยาลัยโดยเพิ่ม สำนักงานวิทยาเขต และ วิทยาลัย เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงานในปัจจุบัน
3. ปรับปรุงวิธีการรับเข้าสมทบหรือยกเลิกการสมทบ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
4. เพิ่มเติมรายละเอียดประเภทรายได้ของมหาวิทยาลัยให้ชัดเจน โดยให้ครอบคลุมถึงค่าปรับและค่าบริการต่าง ๆ รายได้หรือผลประโยชน์จากการใช้ที่ราชพัสดุ รวมถึงรายได้หรือผลประโยชน์อื่น อีกทั้งให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจปกครองดูแล บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
5. กำหนดให้มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของมหาวิทยาลัย
6. แก้ไของค์ประกอบของสถาบันมหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการมหาวิทยาลัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 17 เมษายน 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. .... ที่ได้แก้ไขตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตราจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2511 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และในขณะนี้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้ขยายเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดจนการค้นคว้า การวิจัย และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและภารกิจด้านอื่น ๆ สมควรปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารงานของมหาวิทยาลัยเสียใหม่ เพื่อให้การบริหารงานและการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมีความคล่องตัวและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
2. เพิ่มเติมส่วนราชการของมหาวิทยาลัยโดยเพิ่ม สำนักงานวิทยาเขต และ วิทยาลัย เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงานในปัจจุบัน
3. ปรับปรุงวิธีการรับเข้าสมทบหรือยกเลิกการสมทบ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
4. เพิ่มเติมรายละเอียดประเภทรายได้ของมหาวิทยาลัยให้ชัดเจน โดยให้ครอบคลุมถึงค่าปรับและค่าบริการต่าง ๆ รายได้หรือผลประโยชน์จากการใช้ที่ราชพัสดุ รวมถึงรายได้หรือผลประโยชน์อื่น อีกทั้งให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจปกครองดูแล บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
5. กำหนดให้มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของมหาวิทยาลัย
6. แก้ไของค์ประกอบของสถาบันมหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการมหาวิทยาลัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 17 เมษายน 2540--