ทำเนียบรัฐบาล--28 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นเกี่ยวกับผลงานผลการสัมมนาเรื่อง"จะพัฒนาประชาธิปไตย อย่างไรให้มั่นคง" ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
1. เห็นด้วยที่จะขยายโอกาสให้เยาวชนตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และ มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากเยาวชนที่มีอายุ 18 ปี ได้รับการศึกษามากยิ่งขึ้น สามารถ ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองในการออกเสียงเลือกตั้ง ประกอบกับหลายประเทศได้ให้ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้น ไป ให้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้แล้ว
2. เห็นด้วยกับการเร่งรัดสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้มั่นคง โดยกระจายราย ได้ไปสู่ชนบทอย่างทั่วถึง และให้ 5 กระทรวงหลัก ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป
3. การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพและแพร่หลายยิ่งขึ้น เป็น เรื่องที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสนองตอบความต้องการของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมอบหมาย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปดำเนินการต่อไป
4. การจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการส่งเสริมเผยแพร่ และ รณรงค์ วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทบวงฯ ได้ดำเนินการเรื่องนี้ โดยผ่าน กระบวนการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมนักศึกษาอยู่แล้ว แต่เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับมีจำกัดทำ ได้ในบางพื้นที่เท่านั้น
5. เห็นด้วยในการส่งเสริมให้สถาบันผู้แทนราษฎรทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึง คุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ
6. เห็นด้วยกับการขจัดอิทธิพลและอำนาจมือทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยมอบหมายให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป
7. การเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งองค์กรหรือสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองดำเนินการ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นเรื่องที่สมควรสนับสนุน โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง ศึกษาธิการดำเนินการต่อไปนั้น ทบวงมหาวิทยาลัยมีความเห็นว่า องค์กรดังกล่าวควรมีมาตรการใน การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้องค์กรหรือสมาคมเหล่านั้น องค์กรดังกล่าวควรมีมาตรการใน การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้องค์กรหรือสมาคมเหล่านั้น ใช้วิธีการปฏิบัติที่แทรกแซงกิจ การภายในของรัฐหรือสร้างความแตกแยกและแสวงหาจุดอ่อนของรัฐให้เกิดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน จนในที่สุด และอาจจะเป็นแหล่งความหายนะของสังคมและประเทศได้ในระยะยาว
8. การสนับสนุนให้มีการสอนประชาธิปไทยให้เป็นระบบและต่อเนื่องนั้น ทบวงฯ ได้ดำเนิน การแล้ว โดยจัดไว้ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ในกลุ่มสังคมศาสตร์ ของหลักสูตรระดับปริญญาตรี และ การสอนในวิชาทางด้านรัฐศาสตร์และหลักสูตรทางด้านสังคมศาสตร์แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ธันวาคม 2537--
คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นเกี่ยวกับผลงานผลการสัมมนาเรื่อง"จะพัฒนาประชาธิปไตย อย่างไรให้มั่นคง" ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
1. เห็นด้วยที่จะขยายโอกาสให้เยาวชนตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และ มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากเยาวชนที่มีอายุ 18 ปี ได้รับการศึกษามากยิ่งขึ้น สามารถ ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองในการออกเสียงเลือกตั้ง ประกอบกับหลายประเทศได้ให้ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้น ไป ให้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้แล้ว
2. เห็นด้วยกับการเร่งรัดสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้มั่นคง โดยกระจายราย ได้ไปสู่ชนบทอย่างทั่วถึง และให้ 5 กระทรวงหลัก ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป
3. การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพและแพร่หลายยิ่งขึ้น เป็น เรื่องที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสนองตอบความต้องการของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมอบหมาย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปดำเนินการต่อไป
4. การจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการส่งเสริมเผยแพร่ และ รณรงค์ วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทบวงฯ ได้ดำเนินการเรื่องนี้ โดยผ่าน กระบวนการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมนักศึกษาอยู่แล้ว แต่เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับมีจำกัดทำ ได้ในบางพื้นที่เท่านั้น
5. เห็นด้วยในการส่งเสริมให้สถาบันผู้แทนราษฎรทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึง คุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ
6. เห็นด้วยกับการขจัดอิทธิพลและอำนาจมือทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยมอบหมายให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป
7. การเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งองค์กรหรือสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองดำเนินการ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นเรื่องที่สมควรสนับสนุน โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง ศึกษาธิการดำเนินการต่อไปนั้น ทบวงมหาวิทยาลัยมีความเห็นว่า องค์กรดังกล่าวควรมีมาตรการใน การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้องค์กรหรือสมาคมเหล่านั้น องค์กรดังกล่าวควรมีมาตรการใน การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้องค์กรหรือสมาคมเหล่านั้น ใช้วิธีการปฏิบัติที่แทรกแซงกิจ การภายในของรัฐหรือสร้างความแตกแยกและแสวงหาจุดอ่อนของรัฐให้เกิดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน จนในที่สุด และอาจจะเป็นแหล่งความหายนะของสังคมและประเทศได้ในระยะยาว
8. การสนับสนุนให้มีการสอนประชาธิปไทยให้เป็นระบบและต่อเนื่องนั้น ทบวงฯ ได้ดำเนิน การแล้ว โดยจัดไว้ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ในกลุ่มสังคมศาสตร์ ของหลักสูตรระดับปริญญาตรี และ การสอนในวิชาทางด้านรัฐศาสตร์และหลักสูตรทางด้านสังคมศาสตร์แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 ธันวาคม 2537--