คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบและอนุมัติดังนี้
1. เห็นชอบร่างความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน
2. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างความตกลงฯ ที่จะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของร่างความตกลงดังกล่าวได้
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม
4. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการเพื่อให้ความตกลงฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. ไทยและจอร์แดนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2509 โดยในปี 2547 จอร์แดนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 70 ของไทย และเป็นอันดับที่ 12 ของไทยในกลุ่มภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 102.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มจากปี 2546 ร้อยละ 27) ไทยส่งออก 94.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มจากปี 2546 ร้อยละ 24.6) นำเข้าประมาณ 8.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยได้เปรียบเทียบดุลการค้า 86.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐและถึงแม้มูลค่าการค้าระหว่างสองฝ่ายไม่มากนัก แต่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ฝ่ายจอร์แดนประสงค์จะร่วมมือกับภาคเอกชนไทยในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก และต้องการให้เอกชนไทยมีส่วนร่วมในการพัฒนาถนนไฮเวย์เส้นทางจอร์แดน-อิรัก รวมทั้งใช้จอร์แดนเป็นฐานตั้งธุรกิจของไทยเพื่อขยายไปสู่อิรักในอนาคต
2. ไทยและจอร์แดนได้เจรจาจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดนผ่านช่องทางทางการทูต และสามารถตกลงกันได้ ซึ่งฝ่ายจอร์แดนยอมรับร่างความตกลงฉบับมาตรฐานของไทย โดยเสนอแก้ไขเพียง 2 ข้อ [ข้อ 11 (2) และ 12 (2)
] ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ขอความเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของฝ่ายจอร์แดน โดยสรุปสาระสำคัญของความตกลงฯ ดังนี้
2.1 ภาคีคู่สัญญาจะส่งเสริมการลงทุนแก่กันและกัน โดยให้การประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่ง
2.2 ในเรื่องการอนุญาตให้ลงทุน ภาคีคู่สัญญาจะให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งแก่กันและกัน ภายใต้กรอบกฎหมายและข้อบังคับของตน สำหรับการลงทุนที่เข้ามาจัดตั้งแล้ว ภาคีคู่สัญญาจะให้ การประติบัติเยี่ยงคนชาติ หรือการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง แล้วแต่การประติบัติใดจักเป็นคุณมากกว่า โดยมีข้อยกเว้นสำหรับกรณีที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นภาคีความตกลงที่เกี่ยวข้องกับสหภาพศุลกากร ความตกลงเขตการค้าเสรี หรือความตกลงเรื่องภาษี
2.3 การลงทุนโดยผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านความคุ้มครองจากความ ตกลงนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจ หากเป็นข้อบังคับของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
2.4 ในกรณีเวนคืน ภาคีคู่สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าตลาดอย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
2.5 ในกรณีที่การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งประสบความสูญเสียอันเนื่องจากสงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธอื่น ๆ การก่อกบฎ การต่อต้านรัฐบาล หรือเหตุการณ์คล้ายคลึง จะได้รับการประติบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ที่ไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนของตนหรือของประเทศที่สาม ในกรณีที่ความสูญเสียเป็นผลมาจากการเรียกเกณฑ์ทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ของภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุน หรือการทำลายทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งมิได้มีสาเหตุจากการเกิดการสู้รบ หรือไม่จำเป็นต้องมีขึ้นตามความจำเป็นของสถานการณ์ จะได้รับการชดใช้อย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
2.6 ภาคีคู่สัญญาจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสามารถโอนเงินการลงทุนและผลตอบแทนกลับออกไปโดยเสรี ด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้อย่างเสรี โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตลาดของวันที่มีการโอนเงิน
2.7 ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างภาคีคู่สัญญากับผู้ลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง อาจเสนอข้อพิพาทไปยังศาลของรัฐภาคีคู่สัญญาที่ได้มีการลงทุนหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ โดยคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นที่สุดและผูกพันคู่พิพาท
2.8 ข้อพิพาทระหว่างภาคีคู่สัญญาที่เกิดจากการใช้หรือตีความตกลงฯ อาจเสนอให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศพิจารณา โดยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี
2.9 ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้เริ่มต้นเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหลังได้แจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่า ได้ดำเนินการตามกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากนั้น ความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะถูกบอกเลิกโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษร
3. กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดนมีกำหนดการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2548 และการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนไทย-จอร์แดน จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดให้มีการลงนามความตกลงฯ ในโอกาสการเยือนดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบร่างความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน
2. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างความตกลงฯ ที่จะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของร่างความตกลงดังกล่าวได้
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม
4. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการเพื่อให้ความตกลงฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. ไทยและจอร์แดนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2509 โดยในปี 2547 จอร์แดนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 70 ของไทย และเป็นอันดับที่ 12 ของไทยในกลุ่มภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 102.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มจากปี 2546 ร้อยละ 27) ไทยส่งออก 94.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มจากปี 2546 ร้อยละ 24.6) นำเข้าประมาณ 8.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยได้เปรียบเทียบดุลการค้า 86.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐและถึงแม้มูลค่าการค้าระหว่างสองฝ่ายไม่มากนัก แต่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ฝ่ายจอร์แดนประสงค์จะร่วมมือกับภาคเอกชนไทยในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก และต้องการให้เอกชนไทยมีส่วนร่วมในการพัฒนาถนนไฮเวย์เส้นทางจอร์แดน-อิรัก รวมทั้งใช้จอร์แดนเป็นฐานตั้งธุรกิจของไทยเพื่อขยายไปสู่อิรักในอนาคต
2. ไทยและจอร์แดนได้เจรจาจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดนผ่านช่องทางทางการทูต และสามารถตกลงกันได้ ซึ่งฝ่ายจอร์แดนยอมรับร่างความตกลงฉบับมาตรฐานของไทย โดยเสนอแก้ไขเพียง 2 ข้อ [ข้อ 11 (2) และ 12 (2)
] ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ขอความเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของฝ่ายจอร์แดน โดยสรุปสาระสำคัญของความตกลงฯ ดังนี้
2.1 ภาคีคู่สัญญาจะส่งเสริมการลงทุนแก่กันและกัน โดยให้การประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่ง
2.2 ในเรื่องการอนุญาตให้ลงทุน ภาคีคู่สัญญาจะให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งแก่กันและกัน ภายใต้กรอบกฎหมายและข้อบังคับของตน สำหรับการลงทุนที่เข้ามาจัดตั้งแล้ว ภาคีคู่สัญญาจะให้ การประติบัติเยี่ยงคนชาติ หรือการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง แล้วแต่การประติบัติใดจักเป็นคุณมากกว่า โดยมีข้อยกเว้นสำหรับกรณีที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นภาคีความตกลงที่เกี่ยวข้องกับสหภาพศุลกากร ความตกลงเขตการค้าเสรี หรือความตกลงเรื่องภาษี
2.3 การลงทุนโดยผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านความคุ้มครองจากความ ตกลงนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจ หากเป็นข้อบังคับของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
2.4 ในกรณีเวนคืน ภาคีคู่สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าตลาดอย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
2.5 ในกรณีที่การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งประสบความสูญเสียอันเนื่องจากสงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธอื่น ๆ การก่อกบฎ การต่อต้านรัฐบาล หรือเหตุการณ์คล้ายคลึง จะได้รับการประติบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ที่ไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนของตนหรือของประเทศที่สาม ในกรณีที่ความสูญเสียเป็นผลมาจากการเรียกเกณฑ์ทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ของภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุน หรือการทำลายทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งมิได้มีสาเหตุจากการเกิดการสู้รบ หรือไม่จำเป็นต้องมีขึ้นตามความจำเป็นของสถานการณ์ จะได้รับการชดใช้อย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
2.6 ภาคีคู่สัญญาจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสามารถโอนเงินการลงทุนและผลตอบแทนกลับออกไปโดยเสรี ด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้อย่างเสรี โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตลาดของวันที่มีการโอนเงิน
2.7 ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างภาคีคู่สัญญากับผู้ลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง อาจเสนอข้อพิพาทไปยังศาลของรัฐภาคีคู่สัญญาที่ได้มีการลงทุนหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ โดยคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นที่สุดและผูกพันคู่พิพาท
2.8 ข้อพิพาทระหว่างภาคีคู่สัญญาที่เกิดจากการใช้หรือตีความตกลงฯ อาจเสนอให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศพิจารณา โดยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี
2.9 ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้เริ่มต้นเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหลังได้แจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่า ได้ดำเนินการตามกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากนั้น ความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะถูกบอกเลิกโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษร
3. กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดนมีกำหนดการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2548 และการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนไทย-จอร์แดน จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดให้มีการลงนามความตกลงฯ ในโอกาสการเยือนดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--